"ชมรมผู้สูงอายุ"ตัวช่วย วัยเก๋าชายแดนใต้เสียลูกหลาน


เพิ่มเพื่อน    


    นับเป็นบาดแผลทางใจสำหรับผู้สูงวัยชาว จ.ยะลา ที่ลูกสาวคนเดียวต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดในตลาดสดจากกลุ่มผู้ไม่หวังดี จนทำให้ผู้ที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่บาดเจ็บกว่า 20 ราย และมีผู้เสียชีวิต 3 ราย ประกอบกับผู้สูงวัยรายดังกล่าวป่วยเป็นโรคหัวใจหลังได้รับการผ่าตัด ทำให้ใช้ชีวิตได้ไม่เหมือนเดิม ซ้ำร้ายยังต้องเสียลูกสาวซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวไป 
    สิ่งที่เกิดขึ้นล้วนสร้างความทุกข์ทรมานใจให้กับคุณป้าเคราะห์ร้าย ถึงขั้นออกปากจะอยู่ต่อไปอย่างไรเพียงลำพัง เพราะเอาอะไรมาแลกก็ไม่คุ้มกับความสูญเสียดังกล่าว สิ่งที่ละเลยไม่ได้คือการดูแลผู้สูงวัยกลุ่มนี้ ทั้งสุขภาพและจิตใจที่ต้องเร่งฟื้นฟูให้แข็งแรง เพื่อให้ท่านสามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ต่อไปได้ แม้การยุติปัญหาต้องแก้ที่ความปรองดองกันทุกฝ่ายก็ตาม

(นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์)
    นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ให้คำแนะนำว่า “การที่คุณป้าสูญเสียลูกหรือเสียบุคคลที่รักไป ถ้าปล่อยให้ท่านว่าง อาการคิดมากจะเกิดขึ้น ตรงนี้เราต้องทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ท่านแข็งแรงขึ้น โดยหากิจกรรมทำ อาจเป็นกิจกรรมใน “ชมรมผู้สูงอายุ” หรือหากท่านใดอยู่ใกล้ “ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิต” ในพื้นที่ภาคใต้ ก็สามารถเข้าไปร่วมได้ คือ เน้นให้ทำกิจกรรมเพื่อสร้างความเพลิดเพลินและการมีสังคม ที่สำคัญคุณป้าเองหรือผู้สูงวัยในพื้นที่ภาคใต้หลายท่านที่อาจประสบเรื่องราวคล้ายคุณป้า ก็ไม่ควรปล่อยตัวเองให้อยู่ลำพัง โดยเฉพาะการเปิดใจเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุที่มีกิจกรรมหลากหลายให้ได้หัวเราะ ได้พูดคุยกับคนวัยเดียวกัน ได้ผลัดกันเล่าเรื่องคนนู้นคนนี้ให้กันและกันฟัง 


    นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมศิลปะบำบัด หรือแม้แต่การฝึกอาชีพให้ผู้สูงวัย สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบำบัดสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่ต้องรับมือกับการสูญเสีย เพราะไม่เช่นนั้น ปัญหาที่ตามมานอกจากการคิดมากแล้ว ยังมีโอกาสป่วย “โรคซึมเศร้า” ที่สำคัญการอยู่คนเดียวกันอาจทำให้ “สมองเสื่อม” เร็วขึ้น อันเนื่องมาจากการไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น สมองก็จะหยุดการพัฒนา 
    ในส่วนของผู้ที่มาเยี่ยม ไม่ควรปลอบใจผู้สูงวัย เพราะนั่นจะเป็นการย้ำให้คนสูงอายุที่ต้องเสียลูกหลานไปหวนคิดถึงอดีตมากขึ้น ให้เน้นพูดคุย เล่าเรื่องสนุกสนาน เป็นต้นว่า “ฉันไปเที่ยวที่นี่มา มีอะไรสวยงามมาก วันหลังเราไปดูด้วยกันนะ” ที่สำคัญไม่ควรพูดในทำนองว่า “ลูกฉันพาไปเที่ยวที่ไหนมา” เพราะนั่นจะยิ่งทำให้คนสูงวัยที่ต้องอยู่โดดเดี่ยวคิดมากขึ้นไปอีก หรือถ้าจะให้ดี แนะนำว่าเพื่อนหรือคนสนิทที่มาเยี่ยมเยียนควรจะพูดเชิญชวนให้ผู้สูงอายุออกไปกิจกรรมที่มีประโยชน์ สนุกสนาน เฮฮา จะดีที่สุด เพราะนั่นจะทำให้ท่านมีความสุขและไม่เหงา  
    เพื่อเป็นการเยียวยาจิตใจโดยอาศัยเพื่อนบ้านที่อยู่ละแวกใกล้เคียง นอกจากจิตอาสา “เพื่อนเยี่ยมเพื่อน” ซึ่งเป็นโครงการของภาครัฐแล้ว หากผู้สูงอายุมีเพื่อนบ้าน 4-5 หลัง ที่ปลูกอยู่ข้างเคียงกัน สามารถสลับกันมาเยี่ยมเช้าและเย็น หรือทำอาหารแลกเปลี่ยนกันรับประทาน และหากนับถือศาสนาพุทธก็ให้ชวนกันไปทำบุญที่วัด หรือชวนไปร่วมงานทำบุญในหมู่บ้าน ตรงนี้ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถือเป็นการหมุนเวียนดูแลกันและกันจากบุคคลที่คุ้นเคย ก็จะทำให้ความเศร้าทุเลาเบาบางลง”. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"