ยิ่งสูงวัย....ยิ่งต้องระมัดระวังโรคงูสวัด


เพิ่มเพื่อน    

    โรคงูสวัด เมื่อเป็นแล้วจะมีความเจ็บปวดทรมานและมีโอกาสเป็นโรคแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ การป้องกันไว้ก่อนด้วยการฉีดวัคซีนจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากภูมิต้านทานต่างๆ ในร่างกายลดลงตามอายุ พญ.ธนีศา ภานุมาตรัศมี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ครอบครัว ความงามและการชะลอวัย รพ.พญาไท 1 จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดแก่ผู้สูงวัย
    คุณหมอธนีศาอธิบายว่า งูสวัดเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้หากได้รับการรักษาทันท่วงที ยิ่งพบแพทย์ไว ก็จะยิ่งลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เช่นกัน
    งูสวัด (Shingles) คือโรคติดเชื้อไวรัส มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดเดียวกับเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) โรคอีสุกอีใสสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่งูสวัดนั้นจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น โดยเมื่อเชื้อดังกล่าวจู่โจมร่างกายจนเป็นโรคอีสุกอีใสแล้วก็จะไปหลบตามปมประสาท และกลายเป็นงูสวัดในภายหลังเมื่อร่างกายอ่อนแอ
    คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ก็คือทุกคนที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน แต่ความเสี่ยงนั้นจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรือเป็นผู้ที่มีปัญหาทางด้านระบบภูมิคุ้มกัน หรือผู้ที่ใช้การรักษาด้วยยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ผู้ที่อยู่ในช่วงการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสีวิทยาหรือเคมีบำบัด เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะมีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอกว่าคนปกติจึงทำให้เสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป


    สำหรับแนวทางการรักษาโรคงูสวัดนั้น พญ.ธนีศาชี้แจงว่า การรักษาจะรักษาตามอาการร่วมกับใช้ยาต้านไวรัสเพื่อเร่งกระบวนการการหายของโรคและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ความร้ายกาจของโรคนั้นอยู่ที่ภาวะแทรกซ้อนนั่นเอง ซึ่งภาวะแทรกซ้อนมักจะเกิดในผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียการมองเห็นอันเนื่องจากเกิดแผลในกระจกตา การติดเชื้อที่ผิวหนัง อาการปวดที่ปลายประสาท หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทและเส้นประสาท เช่น รัมเซย์ ฮันต์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือไข้สมองอักเสบ ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้อันตรายถึงชีวิต แต่ก็เกิดขึ้นได้น้อย ทั้งนี้ การได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ และเนื่องจากการรักษาโรคงูสวัดไม่สามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ 100% การป้องกันโรคจึงเป็นทางเลือกที่แพทย์แนะนำ นั่นคือเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ซึ่งมีให้บริการแล้วในประเทศไทย และฉีดเพียงแค่เข็มเดียวเท่านั้น
    สำหรับอายุที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีนคือ 60 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือมีโรคอื่นๆ ที่ทำให้ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง ผู้ป่วยอาจเข้ารับการฉีดวัคซีนก่อนอายุ 60 ปีก็ได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตาม คุณหมอเปิดเผยว่า     
    “การฉีดวัคซีนป้องกันโรคงูสวัดนั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ไม่เป็นโรคเลย แต่เป็นการช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคได้กว่าครึ่งและลดความรุนแรงของโรคลงได้”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"