งัดคำวินิจฉัยคณะกรรมการกฤษฎีกา 'สุเทพ' ยันไม่ได้ทำผิดกรณีโรงพักตำรวจ


เพิ่มเพื่อน    

25 ส.ค. 61 - นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ  ผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย และ อดีตรองนายกรัฐมนตรี   ไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก ว่า ข้อกล่าวหาที่คณะอนุกรรมการไต่สวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) กล่าวหาตน คือ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผบ.ตร.) สมัยนั้น ทำบันทึกข้อความถึงนายกรัฐมนตรี ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดจ้างโครงการก่อสร้างโรงพักตำรวจ  จากเดิมสร้างแบบรวมการครั้งเดียวแยกเสนอราคาเป็นรายภาค ภาค 1-9 จำนวนหลายสัญญา เป็นการรวมจัดจ้างก่อสร้างครั้งเดียว เป็นสัญญาเดียว โดยไม่ขอให้นายกฯนำเสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดจ้างก่อสร้าง ขอชี้แจงว่า ที่ไม่นำเสนอครม.ให้พิจารณาอนุมัติ เพราะว่าครม.มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวิธีการจัดจ้าง แต่เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงาน หรือหัวหน้าส่วนราชการ

“ผมได้นำหลักฐานไปเสนอต่อคณะกรรมการป.ป.ช. ว่าเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างมีระเบียบสำนักนายกฯว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ออกมา ในสมัยที่มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี ในระเบียบนี้ ชัดเจนเลยว่าการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหลาย ทุกส่วนราชการจะต้องปฏิบัติตามนี้ และบอกไว้เสร็จเลยว่า หัวหน้าส่วนราชการ คือ อธิบดี หรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล ผบ.ตร. มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกดังกล่าว และมีข้อกำหนดในระเบียบสำนักนายกฯข้อ 34 ว่า ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าราชการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติตามระเบียบนี้  เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการทั้งสิ้น เห็นชัดเจนว่าอำนาจในการพิจารณาว่าจะจัดจ้างอย่างไร ที่จะต้องเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ เป็นอำนาจของหัวหน้าส่วนราชการ ไม่ใช่อำนาจของครม.” นายสุเทพ กล่าว

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า หลักฐานที่นำมานั้นฟังดูอาจจะยังไม่พอ แค่เคยมีการวินิจฉัยโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 873/2551 โดยเรื่องมีอยู่ว่ากระทรวงหนึ่งเสนอไปยังครม. ขอให้ช่วยอนุมัติยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกฯ และคิดว่าคนมีอำนาจ คือ ครม. ก็ทำเรื่องเสนอไปที่ครม. ครม.มีมติให้ส่งไปที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา  คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาว่าครม.ไม่มีอำนาจที่จะยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกฯ แต่ถ้าครม.ต้องการกำหนดให้เป็นอำนาจของครม.เสียในเรื่องวิธีการจัดจ้างต้องแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกฯ เพราะฉะนั้นจึงต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้  ดังนั้น เมื่อ พล.ต.อ.ปทีป ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจกำหนดวิธีการจัดจ้างทำหนังสือลงวันที่ 18 พ.ย.2552 ตนจึงวินิจฉัยสั่งการได้  ฉะนั้น ถือว่าตนไม่ได้ทำความผิดตามที่อนุกรรมการไต่สวนฯป.ป.ช.ตั้งข้อกล่าวหา.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"