แนะวัยเก๋าใส่ใจดูแลสุขภาพ ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ


เพิ่มเพื่อน    

(ธัญพืชอย่างข้าวโอ๊ตมีไฟเบอร์ที่ละลายได้ดีในน้ำซึ่งชื่อว่า “เบตากลูแคน” ที่จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย จึงถือเป็นอาหารที่ดีต่อหัวใจ และป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในคนอายุ 55 ปีขึ้นไปที่ขาดฮอร์โมนเพศหญิง)

      จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า กลุ่ม โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจ กลายเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก โดยปี พ.ศ.2558 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดประมาณ 17.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 31 ของอัตราการตายทั่วโลก ขณะที่ในประเทศไทยเอง สถิติผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2559 มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดถึง 32.3 คนต่อประชากร 1 แสนคน อันมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาทิ การมีภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การไม่ออกกำลังกาย การไม่บริโภคผักและผลไม้ การสูบบุหรี่ รวมไปถึงภาวะความเครียด จริงอยู่ที่โรคนี้สามารถเกิดได้ตั้งแต่วัย 20 ปี แต่ในวัยผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะการขาดฮอร์โมนเพศหญิงที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ ก็ถือว่าพบโรคดังกล่าวได้สูงเช่นกัน

      นายเคิร์ต พรีชอว์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจอาหาร บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด ในเครือเป๊ปซี่โค เจ้าของแบรนด์ เควกเกอร์ (Quaker) ผลิตภัณฑ์ข้าวโอ๊ต จัดงาน PepsiCo: Happy Healthy Heart #ดีต่อใจคนไทยแข็งแรง ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องหัวใจ และส่งเสริมให้คนไทยหันมาใส่ใจกับการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้ห่างไกลจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

(พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์)

      พญ.ปิยะนุช รักพาณิชย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหัวใจ บอกว่า สาเหตุของโรคหัวใจที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน อย่างที่ทราบกันดีว่าหัวใจถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ เนื่องจากคอยทำหน้าที่สูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงระบบต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย โดยนำออกซิเจนจากปอดไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ และนำคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งหัวใจจะทำหน้าที่เช่นนี้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีหยุดพักแม้ยามหลับ แต่หากเส้นเลือดในหัวใจเกิดภาวะตีบตันอันเนื่องจากมีคราบตะกรันสีเหลืองเกาะติดอยู่ที่หลอดเลือดหัวใจ ที่มาจากคอเลสเตอรอล ซึ่งได้มาจากการอาหารที่เรารับประทาน และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกาย เสี่ยงต่อภาวะน้ำหนักเกิน ตรงนี้จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะอักเสบ อีกทั้งทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ไม่ดี ทำให้เกิดภาวะอาการตั้งแต่วูบ หมดสติ ที่เรียกกันว่า โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นั่นเอง ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง ซึ่งทำให้หลอดเลือดหัวใจถูกทำลายลง หรือทำงานได้ไม่ดีเช่นกัน

      แม้ว่าโรคหลอดเลือดหัวใจจะเกิดได้ในคนไข้อายุ 20 ปีขึ้นไป หากไม่ดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ นั้น แต่ในกลุ่มของผู้สูงวัยก็พบมากเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะที่ร่างกายเสื่อมลง ซึ่งก่อนหน้านี้จะพบว่าผู้สูงอายุเพศชายจะป่วยโรคนี้ได้ง่ายกว่าผู้หญิง แต่เนื่องผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเพศที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่เมื่อหลังจากอายุมากกว่า 55 ปี ก็จะพบอัตราการป่วยสูงเท่ากัน สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่อันตรายมาก เพราะเลือดจะไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ไม่ได้ อีกทั้งหากหลอดเลือดหัวใจตันขึ้นมาทันที 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จะไปไม่ถึง รพ. เนื่องจากเกิดอาการวูบ หมดสติ สำหรับสัญญาณของโรคดังกล่าวนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก, เหนื่อย, เวียนศีรษะ เลือดไปเลี้ยงไม่พอ หรืออะไรก็ตามที่รู้สึกอึดอัดกลางลำตัวขึ้นไป หรือเจ็บหน้าอกแล้วลงแขน ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทั้งสิ้น ที่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

(คนหลัก 5 ที่มีอาการเจ็บหน้าอก, เหนื่อย, เวียนศีรษะ เลือดไปเลี้ยงไม่พอ หรือรู้สึกอึดอัดกลางลำตัวขึ้นไป หรือเจ็บหน้าอกแล้วลงแขน อาการเหล่านี้เป็นภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบที่ต้องไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด และควรป้องกันตัวเองเนิ่นๆ ด้วยหลัก 3 อ.)

      ดังนั้น การเฝ้าระวังป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นสามารถป้องกันได้ด้วยหลัก 3 อ. อันได้แก่ 1.อาหาร โดยควรรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ ลดความหวาน มัน เค็มลง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว หรือไขมันทรานส์ และเพิ่มการรับประทานผักและผลไม้อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงธัญพืช อาทิ ถั่ว หรือข้าวโอ๊ต ที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย 2.ออกกำลังกาย ครั้งละ 25-30 นาที อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและสร้างภูมิคุ้มกันโรค และ 3.อารมณ์ ด้วยการทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก ดนตรีบำบัด การทำสมาธิ หรือแม้แต่การหัวเราะ ซึ่งช่วยลดฮอร์โมนความเครียด ลดภาวะการอักเสบในหลอดเลือด ทั้งยังทำให้จิตใจผ่องใส เบิกบาน และมีอายุยืนยาว

(ดร.กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ)

      ด้าน ดร.กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และผู้จัดการฝ่ายวิจัยและโภชนาการประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท เป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด กล่าวว่า สำหรับการรับประทานข้าวโอ๊ตซึ่งเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากเป็นธัญพืชชนิดไม่ขัดสีที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน วิตามินบี 1 ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม สังกะสี และเหล็ก ซึ่งมีปริมาณมากกว่าเมื่อเทียบกับธัญพืชชนิดอื่นๆ อย่างข้าวกล้อง ข้าวสาลี หรือข้าวขาว ข้าวโอ๊ตยังมีส่วนประกอบของไฟเบอร์หรือใยอาหาร เมื่อรับประทานแล้วจะอยู่ท้อง อิ่มนาน และมีส่วนช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือ ข้าวโอ๊ตเป็นแหล่งของไฟเบอร์ประเภทละลายน้ำได้ ที่ชื่อว่าเบตากลูแคน ซึ่งช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย อันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นหากผู้สูงอายุและคนทั่วไปรับประทานข้าวโอ๊ตทุกวัน วันละ 1-2 มื้อ อย่างน้อย 6-12 สัปดาห์ต่อเนื่อง ก็จะช่วยทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"