ไม่พึ่งม.44 อุตฯจี้โรงงานน้ำตาลกู้เงินไปชดเชยชาวไร่ แก้ปัญหาราคาอ้อยตกต่ำ


เพิ่มเพื่อน    

 

ปิ๊งไอเดียช่วยวิกฤตราคาอ้อยตกต่ำในรอบ 10 ปี จี้โรงงานน้ำตาลกู้เงินสะสมที่เจียดจาดการขายน้ำตาล ของ กท. เดือนละ 800 ล้านบาท เพื่อไปชดเชยชาวไร่อุ้มราคาอ้อยขั้นต้น ไม่ง้อม.44 ดึงดูดให้ชาวไร่ไม่เปลี่ยนใจปลูกพืชอื่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีที่4 องค์กรชาวไร่อ้อย ได้แก่ สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยเสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรม ขอให้รัฐบาลใช้มาตรา44 มาแก้ไขปัญหาวิกฤติราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2561/62ที่จะเปิดหีบในเดือนพ.ย.นี้ เพราะ4 องค์กรฯ คาดว่า ราคาจะไม่เกิน730 บาทต่อตัน ซึ่งถือเป็นราคาต่ำสุดในรอบ 10 ปี นับตั้งแต่ฤดูปี2551/52 ด้วยการให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.)ไปกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เพื่อนำมาเพิ่มราคาอ้อยขั้นต้นให้สูงเกิน 800 บาทต่อตันขึ้นไป เหมือนปีการผลิตที่ผ่านๆมา

ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.)ได้ข้อสรุปหลังการหารือร่วมกันระหว่างชาวไร่และโรงงานน้ำตาล ว่า สนอ.ได้เสนอให้นำเงินส่วนหนึ่งที่เกิดจากการจำหน่ายน้ำตาลในประเทศ ที่โรงงานและชาวไร่ทำได้ และกันเงินส่วนนี้ส่งเข้าไปสมทบให้กับ กท. 3-4 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เป็นรายเดือนที่คำนวณจากการขายส่งน้ำตาลหน้าโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ โดยคาดว่าจะมีเม็ดเงินส่งเข้ากท.เดือนละประมาณ400 ล้านบาท

ทั้งนี้ หากนับตั้งแต่มีการลอยตัวราคาขายปลีกน้ำตาลเมื่อเดือนม.ค.2560 จนถึงขณะนี้ มีเม็ดเงินสะสมรวม 10,000 ล้านบาท ซึ่งกท.สามารถนำเงินก้อนนี้ออกมาใช้เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนของชาวไร่อ้อยได้ก่อน ด้วยการให้โรงงานมากู้แบบปลอดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยอัตราต่ำที่สุด เพื่อนำไปจ่ายค่าอ้อยเพิ่มเติมจากราคาอ้อยขั้นต้นที่จะมีการคำนวณออกมา เหมือนกับค่าเกี๊ยวอ้อย(เงินยืมล่วงหน้า)ที่โรงงานให้ยืมล่วงหน้าไปก่อนแล้วมาหักกลบลบหนี้เมื่อนำอ้อยมาขายก่อนการลอยตัวราคาน้ำตาลซึ่งหากใช้วิธีการนี้ก็จะไม่จำเป็นต้องขอให้รัฐบาลออกมาตรา 44 แต่อย่างใด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอดังกล่าวได้ถูกส่งให้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรับไปพิจารณาเรียบร้อยแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ฝ่ายโรงงานแสดงความไม่เห็นด้วยเพราะไม่ต้องการรับภาระดังกล่าวแต่ สอน.ได้ชี้แจงว่าฝ่ายโรงงานจะต้องให้ความร่วมมือเพราะเป็นผลประโยชน์ร่วมกันของชาวไร่และโรงงาน เพราะหากโรงงานไม่ช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในระยะยาวชาวไร่อ้อยอาจหันไปปลูกพืชเกษตรอื่นๆแทนเพราะรายได้จากการปลูกอ้อยลดลงแต่หากโรงงานให้ความร่วมมือชาวไร่ก็ปลูกอ้อยตามเดิมโรงงานก็มีอ้อยป้อนเข้าหีบตามปกติ

นอกจากนี้มาตรการดังกล่าว ก็เป็นแผนการรองรับวิกฤตราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต2561/62 ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการเปิดหีบ และหากเริ่มเปิดหีบอ้อยเดือนพ.ย.นี้ราคาน้ำตาลตลาดโลกในช่วงนั้นไปจนถึงเดือนมี.ค.2562อาจปรับตัวดีขึ้น ก็จะส่งผลให้ราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ที่ 730 บาทต่อตัน ก็อาจไม่จำเป็นต้อนให้โรงงานไปกู้เงินกท.มาช่วยเหลือชาวไร่อ้อยก็ได้เช่นกัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"