อภ.-นักวิชาการ -นักกม.ชี้มี 5ทางเลือกปลดล็อกกัญชาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์


เพิ่มเพื่อน    

18 ต.ค.61- ที่อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  องค์การเภสัชกรรม และคณะนิติศาสตร์ จัดการสัมมนาและระดมสมอง เรื่อง “กัญชาทางการแพทย์ (Medical Cannabis) กับกฎหมาย:จากยาเสพติด สู่ ยารักษาโรค” โดย นพโสภณ เมฆธน โดย นพ.โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ประธานองค์การเภสัชกรรม(อภ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “กัญชาทางการแพทย์ กับกฎหมาย” ว่า เป็นที่ทราบแล้วว่า สารสกัดจากกัญชามีประโยชน์ทางการแพทย์หลายประเทศทั่วโลกได้นำมาใช้ในการรักษาชีวิตผู้ป่วย ซึ่งในการนำมาใช้กฎหมายเป็นเรื่องซึ่งประเทศไทยยังติดเรื่องกฎหมาย แม้จะผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) และเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2561 ได้นำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งได้กำหนดกรอบว่าผ่านขั้นตอนต่างๆก็ราว 180 วัน คือ จะสามารถนำสารสกัดกัญชามาใช้ได้ประมาณเดือนพฤษภาคม 2562 แต่ปรากฏว่าที่ผ่านมาสมาชิก สนช.ก็มีความกังวลว่าจะไม่ทันกรอบเวลาที่วางไว้

นพ.โสภณ กล่าวว่า สมาชิก สนช. จึงรวมกันเสนอร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ต่อที่ประชุมสนช. เพื่อแก้ไขให้ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 คือ กัญชาและพืชกระท่อม สามารถนำไปศึกษาวิจัยเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และสามารถนำไปใช้ในการรักษาภายใต้การดูแลและควบคุมของแพทย์ได้ โดยได้นำเสนอร่างแก้ไขให้กับทางเลขาธิการวุฒิสภา ปฎิบัติหน้าที่เลขาธิการสนช. เพื่อนำร่างกฎหมายรับฟังความเห็นผ่านทางเว็ปไซต์ของสนช. ใช้เวลา 15 วัน และจะเปิดเวทีเพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชน ซึ่งกรณีน่าจะจัดขึ้นภายในเดือนตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตาม จากผลรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ประมาณ 1 แสนคน พบว่าร้อยละ 98.9 เห็นด้วยให้นำสารสกัดกัญชามาใช้ทางการแพทย์

“สรุปคือ ทางออกของกัญชาใช้ทางการแพทย์ได้ ขณะนี้มี 5 ทางเลือก 1.รอกระบวนการของประมวลกฎหมายยาเสพติด แต่กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าจะประกาศทันหรือไม่ 2.กรณีของ สนช.ที่รวมกันเสนอร่างกฎหมาย และในเดือนนี้น่าจะมีสัมมนาใหญ่ในการรับฟังความคิดเห็น 3.เสนอให้ใช้มาตรา 44 ปลดล็อกกัญชา ซึ่งไม่แน่ใจ เพราะข่าวล่าสุดพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ว่าจะ เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา ภายในวันศุกร์นี้ (19 ต.ค.) ส่วนจะออกมาเป็นรูปแบบไหน จะออกมาตรา 44 หรือไม่ก็ต้องรอกัน” นพ.โสภณ กล่าว

