'นคร'ไปไกลเพ้อมีใบสั่งสังหาร


เพิ่มเพื่อน    

    เสื้อแดงบี้ถามอัยการสูงสุด ข้องใจกระแสข่าวบิ๊กนายพลล็อบบี้อัยการยุติคดีสลายการชุมนุมปี 53  ให้แทงเรื่องเป็นสำนวนมุมดำ เหตุหาตัวผู้กระทำความผิดไม่ได้ ไม่ต้องส่งฟ้องศาล "นคร มาแฉ" ใช้มุกมีจดหมายเตือนให้ระวังตัวจะโดนเก็บ เหตุเก็บความลับไว้เยอะ  
    เมื่อวันที่ 16 ก.ย. นายนคร มาฉิม อดีต ส.ส.จังหวัดพิษณุโลก โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก โดยมีสิ่งที่แนบมาด้วยคือ คำเตือน จากบุคคลที่ใช้ชื่อว่า 007 ถึงนายนคร มาฉิม ระบุตอนหนึ่งว่า 
    "หลังจากที่ผมได้พูดถึงการสมคบคิดการยึดอำนาจ และมีหนังสือถึงสหภาพยุโรป หรือ EU เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความจริงของประเทศไทยที่ประชาชนถูกกดขี่ ข่มเหง ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพ พวกท่านก็ใช้ให้ทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงมาล้อมบ้าน มาคุกคาม ข่มขู่ไม่ให้ผมพูดต่อนานาชาติ ให้พูดกันภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งในความเป็นจริงมันพูดในประเทศไทยไม่ได้ เพราะพวกท่านมีอำนาจสูงสุด เหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐบาลและตุลาการ 
    นายนครอ้างว่า มีข้อความทำนองว่าจะมีการวางแผนเพื่อหมายเอาชีวิต ก็ขอบคุณผู้หวังดีที่ได้เตือนมา และจะใช้ความระมัดระวังในการใช้ชีวิตเพิ่มมากขึ้น ไม่ประมาท หากมีการวางแผนการเพื่อสังหารผมจริง ก็ไม่ควรจะใช้วิธีกำจัดคนเห็นต่างด้วยความตาย หากไม่มีแผนสังหารผมดังคำเตือนก็แล้วไป แต่ก็ไม่ควรมีบรรยากาศคุกคามข่มขู่
    ทั้งนี้ นายนครได้โพสต์ข้อความเผยแพร่คำเตือนดังกล่าว จากคนใช้นามว่า 007 ที่มีข้อความตอนหนึ่งว่า     "ชัดเจนแล้วทรงนีพี่นครต้องระวังตัวให้มาก..ติดกล้องวงจรปิดรอบบ้านเพิ่มไม่กี่พัน..หลักหมื่น..เชื่อสิแม่งมีคนชี้เป้าวิ่งผ่านหน้าบ้านให้เห็นตลอดละครับ..มันเก็บพี่แน่นอน อย่าประมาทเด็ดขาด..เพราะความลับทั้งหมดอยู่ในมือพี่นั่นเอง ดูรถตามหลังให้ดี เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมเพื่อตอบโต้อย่างมีมาตรฐานและเป็นพยานหลักฐานสำคัญ..เพราะมันเก็บพี่แน่นอน ซุ้มพิโลกของพวกพี่ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน..เอามาดักทางสวนน้ำบ้างก็ดี..คุมเชิง..ไว้บ้างก็ดี 007 ขอบคุณมากครับ"
    การอ้างของนายนครดังกล่าว ทาง พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า  ในส่วนของทหารเองที่ผ่านมาไม่เคยดำเนินการในลักษณะที่น่ากลัวหรือใช้ความรุนแรง โดยทุกอย่างจะใช้วิธีการพูดคุยทำความเข้าใจกันเป็นหลัก ในส่วนกรณีที่ระบุว่ามีการวางแผนถึงขั้นเอาชีวิตนั้น ทางเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบรายละเอียดก่อน เพราะการเผยแพร่ข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดียนั้น บางครั้งผู้โพสต์เองจะมีเป้าประสงค์ที่มีนัยตลอด
    ด้านนายพิชัย นริพทะพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตามที่ยูเอ็นเปิดเผยรายงานประจำปี แจงรายชื่อ 38 ประเทศว่าเป็นประเทศที่น่าละอาย โดยอ้างว่ามีการปฏิบัติไม่ดีต่อนักสิทธิมนุษยชนหรือผู้ให้ความร่วมมือกับกลุ่มสิทธิมนุษยชน และหนึ่งในนั้นคือประเทศไทย ที่เพิ่งถูกระบุชื่อด้วยในปีนี้ เป็นเรื่องที่เสื่อมเสียแก่ประเทศอย่างมาก และสะท้อนถึงพฤติกรรมของรัฐบาลใน 4 ปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี การที่ไทยติดเป็นประเทศน่าละอายนี้ นอกจากจะทำลายภาพพจน์ของประเทศแล้วยังทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศ ทำให้การลงทุนต่างประเทศที่มีน้อยอยู่แล้วยิ่งหดหายลดลงไปอีก ไม่อยากให้ไทยเป็นเหมือนประเทศเมียนมา ที่แต่แรกมีแนวโน้มที่ดีหลังการเลือกตั้ง แต่มาเจอเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนจนทำให้การลงทุนจากต่างประเทศหดหาย ประเทศเมียนมาเลยไม่พัฒนาเท่าที่ควร
    อย่างไรก็ตาม น.ส.ปิติกาญจน์ สิทธิเดช อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกมาระบุว่า รายงานประจำปี 2561 ได้เผยแพร่รายชื่อ 38 ประเทศน่าละอาย โดยอ้างว่ามีการปฏิบัติไม่ดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งในจำนวนนี้ รวมประเทศไทยอยู่ด้วยนั้น
