สูบบุหรี่ควบเหล้า เสี่ยงมะเร็งช่องปากสูง 15 % 


เพิ่มเพื่อน    

 

11 ต.ค.61-ที่กรมอนามัย พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า โรคมะเร็งยังคงเป็นโรคที่มีความอันตรายอัตราการเสียชีวิตสูง ซึ่งมะเร็งช่องปากจะอยู่ในอันดับที่ 6 ที่พบในโรคมะเร็งรายใหม่ กว่าร้อยละ 95 เป็นมะเร็งช่องปากชนิดรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 90 ทั้งนี้ พบว่าการสูบบุหรี่ร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคดังกล่าวสูงกว่าคนทั่วไปถึง 15 เท่า ดังนั้นทางกรมอนามัยจึงได้มีการเพิ่มมาตรการให้คลินิกทันตกรรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนซึ่งเป็นด่านแรกที่ได้มีการตรวจรักษาช่องปากของผู้ป่วยได้ช่วยคัดกรอง และหากพบว่าผู้ที่มารับบริการทันตกรรมมีการสูบบุหรี่ก็จะมีการสอบถามและสนับสนุนให้ผู้ป่วยลิกบุหรี่ตามกระบวนการต่อไปคือส่งต่อไปยังคลินิกเลิกบุหรี่ 
ด้าน ศ.ทพ.อะนัฆ เอี่ยมอรุณ อาจารย์ประจำคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ปรึกษาโครงการคัดกรองรอยโรคก่อนมะเร็งช่องปากของโครงการทันตแพทย์ไทยต้านภัยยาสูบ กล่าวว่า โรคมะเร็งช่องปากพบได้ทุกตำแหน่ง มากสุดคือลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม เป็นต้น อันดับหนึ่งคือ บุหรี่ รองลงมาคือเหล้า การเคี้ยวหมาก การติดเชื้อเอชพีวี และการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีสารบางอย่างที่กินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งได้ เช่น เบค่อน ไส้กรอก เป็นต้น และนอกจากนี้ยังพบว่าการไม่กินผักผลไม้เลย ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง ซึ่งการกิน ผลักไม้เป็นประจำจะสามารถลดความเสี่ยงได้ถึง 50 % ส่วนใหญ่พบมากในคนอายุ 40 ปี ขึ้นไป อดีตผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง แต่ปัจจุบันอัตราการเกิดโรคใกล้เคียงกันเพราะพบว่าผู้หญิงมีการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปมากแล้ว รักษาให้หายขาดน้อยมาก แต่เราอยากให้ผู้ป่วยมารักษาเร็วๆ ตั้งแต่ที่ยังพบเพียงรอยโรค ซึ่งจะทำให้มีโอกาสหายขาด และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้อีกมาก


ศ.ทพ.อะนัฆ กล่าวต่อว่า สำหรับการรักษาจะใช้การผ่าตัด ร่วมกับการฉายแสง ให้เคมีบำบัด แต่เคมีบำบัดไม่ได้อยู่ในสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และมีราคาแพง ทั้งนี้การรักษาเป็นไปตามระยะของการเกิดโรค หากเป็นระยะที่ 1 รอยโรคน้อยกว่า 2 เซนติมตร โอกาสหายร้อยละ 80-90 ระยะที่ 2 โรคมีขนาด 4 เซนติเมตร แต่ยังไม่แพร่กระจาย โอกาสหายร้อยละ 50-60 ส่วนระยะที่ 3 กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองและคอ โอกาสหายร้อยละ 30-40 ส่วนระยะที่ 4 ระยะลุกลามดอกาสหายเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น  ดังนั้นขอให้ประชาชนหมั่นดูแลตัวเอง และสังเกตตัวเอง อย่างไรก็ตามประชาชนเองสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง หลักคือ เป็นฝ้าขาวที่ลิ้นขูดไม่ออก  ปื้นสีแดงเพลิงไม่เจ็บ เป็นแผลเรื้อรังไม่หายใน 2 สัปดาห์ ให้รีบมาพบทันตแพทย์ ส่วนคนทั่วไปก็ขอให้มาพบทันตแพทย์สม่ำทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี .


“นอกจากนี้ยังมีสัญญานเตือนอื่นๆ ของมะเร็งช่องปากในระยะแรก เช่น มีอาการเจ็บคอเรื้อรัง เสียงแหบ กลืนลำบาก มีอาการชาที่ลิ้น ฟันปลอมที่เคยใส่ใช้ไม่ได้ หรือไม่พอดีเหมือนเดิมหากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์เพื่อรับการตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทันที”ศ.ทพ.อะนัฆ กล่าว.


ผู้สื่อข่าวถามว่า ในการกินผักผลไม้แม้ว่าจะสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งช่องปากลงได้ แต่ทั้งนี้ในปัจจุบันผักผลไม้ก็มีการปนเปื้อนของสารเคมี ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดมะเร้งช่องปากได้หรือไม่ ศ.ทพ.อะนัฆ กล่าวว่า ยอมรับว่าผลผลไม้ในปัจจุบันมีการปนเปื้อนของสารเคมีซึ่งหากรับประทานจะส่งผลต่อร่างกายโดยรวม แต่อันตรายในช่องปากโดยตรงนั้นยังไม่พบ แต่ทั้งนี้ก็ควรกิน ผักไม้ที่ปลอดสารพิษ โดยอาจจะปลูกกินเอง หรือซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่ปลอดสารพิษ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"