สภาเภสัช จี้"อย."ตัดม.24(3)ร่างพ.ร.บ.ยา ชี้เปิดทาง"ทุนใหญ่"ขายยาได้


เพิ่มเพื่อน    

(16 ต.ค.) ที่ ชั้น 6 อาคาร 7 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ดร.ภก.นิลสุวรรณ ลีลารัศมี นายกสภาการเภสัชกรรม แถลงข่าวเกี่ยวกับ ร่าง  พ.ร.บ. ยา พ.ศ.... ฉบับเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ว่า จุดยืนของการแก้ไข พ.ร.บ. ยา พ.ศ.2510 ที่ใช้มานาน เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขมาตราต่างๆ ที่ยังไม่มีความสมบูรณ์ในการดูแลสุขภาพประชาชน ไม่ใช่การร่างใหม่ เพื่อให้เข้ากับบริบทปัจจุบัน ซึ่งในปี 2510 เราขาดทั้งความรู้และจำนวนคนมีการอนุโลมให้ 3 วิชาชีพสามารถจ่ายยาได้  แต่ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวมีน้อย ทางเภสัชกรแสดงจุดยืนคือ ต้องการให้มีประเภทยาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ยาที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร และ ยาสามัญประจำบ้าน ปรากฏว่าตามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ยกร่างพ.ร.บ.ยาพ.ศ....ให้รมว.สาธารณสุขเสนอ ไปยังค.ร.ม.ไม่ได้เขียนตามนี้ ซึ่งเห็นว่ามีการเขียนตามที่เสนอๆไป แต่มียาอีกกลุ่มขึ้นมา คือยาที่หมอไม่ได้สั่งจ่าย หรือเภสัชไม่ได้เป็นผู้สั่ง ของเดิมเขียนไว้ว่า ยาบรรจุเสร็จ ซึ่งหายไปจาก พ.ร.บ.นี้ แต่ไปปรากฏในบทเฉพาะการที่มีคำใหม่ขึ้นมา ซึ่งตีความว่าน่าจะเป็นยาบรรจุเสร็จ แต่ก็แปลกใจว่าทำไมไม่ใช้ จึงตั้งข้อสงสัย และไปดูที่ มาตรา 24 (3) ระบุว่าการขายปลีกยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาที่จ่ายโดยเภสัชกร หรือยาตามใบสั่งยา ผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการจะเป็นผู้ประกอบวิชาชีพต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัช เวชกรรม ทันตกรรม และการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และเขียนต่อไปว่าผู้ผ่านการอบรมโดย อย. ซึ่งไม่เข้าใจว่าคือใคร แสดงว่า อย.จะเปิดให้มีการเปิดกลุ่มนี้เพื่อมาขายยา

ดร.ภก.นิลสุวรรณ กล่าวว่า  จึงสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้อยู่ในข้อตกลงทีหารือร่วมกัน  คล้ายๆว่าจะมีการเปิดร้ายยาให้บุคคลที่3 ซึ่งสอดคล้องกับการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีนายทุนใหญ่เข้ามาเปิดร้านขายสะดวกซื้อโดยไม่ต้องมีเภสัชกรดูแล แล้วหลักการอบรมประกันได้หรือไม่ว่าประชาชนจะได้รับการดูแลความปลอดภัย เป็นการถอยหลังลงคลอง มาบอกว่าไทยแลนด์ 4.0 แบบนี้จะมองหน้าใครได้ เฉพาะการเก็บรักษายาก็เป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้ดี ที่ร้านขายยาจะมีตู้กระจกควบคุมอุณหภูมิ แต่ถ้าขายตาร้านสะดวกซื้อเก็บได้มาตรฐานหรือไม่ก็ไม่ทราบ ซึงถ้าเก็บไม่ดี ยาจะหมดอายำไวกว่าที่ระบุในฉลาก แล้วคนขายในร้านสะดวกซื้อรู้หรือไม่ว่ายาหมดอายุแล้ว ถ้าเป็นเภสัชขายยาหมดอายุเราเอาผิดได้ แต่กับร้านสะดวกซื้อเราเอาผิดไม่ได้

 “ เกิดข้อสงสัยว่า จะเกิดขึ้นคล้ายๆ ขย.2แบบเดิม แต่ไม่ได้บอกวันหมดอายุ ในขณะที่ของเก่าจะหมดอายุไปตามขั้นตอนของมาตรา 228 แปลว่า อย.กำลังสร้างบุคคลใหม่ขึ้นมาเพื่อเปิดร้านขายยา จึงเกิดข้อสงสัยว่าทำไมจึงต้องเกิดร้านขายยาประเภทนี้ เพราะไม่ได้มีการตกลงกันก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็กลับมาที่จุดยืนของการแก้ พ.ร.บ.ยาที่บอกว่าผ่านมา 50 ปี เราอยากทันสมัยเพื่อให้ปลอดภัยกับประชาชน ดังนั้นเมื่อเกิดร้านยาเช่นนี้ขึ้นมา ถามว่ามันทันสมัย คำตอบคือไม่มีมาตรการชัดเจน ซึ่งเมื่ออ่านพบว่า การที่มีการเติมว่าผู้ที่ผ่านการอบรมโดย อย.สามารถขายยาได้  การอบรมหลักการอบรมจะสามารถรับประกันได้หรือไม่ว่าประชาชนจะได้รับการดูแลเรื่องยาอย่างปลอดภัย กลายเป็นว่าใครก็ได้ อบรมได้ เปิดร้านขายยาได้ ซึ่งเห็นว่าไม่ถูกต้องคนที่เข้ามาอบรมเป็นใครก็ไม่รู้ ไม่ใช่แพทย์ ไม่ใช่เภสัชกร จึงได้เขียนคัดค้านประท้วงไป” ดร.ภก.นิลสุวรรณ กล่าว.

ดังนั้นวันนี้จึงได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการอย. เพื่อขอให้ตัดมาตรา 24 (3) ออกทั้งหมด หรือ ไม่อย่างนั้นก็ตัดตั้งแต่คำว่า “หรือผู้ผ่านการอบรมโดยอย.” ออกไป นอกจากนี้ขอเรียกร้องให้แก้ไขตัดมาตรา 117 ที่เปิดกว้าง และซ้ำซ้อนให้แพทย์ที่มีคลินิกสามารถจ่ายยาอันตรายได้ ออกไปด้วย และจะทำหนังสือถึงเลขาธิการครม.เพื่อคัดค้านและถอดถอนเรื่องนี้ออกไปจนกว่าจะมีการแก้ไข แต่หากสุดท้ายผ่านครม.ไปทั้งอย่างนั้นเราก็จะตามไปคัดค้านที่สำนักงานกฤษฎีกาด้วย อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้รมว.สาธารณสุข และเลขาธิการอย.ออกมาชี้แจงเรื่องนี้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"