ครม.เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.ยืนยันตัวตนทางดิจิทัล


เพิ่มเพื่อน    

ครม.เห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ. การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล  เพื่อยกระดับการให้บริการหน่วยงานของรัฐ ใช้กำกับดูแลสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น 

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการ ร่าง พ.ร.บ.การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ตลอดจนการกำหนดแนวทางการคุ้มครองประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลและผู้ใช้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

อย่างไรก็ตามปัจจุบันการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภท จะต้องมีการพิสูจน์ตัวตนก่อนที่จะใช้บริการได้ ซึ่งที่ผ่านมา การพิสูจน์ตัวตนจะต้องให้ผู้ใช้บริการไปแสดงตัวตนต่อผู้ให้บริการ มีการยื่นเอกสารหลายอย่าง สำหรับร่างกฎหมายดังกล่าว จะทำให้การทำนิติกรรมสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งหากสามารถพิสูจน์ตัวตนในแบบดิจิทัลได้ ก็จะเกิดประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ใช้บริการ และผู้ให้บริการ

นอกจากนี้ได้กำหนดให้ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตน โดยมี รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานกรรมการ ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นการทั่วไป, ออกประกาศ คำสั่งเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้, กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล 

" การให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล จะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับการจัดตั้งในรูปแบบบริษัท และได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรี นอกจากนี้บริษัทผู้ให้บริการจะต้องกำหนดมาตรฐานในการรักษาความลับ และความปลอดภัยของข้อมูลในโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยมีมาตรฐานการเข้ารหัสหรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนด ขณะเดียวกันได้กำหนดบทลงโทษแก่บริษัทผู้ให้บริการที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้แก่ผู้อื่น หรือไม่ใช่วัตถุประสงค์ที่เป็นไปตาม พ.ร.บ.นี้จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้บริการหรือเจ้าของข้อมูล บริษัทผู้ให้บริการจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นด้วย"พล.ท.สรรเสริญ กล่าว

น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. ดิจิทัลไอดี) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่  1. พัฒนาโครงข่ายระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (โครงข่ายฯ) ที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ  2. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล รวมทั้งกำกับดูแลผู้ให้บริการ และ  3. ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานของรัฐ โดยหน่วยงานของรัฐสามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่ายฯ ได้

เหตุผลสำคัญ ที่ต้องมี พ.ร.บ. ดิจิทัลไอดี  เนื่องจากการทำธุรกรรมหรือการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภทในระบบเศรษฐกิจจำเป็นต้องมีการพิสูจน์ตัวตน การให้ความยินยอม การลงลายมือชื่อ หรือการแสดงเจตนาของผู้ทำธุรกรรมดังกล่าวและในอดีตที่ผ่านมา การพิสูจน์ตัวตนมักจะให้ผู้ใช้บริการ (ผู้ทำธุรกรรม) ต้องไปแสดงตนต่อผู้ให้บริการ เช่น หน่วยงานราชการ ธนาคารพาณิชย์ โรงพยาบาล เป็นต้น พร้อมส่งเอกสารหลักฐานในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน จึงก่อให้เกิดความไม่สะดวก และเป็นภาระต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 

นอกจากนี้ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอิเล็กทรอนิกส์โดยที่มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ดังนั้น หากการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสามารถกระทำในรูปแบบดิจิทัลได้ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ. ดิจิทัลไอดี เป็นกฎหมายเชิงกำกับดูแล โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำกับดูแลโครงข่ายฯ เพื่อให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลเป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน และผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"