"ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ" โรคภัยที่ผู้สูงวัยต้องใส่ใจ


เพิ่มเพื่อน    

    โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเป็นกรดในปัสสาวะและภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงมีแหล่งสะสมเชื้อโรคเพิ่มในร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการปัสสาวะเล็ด 
    นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุต้องใส่ใจโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพอนามัยของจุดซ่อนเร้น ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
    ทั้งนี้ เมื่อระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้เกิดการอักเสบ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ติดเชื้อส่วนบนของระบบทางเดินปัสสาวะจะมีผลต่อไตและท่อไต 2.ติดเชื้อส่วนล่างของระบบทางเดินปัสสาวะจะมีผลต่อกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โดยมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อที่กรวยไตจะมีไข้ ปวดหลังร่วมด้วย  


    ส่วนสาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุลดลง เช่น  ผู้ชายจะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อลดลง ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเชื้อแลคโตบาซิลลัสบริเวณช่องคลอดน้อย ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี รวมถึงผู้สูงอายุที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะเพื่อรักษาอาการปัสสาวะไม่ออก กลั้นปัสสาวะไม่ได้ หรือใส่ในช่วงผ่าตัด อาจเสี่ยงทำให้เชื้อโรคเข้าไปในทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมองทำให้ประสาทในการควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ทำให้ปัสสาวะค้าง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และโรคอื่นๆ เช่น  เกาต์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง เป็นต้น
    นพ.สกานต์ บุนนาค รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุเมื่อมีอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษา โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะ หรือยารักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และควรดื่มน้ำให้มาก อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อขับเชื้อออกจากปัสสาวะ ซึ่งโดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นภายใน 5-7 วัน  
    ผู้สูงอายุควรดูแลตัวเองไม่ให้ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ดังนี้ 1.ดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร เพื่อทำให้ปัสสาวะเจือจาง และล้างเชื้อโรคออกจากกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้แบคทีเรียลดลง 2.ดูแลสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาด 3.สวมเสื้อผ้า กางเกงที่โปร่งสบายเพื่อป้องกันการอับชื้น 4.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน แอลกอฮอล์ ชา น้ำอัดลม 5.ไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเพื่อป้องกันท้องผูกเพราะมีผลต่อการทำงานของลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ อีกทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงให้ความสำคัญกับการดูแลสุขอนามัย ซึ่งจะช่วยป้องกันและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"