ศาสตร์แห่งการชะลอวัย เทรนด์ใหม่ดูแลสุขภาพสว.


เพิ่มเพื่อน    

      อย่างที่ทราบกันดีว่า สาเหตุการเกิดโรคต่างๆ นั้น 20% มาจากยีนหรือกรรมพันธุ์ และอีก 80% มาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงวัยท่านใดที่ไม่อยากเจ็บป่วยออดๆ แอดๆ การดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์ชะลอวัยที่ครอบคลุมทั้งการออกกำลังกาย การเลือกอาหาร ตลอดจนการฝึกจิต ก็ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ป้องกันโรค หรือชะลออาการเจ็บป่วยในผู้สูงวัยได้เป็นอย่างดีหากปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ

(พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล)

 

      ในงานเปิดตัวคอนโดมิเนียมเพื่อสุขภาพ “Holistic Wellness Residence” จาก “แสนสิริ” และ “บ.โตคิว คอร์เปอเรชั่น” พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.สมิติเวชสุขุมวิท มีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพดังกล่าวมาฝากคนวัยเกษียณ

      พญ.ธิดากานต์อธิบายว่า “อันที่จริงแล้วการดูแลสุขภาพจำเป็นต้องเริ่มดูแลแต่เนิ่นๆ และยิ่งเมื่ออายุมากขึ้นก็จำเป็นต้องให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพด้วยเช่นกัน ดังนั้นสุขอนามัยที่ดีด้วยศาสตร์ชะลอวัย จึงถือเป็นทางเลือกให้กับคนวัยเกษียณที่ไม่ต้องการให้สุขภาพทรุดโทรมมากขึ้นไปอีก หรือหากท่านใดที่เป็นโรค อาทิ การ “ปวดหัวเข่า” ตลอดจน “ภาวะตึงเครียด” ก็สามารถใช้ศาสตร์ดังกล่าวดูแลตัวเองได้เช่นเดียวกัน

(ผู้สูงอายุปั่นจักรยานและเดินในน้ำ การออกกำลังกายเหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม)

      สำหรับการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์ชะลอวัย อันดับแรก ได้แก่ “การออกกำลังกาย” ที่เหมาะในกลุ่มผู้สูงอายุนั้น หากออกกำลังแบบคาร์ดิโอ (เน้นการเต้นของหัวใจ) หรือการวิ่งอาจจะไม่เหมาะสมเท่าที่ควร เพราะผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอาจจะเจ็บเข่า ดังนั้นแนะนำให้ “ปั่นจักรยาน” แทนได้ หรือเลือกที่จะ “ว่ายน้ำ” หรือ “เดินในน้ำ” ก็เป็นทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาที่ข้อเข่า สำหรับการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ อยากให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์เช่นเดียวกัน หรือจะแบ่งเป็น 30 นาที ภายใน 5 วัน หรือถ้าหากไม่ไหวก็แนะนำให้เป็น 20 นาทีต่อ 7 วัน ก็ได้เช่นกันค่ะ

(“กินไข่ขาว” แหล่งโปรตีนที่ดีต่อร่างกายผู้สูงวัย)

      ส่วน “เรื่องของอาหาร” ในผู้สูงอายุต้องระวังเรื่องการรับประทานโปรตีนไม่เพียงพอ พออายุมากแล้วอาจจะเคี้ยวเนื้อสัตว์ไม่ค่อยไหว โปรตีนอย่างง่ายคือ “ไข่ขาว” แนะนำให้บริโภคได้ เพราะราคาไม่แพง หาง่าย จริงๆ แล้วถ้าพูดถึงไข่ขาว ผู้สูงอายุสามารถรับประทานได้ทุกวันเลย รวมถึงต้องดูด้วยว่ายังสามารถรับประทานเนื้อสัตว์อื่นๆ ได้อีกหรือไม่ เช่น รับประทานปลา ไก่ ได้หรือไม่ ถ้ายังสามารถกินได้ก็ให้สลับกันกับไข่ขาว แต่ถ้าหากมีปัญหาเคี้ยวเนื้อสัตว์ไม่ไหว ก็แนะนำให้เปลี่ยนเป็นการบริโภค “เต้าหู้” แทน เพราะเป็นอีกแหล่งโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย

(ผู้สูงอายุนั่งสมาธิช่วยบำบัดความเครียด ลดอาการฟุ้งซ่าน และลดโรคต่างๆ ได้)

      สุดท้ายคือ “การฝึกจิตอย่างง่าย” เนื่องจากเคยมีรายงานด้านสุขภาพออกมาระบุว่า การที่ผู้สูงวัยเข้าโบสถ์หากนับถือศาสนาคริสต์ หรือการเข้าวัดกรณีที่เป็นคนไทย หรือมีกิจกรรมทางศาสนา รวมถึงมีการฝึกสมาธิบ้าง ก็จะช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดี และย่อมจะส่งผลต่อสุขภาพกายกว่าคุณตาคุณยายที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ที่สำคัญการนั่งสมาธิ ยังช่วยลดฮอร์โมนความเครียด และลดโรคต่างๆ ได้อีกมากมาย.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"