กรมการขนส่งฯ-ตำรวจแจงยิบแก้กฎหมายลงโทษหนักไม่มีใบขับขี่!


เพิ่มเพื่อน    

24 ส.ค.61 - ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  นายกมล บูรณพงศ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผบก.ส.3 ในฐานะคณะทำงานแก้ไขปัญหาจราจร และพ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกันชี้แจงสาเหตุการขอแก้ไขกฎหมาย กรณีโทษความผิดเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ โดยนายกมล กล่าวว่า กฎหมายด้านการขนส่งทางบกฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้บังคับใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522  ซึ่งการขอแก้ไขพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 และพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ดังกล่าวจำเป็นต้องมีการปรับเนื้อหาให้มีความทันสมัยและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีส่วนในการสร้างความตระหนักและรับผิดชอบต่อสังคม

 เนื่องจากข้อมูลศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย พบว่ากลุ่มผู้ขับขี่ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ มีโอกาสการเสียชีวิตร้อยละ 34  ซึ่งสูงกว่ากลุ่มผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ถึงสองเท่า และจากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า เด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 15-19 ปี เป็นกลุ่มอายุที่มีการเสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนสูงสุดเฉลี่ยปีละ 1,688 คน ทั้งนี้จากการศึกษาจากต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับด้านความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา พบว่ากรณีความผิดเกี่ยวกับการขับขี่โดยไม่มีใบอนุญาตขับรถในประเทศญี่ปุ่น มีโทษปรับไม่เกิน300,000 เยน หรือประมาณ 88,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี และถูกตัดแต้ม 12 คะแนน ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกา มีโทษปรับไม่เกิน 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ ประมาณ 800,000บาท หรือจำคุกไม่เกิน 5 ปี และถูกบันทึกประวัติตลอดชีวิตด้วย

รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ยังกล่าวต่อว่า เพื่อให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของ กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 และพ.ร.บ.การขนส่งทางบกพ.ศ.2522 ซึ่งรวมเข้าเป็นฉบับเดียวกัน โดยปรับปรุงรายละเอียดของกฎหมายให้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้มากขึ้น รวมถึงปรับบทลงโทษกรณีผู้ขับขี่กระทำผิด โดยความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาตขับรถ เสนอให้ปรับโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท จากเดิมที่ปัจจุบันตาม พ.ร.บ.รถยนต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท และพ.ร.บ.ขนส่ง จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท, ส่วนความผิดเกี่ยวกับการขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต ปรับโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท จากเดิมตามพ.ร.บ.รถยนต์มีโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท พ.ร.บ.ขนส่ง มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท และพ.ร.บ.จราจร มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท

ส่วนความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต ปรับโทษสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท จากเดิมตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และพ.ร.บ.ขนส่ง ปรับไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งร่างพ.ร.บ.การขนส่งทางบกฉบับใหม่อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ทั้งนี้จากการเสนอแก้ไขปรับเพิ่มโทษกรณีความผิดดังกล่าว จะทำให้การพิจารณาโทษตามฐานความผิดอยู่ในดุลพินิจของชั้นศาล ซึ่งจะทำให้ ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการเพิ่มความเข้มข้นในการบังคับใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ส่วนสำคัญอยู่ที่ผู้ขับขี่ ซึ่งต้องตระหนักถึงความปลอดภัยและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังอย่างทั่วถึง

พล.ต.ต.เอกรักษ์ กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขอเรียนยืนยันว่า พ.ร.บ.ที่จะออกมาใหม่ เพื่อคุ้มครองชีวิตและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนในภาพรวมบนถนนสาธารณะ จึงมีความจำเป็นที่ต้องรณรงค์และบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายคงต้องใช้กระบวนการพิจารณาทางนิติบัญญัติที่ยาวนานพอสมควร ดังนั้นจึงจะต้องเริ่มวางแผนและบริหารจัดการ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เข้าสู่ระบบของการมีใบอนุญาตขับขี่ เมื่อพ้นกำหนดจะมีมาตราการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

 หลังจากนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะกำหนดมาตราการที่ชัดเจน คือ มีการดำเนินคดีทั้งทางอาญาและวินัย หากพบการทุจริตสำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่มีนโยบายที่จะช่วยเหลือ จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด สำนักงานตำรวจแห่งชาติสนับสนุนในเรื่องกระบวนการของใบขับขี่ควรจะส่งไปที่ศาล เพื่อให้ศาลเป็นผู้พิจารณา คดีมีอัตราโทษเกิน 1 เดือนให้ส่งฟ้องศาลปรับ ถ้าไม่เกิน 1 เดือนหรือโทษปรับให้จบที่เจ้าพนักงาน ส่วนใครที่ขับรถไม่มีใบขับให้ส่งศาลเป็นผู้พิจารณาปรับเช่นเดียวกัน.

สิ่งที่เราต้องการคือผู้ขับขี่ที่มีคุณภาพ มีความสามารถที่จะขับรถได้อย่างดีและปลอดภัย ดังนั้นต้องไปผ่านการตรวจสอบมาตราฐานเบื้องต้นของกรมขนส่ง โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ทุกคนปลอดภัย ส่วนที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าจะเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ในการรีดไถประชาชน พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. กำชับมาแล้วว่าห้ามเกิดขึ้นเด็ดขาด ถ้าใครนอกลู่นอกทางถูกดำเนินทั้งวินัยและอาญา ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกปฏิบัติงานห้ามเป็นตำรวจนินจาที่ใส่ผ้าคลุมใบหน้ามิดชิด อนุโลมให้ใส่เฉพาะหน้ากากกันฝุ่น เมื่อพูดคุยกับประชาชนต้องเปิดหน้าอย่างชัดเจน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"