ต้องเปลี่ยน! อย.โอด พรบ.ยาของเดิมใช้มา 50ปีแล้ว ยันทุกฝ่าย90%เห็นด้วยของใหม่


เพิ่มเพื่อน    


วันนี้ (27 ส.ค.) ณ ห้องประชุมหลวงวิเชียรแพทยสภา ชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงความคืบหน้าของร่าง พ.ร.บ.ยา พ.ศ.... ว่า พ.ร.บ.ยา ฉบับเดิม ใช้มาตั้งแต่ปี 2510 ซึ่งเป็นระยะเวลา 50 ปี โดยฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นตรงกันว่าจำเป็นต้องแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน ซึ่งมีความพยามจะแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง แต่ยังติดขัดในประเด็นที่ตกลงกันไม่ได้การแก้ไขจึงยังไม่สำเร็จ จึงใช้ คำสั่ง คสช.77/2559 เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อแก้ไขสาระสำคัญ ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ 1.คงไว้ซึ่ง พ.ร.บ. พ.ศ.2510 และมีการแก้ไขเพิ่มเติม 2.การเขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่ โดยในเรื่องนี้มีการหารือกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาตั้งแต่เดือน ม.ค. เป็นเวลา 7-8 เดือนแล้ว และมีการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ และได้มีการตัดสินใจเปิดรับฟังความคิดเห็นของทุกฝ่ายซึ่งในวันนี้ มีผู้เข้าหารือ ประมาณ 300 คน จากหน่วยงานราชการ สภาวิชาชีพ ภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรมยา สมาคม/ชมรมด้านยาและตัวแทนภาคประชาชน เพื่อประมวลความคิดเห็น

นพ.วันชัย  กล่าวว่า โดยภาพรวมจากการประมวลผลการหารือกันมาตลอดพบว่าส่วนใหญ่ประมาณ 90 %มีความเห็นร่วมตรงกัน และมีความเห็นต่างประมาณ 10 % ซึ่งก็เป็นประเด็นเดิมที่เคยเป็นปัญหาจนทำให้แก้ไขไม่ได้ เช่น การปรุงยา การจ่ายยา  โครงสร้างราคายา และสิทธิบัตรยา ดังนั้นเห็นว่าจะรอไม่ได้ ตามหลักการมาตราที่เป็นประโยชน์ ตกลงกันได้ เช่น การขึ้นทะเบียนยา ที่แต่เดิมไม่มีวันหมดอายุ ก็ต้องแก้เพราะไม่มีประเทศไหนทำ ต้องมีวันหมดอายุเพื่อคุ้มครองประชาชน นิยามยาม ในเรื่องร้านขายยาที่ พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 อนุญาตให้เปิดร้านได้โดยไม่ต้องมีเภสัชกร พ.ร.บ ฉบับใหม่ก็คงไว้เช่นนั้น แต่หากมีการปิดกิจการห้ามมีการเปิดอีก เป็นต้นควรออกมาก่อน และมาตราที่ยังเป็นปัญหาค่อยหากระบวนการพูดคุยต่อไป โดยการกำหนดในร่างว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการ 1 ชุด เพื่อพิจารณาในแต่ละประเด็น ซึ่งหากพิจารณาลงตัวแล้วค่อยเสนอเพิ่มเติม หรือ อาจออกเป็นกฎหมายรอง ในกฎหมายฉบับใหม่ที่มีการบังคับใช้แล้ว

 ดังนั้นก็สามารถเสนอความคิดเห็นมาได้เรื่อยๆเพราะไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนเวลา โดย อย. จะเป็นตัวกลางประมวลความคิดเห็นที่ยังไม่ลงตัว เป็นการรับฟังในชั้นต้น เพื่อเสนอไปยัง ครม. คณะกรรมการกฤษฏีกา และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้พิจารณาต่อไป โดยการดำเนินการก็อยากให้มีการเดินหน้าต่อไปไม่ใช่กลายเป็นความขัดแย้งของวิชาชีพต่างๆเพราะการทำงานของสหวิชาชีพมีการทำงานตามบทบาทของตนเองเพื่อช่วยประชาชน โดยยืนบนคำถามว่าทำไปแล้วประชาชนได้ประโยชน์อย่างไรดังนั้น หากมีข้อเสนอก็เสนอเข้ามาได้เรื่อยๆ เพราะกว่าจะเข้าสภาฯ ก็อีกหลายเดือน ซึ่งก็ยืนตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทั้งนี้ ได้มีการส่งเสนอร่างไปที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เสนอไปยัง ครม. แล้ว ซึ่ง ครม.ก็จะดำเนินการตามขั้นตอน โดยมี 2 ทาง คือ 1.อาจส่งกลับมาที่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้พิจารณาเพิ่มใหม่ หรือ 2. ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาเพื่อให้พิจารณาต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าถึงความคิดเห็นที่ยังไม่ลงตัว โดยเฉพาะและเรื่องการปรุงยาและการจ่ายยา ที่ต้องการให้วิชาชีพอื่นสามารถดำเนินการได้ นพ.วันชัย กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.2510 มี 3 วิชาชีพที่สามารถดำเนินการได้ คือ แพทย์ สัตวแพทย์ และทันตแพทย์ ซึ่งความเห็นในปัจจุบันมีแบ่งออกเป็น 2 ทาง แต่คนส่วนใหญ่มักรับเพียงด้านเดียว คือการเพิ่มจำนวนวิชาชีพที่สามารถดำเนินการได้ แต่จริงๆคือ อาจมีการลดจำนวนให้เหลือเพียง1 หรือเพิ่มเป็น 4 เป็น5 ก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ต้องมาคุยกันในชั้น กฎหมาย อย.เป็นตัวกลางไม่ตัดสินว่าใครถูกใครผิด มันเป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง ลดได้ เพิ่มได้ แต่อย่างที่บอกคือต้องยืนบนคำถามว่าประชาชนได้ประโยชน์หรือไม่อย่างไร ซึ่งในการพิจารณาในเรื่องนี้ยังไม่ลงรายละเอียดว่าคณะกรรมการพิจารณาจะมีจากไหนบ้าง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"