อภ.เริ่มวิจัยกัญชา เตรียมสกัดเป็นยาต้นแบบให้ได้ภายในธ.ค.นี้  


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.ย.61- ที่ห้องประชุมสถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม มีงานแถลงข่าวรับมอบกัญชาของกลางวิจัยเป็นสารสกัดต้นแบบใช้ทางการแพทย์ โดย นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม เปิดเผยว่า  ในวันนี้ อภ.ได้รับมอบกัญชาของกลาง จำนวน 100 กิโลกรัม จากกองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ซึ่งได้มีการประสานขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เรียบร้อย แล้วเพื่อหาสารสกัดสำคัญทั้งทีเอชซี (THC) ซึ่งเป็นสารที่กล่อมประสาท และซีบีดี (CBD) สำหรับรักษากลุ่มโรคลมชัก โดยจะหาปริมาณสารสำคัญ และการปนเปื้อนสิ่งต่างๆ อาทิ โลหะหนัก ยาฆ่าแมลงเป็นต้น ซึ่งจะเป็นอันตรายหากนำมาทำสารสกัดทางยา ทั้งนี้วางเป้าหมายว่าจะต้องได้เป็นน้ำมันหยอดใต้ลิ้นภายในเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งในจำนวนของกลางที่รับมาคาดว่าจะสามารถสกัดน้ำมันกัญชาได้ประมาณ 18,000 ขวด ขวดละ 5 ซีซี ทั้งนี้ จากข้อมูลวิชาการทั่วโลกพบว่ามีการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่ชัดเจนอยู่ 4 กลุ่มโรค คือ 1. รักษาอาการคลื่นไส้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ให้คีโม 2. โรคลมชักในเด็ก 3. ปลอกประสาทอักเสบ และ 4. ปวดอื่นๆ ทั่วที่เดิมทีต้องใช้มอร์ฟีนในการบรรเทาอาการปวด ส่วนข้อเสนอเพื่อการรักษาโรคอื่นๆ เช่น อังไซเมอร์ และพาร์กินสันนั้นก็จะศึกษาไปพร้อมกัน รวมถึงการใช้ในการแพทย์แผนไทยที่มีกว่า 100 ตำรับก็อาจจะต้องรอกฎหมายปลดล็อคก่อน 

นพ.โสภณ กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ทางอภ.มีแนวคิดศึกษาพัฒนาสายพันธุ์กัญชาให้มีคุณภาพ ก็มีการปรับปรุงพื้นที่ภายในอภ.เพาะปลูกกัญชา 2 สายพันธุ์ ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมเดินหน้าต่อในระดับอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ตั้งความหวังว่ากฎหมายจะสามารถปลดล็อคให้ใช้กัญชาเพื่อการรักษาโรคทางการแพทย์ได้ภายในปี 2562 หรืออย่างช้าที่สุดคือเลื่อนไปอีก 3 เดือน  ขณะนี้กฎหมายอยู่ที่การหารือของสนช. และทางปปส.ก็มีการพูดถึงการใช้ม.44 มาปลดล็อคเรื่องนี้ 

นพ.โสภณ กล่าวว่า ในเรื่องของข้อควรระวังหากมีการใช้สารสกัดกัญชาในคน คือ  จะทำให้มีอาการมึนงง ทำให้ระบบการดูแลเรื่องกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหว ระบบการเรียนรู้มีปัญหา ดังนั้นเมื่อใช้แล้วห้ามขับรถเพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ส่วนที่ใช้ การใช้ในเด็กจะส่งผลเสียในสมอง อาจจะทำให้มีปัญหาในเรื่องสุขภาพจิตได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าหากสามารถผลิตสารสกัดได้เองจะทำให้ต้นทุนถูกกว่าต่างประเทศมากน้อยเพียงใด นพ.โสภณ กล่าวว่าต้องมีการประเมินต่อไป แต่คาดว่าหากมีการผลิตให้ได้คุณภาพมาตรฐานจะมีราคาถูกกว่าเพราะเราได้เปรียบในเรื่องของสภาพอากาศ


พล.ต.ต.ทนงศักดิ์ ทั่งทอง รองผบ.ชปส. กล่าวว่า ในแต่ละปีมีการจับกุมกัญชาได้ประมาณ 7 ตัน บางปีจับในการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศได้มากถึง 20 ตัน โดยถูกมองเป็นขยะรอเวลาเผาทำลาย ที่ผ่านมาการศึกษาวิจัยกัญชามหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยนเรศวรขอของกลางไป แต่เป็นเพราะกัญชาที่เก็บไว้นานจึงไม่ค่อยมีคุณภาพเท่าที่ควร ดังนั้นครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นำกัญชาของกลางที่เพิ่งจับกุมได้ ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ ราคาสูงนำเข้าจากต่างประเทศ และส่งมอบให้กับทางอภ.ทำการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ต่อ อนาคตหากการศึกษาเป็นไปด้วยดี และหากทางตำรวจจับกุมของกลางกัญชาได้ก็จะให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประสานขอใช้ศึกษาทางการแพทย์ได้อีก

ผศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ กล่าวว่า ของกลางที่นำมาวันนี้มี 3 กลุ่ม คือ ห่อฟอยล์สีทอง ห่อพลาสติก เป็นกัญชาสายพันธุ์ไทยแต่ไปปลูกที่ประเทศลาว และอีกกลุ่มคือดอก เป็นของกลางที่นำเข้าจากต่างประเทศเช่นกัน ทั้งนี้กัญชาสายพันธุ์ไทยนับว่ามีชื่อเสียง มีสาระสำคัญในปริมาณมาก ทั้งนี้ทั่วโลกกัญชาถือว่ามาแรงมากแคนาดากำลังจะประกาศให้สูบเพื่อความเพลิดเพลินได้ทั่วประเทศ ขณะที่ประเทศออสเตรเลียมาทีหลังแต่พยายามผลักดันกฎหมายโดยตั้งเป้าเป็นประเทศอันดับหนึ่งในการส่งออกยาจากกัญชาตีมูลค่าประมาณ 4.6 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าการท่องเที่ยวของประเทศไทยถึง 3 เท่า ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเราหลีกเลี่ยงการใช้ยาจากกัญชาไม่ได้ หากต้องนำเข้ามาจะมีราคาแพงมากอย่างน้ำมัน 1 ซีซี หรือ 5 หยด จะมีราคา 1 พันบาท แต่ถ้าอภ.ปลูกและพัฒนาเองจะทำให้ได้ยาจากกัญชาในราครที่ถูกลง อนาคตก็อาจจะต้องปรับปรุงพันธุ์ที่สามารถปลูกได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมเปิด ทั้งนี้องค์การอนาโลกประกาศว่ามีแนวโน้มสูงที่จะนำมารักษาโรคพาร์กินสันและอัลไซเมอร์ได้ 

ขณะที่ ดร.ภญ.นันทกาญจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา อภ. กล่าวว่า แผนการวิจัยและพัฒนาการผลิตยาครบวงจรของอภ 1.วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ได้สารสกัดจากกัญชาให้ได้ภายใน ธ.ค.นี้ 2.ปรับปรุงสายพันธุ์และพัฒนาการปลูก ภายในมี.ค.2562 3.วิจัยและพัฒนายาให้ได้ในพ.ค.2562 โดยต้องรอกฎหมายใหม่ปลดใช้กัญชาทางการแพทย์ก่อน 4.ผลิตยาในระดับอุตสาหกรรมภายในธ.ค.2563 และ 5.ศึกษาความเป็นไปได้ในการปลูกและผลิตยาในระดับอุตสาหกรรม.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"