'ธิดา'ซ้ำคสช.ทำไทยเป็นประเทศน่าละอาย - ด่าไม่ลง 'ทรัมป์' ละเมิดสิทธิเพราะมาจากการเลือกตั้ง


เพิ่มเพื่อน    

17 ก.ย.61 - นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานที่ปรึกษา นปช. กล่าวในการทำ Facebook Live ว่า กรณีที่สหประชาชาติเปิดเผยรายงานประจำปี แจงรายชื่อ 38 ประเทศว่าเป็น “ประเทศที่มีพฤติกรรมน่าละอาย” ซึ่งตามรายงานนั้นประเทศไทยเป็น 1 ใน 29 ประเทศที่เพิ่งถูกขึ้นบัญชีเป็นครั้งแรกในหมวดเกี่ยวกับรายงานสถานการณ์ของการถูกคุกคามด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นข่าวเกรียวกราวปลายสัปดาห์ที่แล้ว

นางธิดา กล่าวว่า กับคำถามที่ว่าคุณคิดว่าน่าละอายไหม? 1) ถ้าคิดว่าไม่ใช่พฤติกรรมที่น่าละอายของประเทศไทย...ก็ไม่ต้องทำอะไร 2) ถ้าคิดว่ามันไม่ดี มันผิด หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง...ก็มี 2 ทางเลือก ก็คือ ออกมาแก้ตัว หรือ หาวิธีแก้ไข

อย่างไรก็ตาม ใน ‘เพจไทยคู่ฟ้า’ มีการโพสต์เมื่อ 15 ก.ย. 61 ไขข้อข้องใจ! ประเทศไทยน่าละอาย จริงหรือ? ในวรรคท้ายระบุว่า “งานนี้ก็คงต้องไปพลิกดูรายละเอียดกันแล้วว่าแต่ละประเทศถูกกล่าวหากันอย่างไร แล้วมันน่าละอายถึงขนาดนั้น จริงหรือไม่ !!” ซึ่งก็แปลว่ามันไม่ใช่น่าละอายเลย ถ้าสิ่งที่ทำอยู่มันไม่น่าละอาย คุณก็ไม่ต้องแก้ตัว ไม่ต้องแก้ไข ในขณะที่มีข่าวว่ากระทรวงต่างประเทศเตรียมชี้แจงต่อ UN กรณีดังกล่าวในวันที่ 19 ก.ย. นี้ที่เจนีวา

นางธิดา กล่าวว่า หลักการของการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นหลักการของสหประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อแนวความคิดของค่ายเสรีประชาธิปไตยอยู่ในฐานะเหนือสหประชาชาติ ดังนั้นปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและกฎหมายอะไรต่าง ๆ ว่าด้วยสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง รวมทั้งทางสังคมวัฒนธรรม ออกมาเพื่อตอบสนองหลักการว่าด้วยปัญหาสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียม ดังนั้นจะเห็นว่าประเทศที่มีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ไม่ได้อยู่ในค่ายเสรีประชาธิปไตย

แต่ในสหรัฐอเมริการัฐบาลเขามาจากการเลือกตั้ง อาจมีคนจำนวนหนึ่งซึ่งมีแนวคิดขวาจัดก็มองเห็นคนเป็นคนไม่เท่าเทียมกันทั้งหมด ประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนมันจึงเกิดขึ้น เช่น กรณีผู้อพยพมา แยกแม่แยกลูก เป็นต้น สิ่งที่ประธานาธิบดีทรัมป์ทำมีจำนวนมากที่คนไม่เห็นด้วยและต่อต้านแต่อย่างไรเสียเขาก็มาจากการเลือกตั้ง และในที่สุดเขาก็ต้องออกไปตามกลไกระบอบประชาธิปไตย

“แต่ประเทศที่รัฐบาลไม่ได้มาจากกลไกการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็จะดำรงอยู่ตราบเท่าที่ประเทศนั้นยังไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบ กลับมาบ้านเรา ถ้ารัฐบาลเห็นว่าปัญหานี้ไม่น่าอายตรงไหน ท่านก็ไม่ต้องไปแก้ตัวในที่ประชุมกรุงเจนีวา” นางธิดา กล่าว

นางธิดา กล่าวต่อไปว่า ท่านต้องพิจารณาว่าขณะนี้ท่านอยู่ในการเมืองการปกครองแบบไหน ยอมรับความจริง อะไรที่แก้ไขได้ก็ต้องแก้ แต่ถ้าท่านไม่คิดจะแก้ไข ก็แปลว่าการปกครองแบบนี้ก็เหมาะสมและดีอยู่แล้ว นี่จึงกลายเป็นลามไปจนกระทั่งท่านไม่ยอมคลายล็อกทางการเมือง ใช้วิธีการควบคุมประชาชน โดยการใช้ความรุนแรงหรือใช้อำนาจทางการทหาร ซึ่งวิธีนี้แก้ปัญหาทางการเมืองและปัญหาสิทธิเสรีภาพสิทธิมนุษยชนไม่ได้แน่นอน

แม้กระทั่งกรณีของ 2 ผู้วิเคราะห์ข่าวในรายการ Wake Up News ทาง Voice TV อ.วิโรจน์ อาลี และ อ.ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นี่ต้องเรียกว่าปัญหาสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR ที่ไทยไปเซ็นไว้ ยังมีกรณีคุณนคร มาฉิม ที่เป็นปัญหาการละเมิดสิทธิทางการเมืองด้วย

นางธิดา กล่าวอีกว่า ประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้ง จะไปสู่ประชาธิปไตย แต่คุณยังไม่ปลดล็อก ยังมองไม่เห็นความสำคัญของสิทธิเสรีภาพและความเท่าเทียมกัน มันก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่คุณบอกว่าเป็นระยะเปลี่ยนผ่านแล้วคุณต้องปลดล็อก

“ขอตั้งคำถามไปอีกว่า “คุณต้องการเวลาเท่าไหร่ที่คิดว่าคุณถึงจะปลดล็อกปัญหาสิทธิเสรีภาพ ปลดล็อกทางการเมืองได้ อ.ธิดาคิดว่าเวลา 5 ปี มันนานเกินไปแล้ว  เรื่องปลดล็อคพรรคการเมือง ปลดล็อคประชาชน หยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสิทธิทางการเมือง ทั้งหมดคือเรื่องเดียวกัน” นางธิดา กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"