นพ.โสภณ กล่าวอีกว่า 4.เป็นแนวทางที่คณะกรรมการควบคุมยาเสพติดมีการพูดคุยกันว่า ในคณะกรรมการควบคุมยาเสพติสามารถใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามเปลี่ยนแปลงกัญชา จากสารเสพติดประเภทที่ 5 เป็นประเภท 2 ได้หรือไม่ และแนวทางที่ 5 ออกกฎหมายใหม่เฉพาะขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลา ซึ่งการนำสารสกัดจากกัญชามาใช้เพื่อทางการแพทย์เท่านั้น ไม่มีการนำมาใช้เพื่อผ่อนคลาย หรือเพื่อความบันเทิง ส่วนในเรื่องข้อกังวลนั้น หากใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี อาจมีผลต่อสมอง หรือสุขภาพจิต จึงต้องระมัดระวังการใช้ และหากใช้อาจมีอาการเบลอ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนั้นจึงไม่ควรขับรถเมื่อใช้แล้วต้องพักผ่อน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าเร็วที่สุดจะเป็นแนวทางใด นพ.โสภณ กล่าวว่า ต้องพิจารณาหลายอย่าง อย่างใช้มาตรา 44 ก็ต้องมีกฎหมายลูกออกมาอีก น่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน แต่หากเป็นคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)จะประชุมได้ในเดือนพฤศจิกายน และถ้าท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนาม ก็น่าจะใช้เวลาผ่านขั้นตอนต่างๆประมาณ 1 เดือน ซึ่งในเดือนมกราคม 2562 ก็น่าจะประกาศใช้ทางการแพทย์ได้เลย ซึ่งไม่ว่าอย่างไรทางองค์การเภสัชกรรมต้องมีความในการเตรียมสารสกัดที่สามารถใช้ได้เลยในวันที่ 1 ม.ค. 2562 ซึ่งได้เร่งรัดทางผู้อำนวยการอภ.ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพราะมีกัญชาที่ได้รับมอบเป็นของกลาง จำนวน 100 กิโลกรัม) ซึ่งผลิตเป็นสารสกัดและน้ำมันกัญชาได้ประมาณ 18,000 ขวด หากไม่พอจะขอของกลางเพิ่มอีก 2 ตันในการผลิต

นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์  ผู้อำนวยการ อภ. กล่าวว่า  ขณะนี้ อภ.นำวัตถุดิบกัญชามาจากของกลาง ซึ่งในอนาคตเราต้องปลูกเอง และให้ได้พันธุ์ที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ได้สารสกัดคงที่ อย่างไรก็ตาม  สำหรับ100 กิโลกรัมที่เป็นของกลาง และหากได้สารสกัดที่ครบถ้วนก็น่าจะผลิตออกเป็นน้ำมันกัญชาได้18,000 ขวดตามกำหนดคือประมาณมกราคม 2562  
รศ.วิเชียร กีรตินิจกาล อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า กัญชามีสารสกัด 2 ชนิด คือ ทีเอชซี (THC) ซึ่งเป็นสารที่กล่อมประสาท และซีบีดี (CBD) ซึ่งการสกัดสารออกมายังขาดสารซีบีดี เนื่องจากพันธุ์ไทยมีสารทีเอชซีสูง แต่การนำมารักษาโรคจะต้องมีสารทั้ง 2 ชนิดควบคู่กัน ขณะนี้กำลังประสานและติดต่อนำเข้าจากต่างประเทศ จากนั้นก็จะนำมาพัฒนาในไทยเพื่อให้ได้สาระสำคัญทั้ง 2 ชนิดต่อไป

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาฯ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ป่วยรอความหวังเยอะมาก อย่างอัลไซเมอร์ที่แสดงอาการก็ประมาณ 2 แสนคน ลมชัก 1-2 แสนคน พาร์กินสัก 1.5 แสนคน และยังมีผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มีผลข้างเคียง มีอาการปวดอย่างทรมาน การจะปลดล็อกกัญชา ต้องเน้นว่า ทำเพื่อผู้ป่วยเป็นหลัก ดังนั้น ต้องมีราคาถูก และที่สำคัญต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะอย่างอังกฤษปลดล็อกใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์เท่านั้น จึงต้องถามกลับรัฐบาลว่า คิดอย่างไร คิดแค่ตัวหนังสือ หรือคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพราะหากเราไม่เปิดให้ใช้ทางการแพทย์ ทุกวันนี้ก็มีการใช้ใต้ดินที่มีความเสี่ยงมาก ทั้งเรื่องการลักลอบใช้กัญชาที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง มีความเสี่ยงเยอะ จึงควรมีการควบคุมและนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้เสียที และหากรัฐบาลไม่เห็นแก่ประชาชนก็ไม่น่าจะมาเป็นรัฐบาล หรือนักการเมืองถ้าไม่เห็นแก่ประชาชนก็ไม่ควรเข้ามาเป็นรัฐบาล 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"