ประชาชนหนุนใช้โซเชียลมีเดียหาเสียง แต่ยังชอบการฟังปราศรัยมากที่สุด


เพิ่มเพื่อน    

 

ผลสำรวจความคิดเห็น แนวทางหาเสียงเลือกตั้งครั้งหน้า ประชาชนหนุนใช้ สื่อโซเชียลมีเดีย แต่ยังชอบการตั้งเวทีปราศรัยมากที่สุด และหวังจะเจอการหาเสียงที่พูดจริง ทำได้จริง โม้โอ้อวด ขายฝัน นั้นเกลียดมาก 
     
หลังจากที่ คสช. ประกาศคลายล็อกให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมได้ ยกเว้นการหาเสียงที่กำหนดห้ามใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และโซเชียลมีเดีย กลายเป็นประเด็นร้อนที่ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์  เนื่องจากการเลือกตั้งอาจมีขึ้นเร็วในเดือนก.พ. ปีหน้า ทำให้พรรคการเมืองต่างๆจะต้องเร่งดำเนินการหาเสียงแข่งกับเวลา ที่เหลืออยู่ไม่มาก เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการหาเสียงเลือกตั้ง “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,174 คน ระหว่างวันที่  18-22 กันยายน 2561 สรุปผลได้ ดังนี้
 
1.ผู้สมัคร ส.ส. หาเสียงแบบใด? จึงจะถูกใจประชาชน
อันดับ 1    เน้นสิ่งที่ทำได้จริง พูดแล้วทำจริง ทำตามที่พูด ไม่สร้างภาพ            41.93%
อันดับ 2    มีนโยบายที่ทำเพื่อประชาชน ไม่เป็นประชานิยม มีแนวทางการทำงานที่เป็นรูปธรรม    32.29%
อันดับ 3    ลงพื้นที่ จัดเวทีปราศรัย หาเสียงผ่านสื่อโซเชียลต่าง ๆ ไลฟ์สด         23.27%
อันดับ 4    เคารพกฎกติกา ไม่ใส่ร้าย โจมตีกัน พูดมีสาระ สุภาพ น่าฟัง              21.80%
อันดับ 5    ดีเบตแบบในต่างประเทศ แสดงวิสัยทัศน์ออกทีวี                           15.51%

2.    ผู้สมัคร ส.ส. หาเสียงแบบใด? ที่ประชาชนไม่ชอบ
อันดับ 1    คุยโม้โอ้อวด อวดอ้าง ขายฝัน ทำไม่ได้ตามที่พูดไว้                35.92%
อันดับ 2    ซื้อเสียง ติดสินบน กระทำผิดกฎกติกาที่กำหนด                     34.24%
อันดับ 3    หาเสียงด้วยวิธีการรบกวนผู้อื่น เช่น รถแห่เสียงดัง ติดป้ายสมัครบังทาง รบกวนเวลาส่วนตัว    25.84%
อันดับ 4    ใส่ร้ายผู้สมัครฝั่งตรงข้าม โจมตี สาดโคลนกันไปมา                18.28%
อันดับ 5    ไม่ลงพื้นที่เอง ใช้หัวคะแนนลงพื้นที่ ไม่เข้าหาประชาชน          14.92%

3.    ประชาชนคิดอย่างไร? กับการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย 
อันดับ 1    เป็นวิธีการที่ดี ทันสมัย ช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ                         48.15%
อันดับ 2    ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวก สามารถแสดงความคิดเห็นถามตอบได้         34.57%
อันดับ 3    ควบคุมได้ยาก ตรวจสอบไม่ได้ อาจเกิดการใส่ร้ายโจมตีกัน                       25.93%
อันดับ 4    สื่อสารได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการหาเสียงเจาะกลุ่มเฉพาะ                     17.04%
อันดับ 5    ละเมิดพื้นที่ส่วนตัว ไม่สนใจอยากอ่าน แต่ต้องมาเห็นข้อความที่เข้ามา        13.58%

4.    วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. แบบใด? ที่ถูกใจประชาชนมากที่สุด
อันดับ 1    ตั้งเวทีปราศรัย                                         29.32%
อันดับ 2    ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย                                   26.00%
อันดับ 3    เคาะประตูบ้าน                                         25.13%
อันดับ 4    มีขบวนรถหาเสียง                                      9.08%
อันดับ 5    ผ่านเว็บไซต์ของพรรคการเมือง                     6.98%
อันดับ 6    ติดตั้งป้ายโฆษณาขนาดใหญ่                        6.81%
อันดับ 7    ส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือ (SMS)            0.52%
             
5.    ประชาชนชอบการปราศรัยหาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. บนเวทีหรือไม่
อันดับ 1    ชอบ    61.88%  เพราะ  ได้เจอผู้สมัครตัวจริง ได้ฟังแนวคิด วิสัยทัศน์ นโยบายการทำงาน ได้เห็นท่าทาง อากัปกริยา ฯลฯ  
อันดับ 2    ไม่ชอบ    38.12%  เพราะ  คนเยอะ เสียงดัง วุ่นวาย รบกวนผู้อื่น คุยโม้ โอ้อวด ต้องหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีการปราศรัย ฯลฯ 

6.  “สื่อ” ที่ใช้หาเสียงเลือกตั้ง ส.ส. ที่ประชาชนให้ความสนใจ 
อันดับ 1    โทรทัศน์                                                       33.85%
อันดับ 2    สื่อบุคคล เช่น ตัวผู้สมัคร/หัวหน้าพรรค/ผู้สนับสนุน  27.55%
อันดับ 3    โซเชียลมีเดีย                                                 20.70%
อื่นๆ    ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ รถหาเสียง แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น  17.90%


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"