คุยเจิ้งโจวดึงโมเดลพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินอู่ตะเภา ชูเป็นมหานครการบิน


เพิ่มเพื่อน    

 

คณิศ” คุยเจิ้งโจวดึงโมเดลพัฒนาพื้นที่รอบสนามบินอู่ตะเภา เตรียมเอ็มโอยูภายใน 1-2 เดือนนี้ ให้เกิดมหานครแห่งการบิน พร้อมยันทีโออาร์ประมูลพัฒนาสนามบินออก ต.ค. นี้ แย้มอาจเปิดโอกาสให้เอกชนลงทุนทั้ง 100% แล้วแต่ข้อเสนอ 

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยภายหลัง งานสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) : เมืองการบินภาคตะวันออก(ท่าอากาศยานอู่ตะเภา) ว่าความคืบหน้าความร่วมมือพัฒนามหานครแห่งการบิน เบื้องต้นมีการหารือร่วมกับสนามบินเจิ้งโจวในประเทศจีน เพื่อพัฒนาพื้นที่โดยรอบสนามบินระยะ 30 กิโลเมตร โดยจะใช้โมเดลของเจิ้งโจวซึ่งจะมีการบันทึกลงนามความร่วมมือ(เอ็มโอยู)ภายใน 1-2 เดือนต่อจากนี้ 

ทั้งนี้มหานครแห่งการบินจะเป็นการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ การก่อสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน(เอ็มอาร์โอ) ในพื้นที่กว่า 200 ไร่ และการท่องเที่ยวส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น โดยปีหน้าจะผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงอย่างเป็นรูปธรรม โดยศึกษาข้อมูลในการดำเนินงานทั้งเรื่องการขนส่ง และการใช้เทคโนโลยีในพื้นที่ โดยคาดว่าการพัฒนาจะต้องใช้ระยะเวลากว่า 10-15 ปี เพื่อให้เกิดเป็นมหานครแห่งการบินเต็มรูปแบบ 

ขณะที่การพัฒนาสนามบินที่เป็นการใช้พื้นที่ของกองทัพเรือ ทาง กพอ. จะเร่งรัดให้มีการสรุปร่างขอบเขตการประมูล(ทีโออาร์) ภายในเดือนต.ค.2561 นี้ ก่อนที่จะเปิดขายซองให้กับเอกชนที่สนใจ และคาดว่าภายในเดือน ก.พ. 2562 จะได้ผู้ชนะการประมูลรวมถึงเริ่มดำเนินโครงการได้ ก่อนมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการพัฒนาพื้นที่แล้วเสร็จภายในช่วงปลายปี 2566 โดยเบื้องต้นมีเอกชนหลายรายสนใจทั้งไทยและต่างประเทศ 

นอกจากนี้การสัมมนาดังกล่าว เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากเอกชน โดยเบื้องต้นได้มีหลายฝ่ายต้องการจะทราบถึงรายละเอียด และความชัดเจนของสัดส่วนการลงทุนท่าอากาศยานอู่ตะเภา และกฎระเบียบการใช้พื้นที่ รวมถึงสิทธิพิเศษในการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ซึ่งมีการตอบคำถามไปเบื้องต้นว่าทางสำนักงานได้เปิดโอกาสให้เอกชนที่สนใจลงทุนพัฒนาสนามบินได้เสนอข้อคิดเห็นมาเพื่อเจรจาในเรื่องแนวทางการลงทุน โดยจะพิจารณาภายใต้กฎหมายการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน(พีพีพี) 

“เราได้เปิดโอกาสให้เอกชนที่สนใจลงทุนเข้ามาคุยเพื่อเจรจาถึงสัดส่วนการลงทุนโดยมีบางฝ่ายต้องการที่จะลงทุนทั้ง 100% แต่ต้องมาพิจารณาอีกครั้ง เนื่องจากกำหนดเบื้องต้นการดำเนินการสนามบินอู่ตะเภาต้องอยู่ภายใต้สัดส่วนการถือหุ้น 75 ต่อ 25%”นายคณิศ กล่าว 

ด้านพล.ร.อ.โสภณ วัฒนมงคล ประธานคธณที่ปรึกษากองทัพเรือ ในฐานะประธานกรรมการบริหารเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกของกองทัพเรือ กล่าวว่าการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาใช้พื้นที่ที่กองทัพเรือดูแลอยู่กว่า 6,500 ไร่ คาดการณ์มูลค่าการลงทุนที่ประมาณ 200,000 ล้านบาท โดยในส่วนของรันเวย์ 2 ที่กองทัพเรือจะลงทุนเองนั้นได้เริ่มการออกแบบแล้ว ซึ่งทั้งรันเวย์และอาคารผู้โดยสาร 3 จะต้องก่อสร้างให้เสร็จในกำหนดปี 66 เพื่อเป็นช่องทางเชื่อมต่อกับทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"