ดูแลผู้สูงวัยสมองเสื่อม ศาสตร์และศิลป์ที่ฝึกได้  


เพิ่มเพื่อน    


    ตัวเลขผู้สูงวัยที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองนั้น มีเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวกับสังคมสูงวัย ทำให้การเตรียมความพร้อมสำหรับการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม และผู้ดูแลจำเป็นต้องเป็นการดูแลโดยองค์รวมและครอบคลุมทุกมิติ ไม่ได้ดูแลเรื่องความจำและการรู้คิดจากปัญหาสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว การดูแลเรื่องปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ การดูแลสุขภาพโดยรวม การดูแลเรื่องการดำเนินกิจวัตรประจำวัน การดูแลด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ด้านกฎหมายและอื่นๆ เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป การเจ็บป่วยทางกายทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะทางจิตด้วย การดูแลจึงจำเป็นต้องครอบคลุมทั้งสุขภาวะทางกายและทางจิตควบคู่กัน การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในประชาชนผู้สูงอายุ ผู้ป่วยสมองเสื่อมเองและผู้ดูแล จึงมีความสำคัญต่อสุขภาวะทางจิตด้วย
    "รู้จริงและเข้าใจสุขภาพผู้สูงวัยและภาวะสมองเสื่อม" โดย รศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ระบบประสาท และภาวะสมองเสื่อม โรงพยาบาลศิริราชระบุว่า ในปัจจุบันแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีความรู้ เจตคติและทักษะในการดูแลภาวะสมองเสื่อมจำกัด ในขณะที่ปัญหาสมองเสื่อมกำลังเป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามประเทศมากขึ้น จากการที่ประชากรอายุยืนยาวขึ้น ความตระหนักถึงตัวโรคทำให้มีการคัดกรองและส่งเสริมให้มีการเข้าถึงระบบบริการที่มากขึ้น จึงยิ่งทำให้ปริมาณผู้ป่วยมีมากขึ้นทวีคูณ การเตรียมบุคลากรทางการแพทย์สำหรับการรับมือกับปัญหาภาวะสมองเสื่อม การดูแลปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม รวมทั้งปัญหาด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ตลอดจนการดูแลผู้ดูแลผู้ป่วยซึ่งมักมีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง


    การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมจำเป็นต้องดูแลทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลไปพร้อมกัน ทางคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช มีโครงการต่างๆสำหรับช่วยในการดูแลผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย ประชาชนทั่วไปและพัฒนาความรู้ ทักษะของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม ตั้งแต่
    1.โครงการอบรมทางวิชาการและปฏิบัติการ เรื่อง “ภาวะสมองเสื่อม” สำหรับประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม จัดปีละ 4 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง 2.โครงการอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม เต็มวัน ปีละ 1 ครั้ง จัดประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม การดำเนินโรค การดูแลการดำเนินกิจวัตรประจำวัน การรู้คิด ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ และการทำกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ดูแล 3.โครงการจัดงานวันอัลไซเมอร์โลก เป็นกิจกรรมภาคประชาชนเพื่อเพิ่มความตระหนัก ความสนใจให้กับประชาชนทั่วไป รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ จัดในเดือนกันยายนของทุกปี
    4.โครงการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติในคลินิกผู้สูงอายุ ทุกวันอังคาร เวลา 08.30-09.00 น. ก่อนเวลาตรวจในคลินิกผู้สูงอายุ เรื่อง “สมองดีสุขภาพแข็ง” โดยบุคลากรในคลินิก ซึ่งจะจัดขึ้นทุกสัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยสูงอายุและญาติ ในระหว่างรอการเข้าตรวจกับแพทย์ในคลินิกผู้สูงอายุ 5.การตรวจคัดกรองผู้ป่วยในคลินิกผู้สูงอายุทุกคนที่รับใหม่ โดยการตรวจประเมินความจำ อารมณ์ และประเมินผู้ป่วยเดิมที่สงสัยว่าอาจมีปัญหาด้านความจำและอารมณ์
    6.การทำกิจกรรมกระตุ้นการรู้คิด ในคลินิกผู้สูงอายุโดยนักจิตวิทยาคลินิก สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของความจำระยะแรกและผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะต่างๆ 7.การให้คำแนะนำการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมรายบุคคลที่มีปัญหาเฉพาะ โดยพยาบาลและการใช้สื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการกระตุ้นการรู้คิด 8.การให้บริการคำปรึกษาโดยพยาบาลทางโทรศัพท์ เวลาราชการ 9.การให้คำปรึกษาเรื่องการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล นักโภชนาการในคลินิก และเภสัชกร เช่น เรื่องการดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสาย การดูแลแผลกดทับ การดูแลผู้ป่วยที่นอนนิ่งอยู่กับที่ การเลือกและการใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหว การใช้ยา เป็นต้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"