ประชุมใหญ่ 'ประชาธิปัตย์' เลือกแม่ทัพ 'หน้าเก่า-คนใหม่'


เพิ่มเพื่อน    

 

        สถานการณ์การเมืองในขณะนี้ กระแสพลังดูดเริ่มถดถอย และมีเรื่องใหม่เข้ามาแทนที่ นั่นคือ ความเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองต่างๆ ทั้งการแอบสุ่มทำนโยบายหาเสียง หรือการทำพื้นที่ตามต่างจังหวัดอย่างเงียบๆ ของอดีต ส.ส. เป็นต้น      

       แต่สิ่งที่ต้องจับตามองเป็นพิเศษโดยเฉพาะในเวลานี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่จะขยับเป็นอันดับแรกๆ หลังร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 

        คงหนีไม่พ้นการเรียกประชุมใหญ่ของพรรค เพื่อเลือกหัวหน้า เพราะเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนดทิศทางและท่าทีของพรรคต่อไป

        สำหรับพรรคเพื่อไทยเอง เริ่มหยั่งเสียงลูกพรรคแล้วว่า หากให้ “พงศ์” ณัฐพงศ์ คุณากรวงศ์ สามีของ “เอม” พินทองทา ชินวัตร ลูกสาวของ “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นแม่ทัพสู้ศึกเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ ดีหรือไม่

        ด้านพรรคเก่าแก่อย่าง “ประชาธิปัตย์” ยังคงวนอยู่ลูปเดิม โดยมีแค่ชื่อของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” เท่านั้น ส่วนคู่แข่งคนอื่นๆ ยังไม่ปรากฏตัวชัดเจนนัก 

       ทว่า ในพรรคก็ไม่ใช่ว่าจะปลื้มกับ “อภิสิทธิ์” เสียทั้งหมด ยังพอจะมีเสียงอยู่เป็นระยะว่าต้องการเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค เพราะเห็นว่า “อภิสิทธิ์” ช้ำจากสถานการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมาพอสมควร อีกทั้งสังคมไม่ค่อยตอบรับและถูกวิพากษ์ในเรื่องการบริหารงานขณะที่เป็นรัฐบาล ซึ่งทำได้ไม่ดีเท่ากับที่วิจารณ์การทำงานของพรรคอื่นๆ ดังนั้นสังคมจึงเบื่อหน่ายกับการนำทัพสไตล์อภิสิทธิ์ 

       นอกจากนี้ จุดยืนของ อภิสิทธิ์ ก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งของพรรคต้องการเปลี่ยนแม่ทัพ เพราะการแสดงท่าทีของหัวหน้ามาร์คสวนทางกับเป้าหมายใครบางคนในพรรคที่อยากให้ซูเอี๋ยกับผู้มีอำนาจ และให้พรรคเป็นพรรคร่วมรัฐบาล

       โดย อภิสิทธิ์ เรียกร้องให้การเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จะต้องเคารพเสียงของประชาชน กล่าวคือ พรรคการเมืองได้คะแนนจากชาวบ้านมากที่สุดจะต้องได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล ส่วน ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. ห้ามยุ่งหรือโหวตสวนกับเจตนารมณ์และความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมือง

        นี่ถือว่าเป็นก้างชิ้นใหญ่ที่ขว้างคอกลุ่มกระหายตำแหน่งขุนนางในพรรคประชาธิปัตย์

       งานนี้คงต้องประเมินว่าส่วนเสียงใหญ่ของสมาชิกพรรคอยากเลือกทิศทางของใคร ระหว่าง อภิสิทธิ์ ที่ครั้งนี้เปิดหน้าสู้กับทหาร หรือสมาชิกจะพยักหน้ากับแนวคิดของกลุ่มอยากจับมือผู้มีอำนาจ เพราะเซ็งกับบทบาทการเป็นฝ่ายค้านมานานนับสิบๆ ปี 

        ฉะนั้น การประชุมใหญ่ของพรรคในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ของประชาธิปัตย์ น่าจะเต็มไปด้วยสีสัน และหากได้หัวหน้าใหม่ก็ยิ่งน่าตื่นเต้น แต่ดูจากทรงแล้ว หัวหน้ามาร์คคนเดิมยังคงนอนมา เพราะแบล็กเขาดี และที่สำคัญรายชื่อตามกระแสข่าวลือยังไม่สามารถสู้อภิสิทธิ์ได้จริงๆ.

 

       "งานนี้คงต้องประเมินว่าส่วนเสียงใหญ่ของสมาชิกพรรคอยากเลือกทิศทางของใคร ระหว่าง อภิสิทธิ์ ที่ครั้งนี้เปิดหน้าสู้กับทหาร หรือสมาชิกจะพยักหน้ากับแนวคิดของกลุ่มอยากจับมือผู้มีอำนาจ เพราะเซ็งกับบทบาทการเป็นฝ่ายค้านมานานนับสิบๆ ปี" 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"