แนะวิธีปฏิบัติตัว..ชะลอโรคอัลไซเมอร์


เพิ่มเพื่อน    

    โรคอัลไซเมอร์คือภาวะสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด เกิดจากการฝ่อตัวของสมองซึ่งส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองบริเวณนั้นๆ โดยเฉพาะสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา 
    สาเหตุที่ชัดเจนของโรคอัลไซเมอร์นั้นยังไม่ทราบ ทราบแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างในสมองขึ้น จนทำให้สมองทำหน้าที่ลดลงและเหี่ยวไป ไม่ได้เป็นโรคติดต่อ แต่อาจมีการถ่ายทอดในครอบครัวทางกรรมพันธุ์ได้ในผู้ป่วยส่วนน้อย ส่วนใหญ่ไม่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ อายุที่มากขึ้น โดยจะพบมากขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปีที่อายุมากกว่า 60 ปี คือร้อยละ 1 ตอนอายุ 60 ปี เป็นร้อยละ 2 ตอน 65 ปี เพิ่มจนเป็นร้อยละ 32 ตอน 85 ปี เนื่องจากปัจจุบันนี้คนเราอายุยืนขึ้น โรคนี้จึงพบได้มากขึ้นเรื่อยๆ และจะเป็นปัญหาที่สำคัญของทุกประเทศ 
    อาการของโรคอัลไซเมอร์ในระยะเริ่มต้นจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรง เช่น ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น ทำอะไรซ้ำๆ หลายครั้ง อารมณ์แปรปรวน ระยะกลางคือ ผู้ป่วยจะยิ่งมีปัญหาด้านความทรงจำ จำชื่อของคนรู้จักไม่ได้ ทำกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอนได้ยากขึ้น ระยะสุดท้ายเป็นระยะที่อาการของโรครุนแรงมากขึ้น โดยมีอาการประสาทหลอน อาละวาด เรียกร้องความสนใจ มีอาการชัก ทั้งนี้ ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะซึมเศร้า ความเครียด ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นได้

    นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบันมีเพียงการใช้ยารักษา และการดูแลที่จะช่วยบรรเทาอาการด้านความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้เพียงชั่วคราว หรืออาจช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลงได้ในบางราย โดยการดูแลรักษา ได้แก่ 
    1.การวางแผนดูแลผู้ป่วยโดยแพทย์ร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่นๆ ซึ่งจะมีการพูดคุย สอบถามถึงสิ่งที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลอาจต้องการความช่วยเหลือ 2.สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย มีการปรับสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต 3.การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ โดยอาจให้ผู้ป่วยเดินเป็นประจำทุกๆ วัน เพื่อปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเดิน อาจขี่จักรยานอยู่กับที่ หรือออกกำลังกายโดยนั่งบนเก้าอี้แทน 4.การรับประทานอาหาร ควรเสริมด้วยน้ำปั่นจากผลไม้ผสมนมหรือโยเกิร์ตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแคลอรีสูง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน 5.การใช้ยารักษา แพทย์จะสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการบางชนิดและชะลอการพัฒนาของโรค 6.การบำบัดทางจิต โดยนักจิตวิทยา เช่น การกระตุ้นสมองช่วยปรับปรุงความสามารถด้านความทรงจำ ทักษะการแก้ปัญหา รวมทั้งการบำบัดด้วยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด 
    "สาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรค แต่มีวิธีที่อาจช่วยชะลอการเริ่มต้นของโรคด้วยการปฏิบัติ ดังนี้ เลิกสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีใน 5 วันต่อสัปดาห์ ควบคุมระดับความดันโลหิต และที่สำคัญควรฝึกการทำงานของสมอง เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา เป็นต้น" นพ.ประพันธ์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"