    แถลงการณ์ระบุว่า กรมคุ้มครองสิทธิฯ ขอชี้แจงว่า รายงานดังกล่าวยังขาดความสมดุลของข้อมูล ซึ่งรัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญในเชิงนโยบายการส่งเสริม คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด ไม่เคยมีนโยบายหรือเจตนาข่มขู่ คุกคามนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลมีการวางมาตรการ กลไกต่างๆ เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อให้ได้รับความปลอดภัย และสามารถใช้สิทธิเสรีภาพในการปฏิบัติหน้าที่และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ    ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนามาตรการในการคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่เสี่ยงต่อการถูกละเมิด การจัดทำคู่มือนักปกป้องสิทธิมนุษยชน การรับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน ตลอดจนการติดตามสถานการณ์นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อหาทางช่วยเหลือและการจัดทำรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รับทราบปัญหาและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที
    น.ส.ปิติกาญจน์กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีนายไมตรี จำเริญสุขสกุล และ น.ส.ศิริกาญจน์ เจริญศิริ (ทนายจูน) ที่ถูกกล่าวถึงในรายงานฉบับนี้ ชี้แจงว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้ละเลยการคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหา หากบุคคลดังกล่าวมีการร้องขอ ก็จะเข้าไปให้ความช่วยเหลือ เช่น การปรึกษากฎหมาย การช่วยเหลือทางคดี การประกันตัว และหากบุคคลดังกล่าวถูกข่มขู่ คุกคามหรือไม่ได้รับความปลอดภัย สามารถขอรับความคุ้มครองได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง พยานในคดีอาญา
    อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพย้ำว่า นอกจากนี้ได้เตรียมการออกเป็นนโยบายและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่น การเสนอปรับปรุง พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา ให้ครอบคลุมถึงผู้แจ้งเบาะแสในความผิดเกี่ยวกับคดีอาญาด้วย
    "ในอนาคต หากบุคคลดังกล่าวถูกข่มขู่คุกคาม ไม่ได้รับความปลอดภัย สามารถขอรับการคุ้มครองตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดได้ รวมทั้งการเสนอร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ..... การบรรจุนโยบายในการส่งเสริมและคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไว้ในร่างแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 1 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ระหว่างปี พ.ศ.2562-2566 นี้" อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิฯ กล่าว
     นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงอัยการสูงสุดและผู้เกี่ยวข้องในคดีสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.และมีผู้เสียชีวิต 99 ราย ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีใจความสรุปว่า คอลัมน์มองรอบทิศ เรื่อง “นายพล” เดินแรง โดยผู้ใช้นามปากกา พยัคฆ์น้อย ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ก.ย. 2561 ระบุถึงเหตุการณ์วันที่ 3 ส.ค.2561 เวลาก่อน 11.00 น. ว่า มีนายทหารระดับนายพลเดินทางไปยังสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับสำนวนคดีสลายการชุมนุมกลุ่ม นปช.เมื่อปี 2553 จนมีผู้เสียชีวิต 99 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 ราย โดยนายพลขอให้ผู้ใหญ่ฝ่ายอัยการยุติเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะกรณีเกือบ 20 ศพที่ศาลไต่สวนสาเหตุการตายเป็นที่ยุติแล้วว่าเสียชีวิตเพราะถูกกระสุนปืนความเร็วสูงจากฝั่งเจ้าหน้าที่ ให้ทำเป็นสำนวนมุมดำ หาตัวผู้กระทำความผิดไม่ได้ จึงไม่ต้องส่งฟ้องศาล
    "เนื้อหาเช่นนี้ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความสง่างามและความน่าเชื่อถือขององค์กรอัยการ มั่นใจว่าจะต้องมีการชี้แจงข้อเท็จจริงตอบโต้ในทันที แต่จนถึงวันนี้ (16 ก.ย.) ยังไม่ปรากฏคำชี้แจงใดๆ ทำให้นึกถึงหลักคิดทางกฎหมายข้อหนึ่งว่า “การนิ่งเฉยถือเป็นการยอมรับ”อัยการสูงสุดควรมีคำอธิบาย ไม่ทราบว่ามีนายพลคนไหนไปพบใครที่สำนกงานอัยการสูงสุด ไม่ทราบว่ามีข้อเจรจาให้คดีดังกล่าวเป็นสำนวนมุมดำจริงหรือไม่ จะมอบหมายตัวแทนฝ่ายกฎหมายเดินทางไปยื่นคำร้องเรื่องนี้ต่อสำนักงานอัยการสูงสุดในสัปดาห์หน้า".


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"