รักตัวเองเท่าฟ้า


เพิ่มเพื่อน    

    การบินไทย สายการบินแห่งชาติ ซึ่งได้สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนไทยและเจ้าหน้าที่ บมจ.การบินไทยมานานหลายปี แต่สุดท้ายก็ไปไม่รอด เพราะต้องประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมาติดต่อกันมาหลายปี นับตั้งแต่มีสายการบินโลว์คอสต์ได้เข้ามามีบทบาทในธุรกิจการบิน ด้วยกลยุทธ์ด้านราคาถูก ทำให้สามารถก้าวเข้าสู่ตลาดการบินไทยง่าย จนส่งผลกระทบกับหลายๆ สายการบินในโลก แม้กระทั่งสายการบินไทยก็เช่นกัน รวมไปถึงต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
    ดังนั้น จึงทำให้การบินไทยที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดี ต้องตกที่นั่งลำบากขาดทุนสะสม จนกลายเป็น 1 ในรัฐวิสาหกิจที่ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู เช่นเดียวกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.), การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.), บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ (กสท) 
    แต่จนแล้วจนรอดไม่ว่าดีดี การบินไทยกี่คนก็ยังไม่สามารถที่จะผลักดันให้การบินไทยผ่านวิกฤติไปได้ ล่าสุดเมื่อไตรมาสที่ 2/2561 การบินไทยขาดทุนสุทธิ 3,098 ล้านบาท ลดลง 40.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยขาดทุนจากการดำเนินงาน (Operating Loss) 2,807 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 52.4% คิดเป็น 965 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้น้อยกว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยมีรายได้รวมทั้งสิ้น 47,239 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 2,057 ล้านบาท หรือ 4.6% แต่ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 50,046 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.4% หรือ 3,022 ล้านบาท
    และเมื่อมาถึงดีดีคนปัจจุบัน สุเมธ ดำรงชัยธรรม ดีดีการบินไทยคนใหม่ ได้ระบุอย่างชัดเจนถึงเป้าหมายที่ต้องการนำการบินไทยไปสู่การเป็นสายการบิน 5 อันดับแรกของโลกที่ลูกค้ามีความพึงพอใจในบริการ และสามารถแก้ไขปัญหาขาดทุนได้ภายในปี 2565 รวมไปถึงการขึ้นแท่นผู้นำด้านการขนส่งผู้โดยสารศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ขนส่งสินค้าภายในปี 2570 ยึดหลักมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากลต่อเนื่อง
    โดยยึดกลยุทธ์หลัก 5 แนวทาง ประกอบด้วย แนวทางแรก "Aggressive Profit" การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญเป้าหมายทำกำไร ที่ผ่านมาหนึ่งในปัญหาและอุปสรรคของบริษัทคือต้นทุนการบริหารงานที่สูง ดังนั้นวิธีแก้ไขที่ถูกต้องคือการปรับเปลี่ยนกระบวนการบริหารใหม่ การดำเนินธุรกิจสายการบิน การแข่งขันต้องคำนึงถึงอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (CABIN FACTOR), ผลตอบแทน, ส่วนต่างกำไร เป็นต้น และที่สำคัญการตลาดต้องเดินด้วย Digital Marketing 
    แนวทางที่สอง Business Portfolio เพิ่มช่องทางหารายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักสายการบิน เช่น ธุรกิจซ่อมบำรุง (Maintenance Repair Overhaul center : MRO) และธุรกิจด้านอาหาร    
    แนวทางที่สาม Customer Experience การให้บริการต้องมีคุณภาพ "Service mind" พนักงานทุกคนต้องให้บริการด้วยหัวใจกับลูกค้าของเรา ควรต้องให้มากกว่าในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
    แนวทางที่สี่ Digtal Technology นำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มรายได้ในทุกมิติ และแนวทางที่ห้า Effective Human Capital Managment พนักงานทุกคนรักองค์กร  
    แต่แล้วเมื่อเกิดเหตุเที่ยวบิน TG971 ซูริก-สุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 11 ต.ค.61 ที่ผ่านมา เกิดปัญหาดีเลย์กว่า 2 ชั่วโมงครึ่ง ด้วยเหตุผลว่านักบินไม่ยอมนำเครื่องขึ้น เพราะที่นั่งของนักบินที่จะโดยสาร (Deadhead pilot) ไม่ได้นั่งเฟิร์สคลาสตามต้องการ กระจายไปในโลกโซเชียลจนเป็นเรื่องดราม่ายืดเยื้อ และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งจะด้วยข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ใครจะผิดจะถูกนั้นไม่ได้มีความสำคัญแล้ว เพราะขณะนี้ภาพลักษณ์ของการบินไทยได้เสียหายไปแล้ว 
    และที่ผ่านมาการบินไทยมีปัญหาสะสมมากมาย โดยเฉพาะปัญหาขาดทุน การแข่งขันในตลาดทั้งในด้านคุณภาพการบริการและอาหารก็มากพอแล้ว บุคลากรขององค์กรยังมาทำให้ภาพลักษณ์ของสายการบินประจำชาติต้องมัวหมองลงไปอีก เหมือนความวัวยังไม่หาย ความควายก็เข้ามาแทรก ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือเปล่า
    สโลกแกน "การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า" ที่เคยโด่งดังสร้างชื่อเสียงให้กับสายการบินก็คงจะถูกลบออกไปจากสารบบกันก็คราวนี้แหละ. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"