มทร.กรุงเทพฯจับมือสภาอุตฯ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันภาคอุตฯไทย


เพิ่มเพื่อน    


24ก.ย.61- ดร.สุกิจ นิตินัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เป็นสถาบันการศึกษาสายอาชีพที่มีความพร้อมทั้งองค์ความรู้ด้านวิชาการ และทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพที่เชี่ยวชาญใน 3 กลุ่มความรู้ ได้แก่ กลุ่มการบริหารจัดการ กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ กลุ่มวิศวกรรมศาสตร์ อีกทั้งยังมีความแข็งแกร่งในการให้บริการด้านการศึกษาแก่สังคม ที่สามารถตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ของประเทศ อาทิ การเปิดสอนหลักสูตรซ่อมบำรุงอากาศยาน หลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หลักสูตรวิศวกรรมการผลิตความแม่นยำสูง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพและความงาม การเปิดร้านอาหารไทยฮาลาล การจัดโครงการบริการวิชาการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนผ่าน คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ โดยแต่ละหลักสูตรมุ่งดำเนินงานภายใต้เป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม  ล่าสุดทาง มทร.กรุงเทพฯ ได้ลงนามความร่วมมือกับทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สร้างความร่วมมือเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย และส่งเสริมงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อยกระดับงานวิจัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคลากร ตลอดจนผลักดันการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความเข้มแข็ง และเกิดประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม


นายสุพันธุ์  มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เป็นการเน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมทร.กรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้น โดยมุ่งส่งเสริการศึกษา จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ทรัพยากรของทั้งสองฝ่าย พัฒนาบุคลากร โครงสร้างพื้นฐาน การถ่ายทอดองค์ความรู้  การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย ได้รับประสบการณ์ตรงในวิชาชีพ

นอกจากความร่วมมือด้านการศึกษาแล้ว สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย มีแผนดำเนินการย้ายสำนักงานใหม่ โดยได้เช่าพื้นที่ มทร.กรุงเทพ สร้างเป็น Modren Office นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความสะดวกสบายและทันสมัยมาใช้ พร้อมทั้งมีการเตรียมจัดตั้ง The future Technology and Innovation Academy หรือ FTI Academy ขึ้นในพื้นที่สำนักงานแห่งใหม่นี้ เพื่อรองรับการดำเนินการในการพัฒนาการศึกษาและบุคลากรภาคอุตสาหกรรมเพื่ออนาคตไว้ 5 ด้าน ได้แก่1.    UP/Re Skill 2.Technology and Innovation3.Early Recruitment4.HRD System5.Skill Standard / Certificate and Databank ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนากำลังคนของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 ต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"