ดับฝันคนชานเมือง กทม.เบรคลงทุนรถไฟฟ้าช่วงสมุทรปราการ-บางปู และคูคต-ลำลูกกา


เพิ่มเพื่อน    

 

ดับฝันชานเมือง กทม.สั่งเบรคลงทุนรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเหนือ-ใต้ 2 หมื่นล้าน หวั่นไม่คุ้มค่า เล็งทบทวนใหม่ 2 ปี เล็งขยายสัมปทานบีทีเอสแลกค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย

นายสมพงษ์ เวียงแก้ว รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่าขณะนี้กทม.ได้สั่งทบทวนและชะลอโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวใต้ส่วนต่อขยาย ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 1.37 หมื่นล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเหนือส่วนต่อขยาย ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 1.19 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่เตรียมจะเสนอสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อขอเปิดประมูลช่วงปลายปีนี้
สำหรับการชะลอโครงการดังกล่าวนั้นเพราะต้องการดูปริมาณผู้โดยสารว่ามีทิศทางเป็นอย่างไรและจะเหมาะสมในการต่อขยายเส้นทางออกไปหรือไม่ หรือจะทยอยขยายในเส้นทางที่มีคนเยอะก่อนเป็นต้น

ดังนั้นจึงต้องพิจารณาและเก็บข้อมูลสถิติจากการเปิดให้บริการสายสีเขียวใต้ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและสายสีเขียวเหนือช่วงหมอชิต-คูคต คาดว่าจะใช้เวลารวมรวบข้อมูล 1-2 ปีก่อนตัดสินใจต่อไป ทั้งนี้หากเดินหน้าต่อโครงการนี้จะเปิดประมูลแบบร่วมทุนพีพีพีเพื่อเปิดกว้างให้เอกชนเข้ามาแข่งขันโดยจะไม่มีการคัดเลือกเอกชนด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงแบบรถไฟฟ้าใต้ดินแน่นอน

นายสมพงษ์กล่าวต่อว่าส่วนด้านความคืบหน้าการโอนหนี้สินและทรัพย์สินรถไฟฟ้าสายสีเขียววงเงิน 6 หมื่นล้านบาทนั้นขณะนี้อยู่ระหว่างสรุปแนวทางการทางทยอยชำระหนี้ร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) และกระทรวงการคลังก่อนลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)กันต่อไป ส่วนด้านความคืบหน้าการปรัาโครงสร้างค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวร่วมกับบีทีเอสนั้นยังคงไม่ได้ข้อสรุป

แหล่งข่าวจากกรุงเทพมหานครเปิดเผยว่าการเจรจาปรับอัตราค่าโดยสารใหม่นั้นทางผู้ว่ามีความต้องการชัดเจนในราคาที่ 65 บาทตลอดสาย ซึ่งถือว่าตัวเลขห่างกันมากเมื่อเทียบกับราคาในปัจจุบันที่ 140-145 บาท ดังนั้นกทม.จึงต้องยื่นข้อเสนอการขยายสัมปทานเดินรถให้กับบีทีเอสราว 5-10 ปีเพื่อแลกกับเงื่อนไขการคิดราคาดังกล่าว จากเดิมที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 85 ส่วนด้านการชะลอโครงการสายสีเขียวส่วรต่อขยายนั้นเพราะหวั่นไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเนื่องจากปริมาณผู้โดยสารที่เบาบางบริเวณชานเมืองจึงต้องกลับมาทบทวนอีกครั้ง

รายงานข่าวกระทรวงคมนาคมระบุว่าตัวเลขคาดการณ์ของโครงการส่วนต่อขยายเหนือ-ใต้พบว่าในปีแรก62 ที่เปิดใช้สายสีเชียวใต้จะมีปริมาณผู้โดยสาร 9.7 หมื่นคนต่อวัน รวมรายได้ปีละ 2,868 ล้านบาท จากนั้นในปี64 เมื่อเปิดใช้เชียวเหนือ-ใต้ จะมีผู้โดยสาร 3.5 แสนคนต่อวัน แบ่งเป็นสายเหนือ 2.5 แสนคนและสายใต้ 1.06 แสนคน รวมรายได้ปีละ 5,703 ล้านบาท จากนั้นในปี 2574 จะมีปริมาณผู้โดยสารส่วนต่อขยายรวม 5.34 แสนคนต่อวัน รวมรายได้ปีละ 14,014 ล้านบาท สุดท้ายในปี 84 จะมีผู้โดยสารส่วนต่อขยายรวม 5.9 แสนคนต่อวัน รวมรายได้ปีละ 20,582 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณเติบโตด้านรายได้ราว 700% เมื่อเทียบกับปีแรกที่เปิดให้บริการ 62 ขณะที่ด้านศักยภาพผู้โดยสารนั้นคิดเป็นการเติบโต 66% เมื่อเทียบกับปีแรกที่เปิดบริการต่อขยายเต็มสาย 64


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"