ทัวร์ญี่ปุ่นหงอยแน่ กรมควบคุมโรคเตือนควรเลี่ยงเดินทางช่วงนี้ ป้องกันได้รับเชื้อหัดเยอรมัน  


เพิ่มเพื่อน    

 

1 พ.ย.  ที่กรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) แถลงข่าวเตือนการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น หลังจากสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค(คร.) ออกเอกสารแจ้งเตือนประชาชนที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ที่โรคหัดเยอรมันกำลังระบาด ว่า หลายประเทศจะมีการติดตาม เฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาด  ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1   Travel watch  ระดับจับตา ซึ่งไม่ห้ามการเดินทาง   ระดับที่ 2 Travel Alert  ระดับการเฝ้าระวังและแจ้งเตือน ซึ่งไม่ได้ห้ามเดินทางเช่นกัน แต่จะมีคำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อต้องเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค   และระดับที่ 3 Travel Warning   เป็นระดับเตือนภัย คือการห้ามเข้าไปยังพื้นที่ระบาด โดยสำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นนั้นประเทศไทย มีการแนะนำอยู่ในระดับ2 คือ เรื่องการปฏิบัติตัวทั้งคนไทยที่จะเดินทางเข้ายังประเทศญี่ปุ่น และคนไทยหรือคนต่างชาติที่เดินทางจากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย เช่นเดียวกับศูนย์ป้องกันควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกาก็ประกาศเตือนที่ระดับ 2 ทั้งนี้  คนไทยหลายคนได้รับการฉีดวัคซีนมาตั้งแต่เด็กแล้ว  แต่คนที่ยังไม่ได้ฉีด หากจำเป็นต้องไปญี่ปุ่นก็ขอให้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อรับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ หากไม่จำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้

 

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร  ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องในประเทศญี่ปุ่นพบว่า จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจาก184 รายเมื่อวันที่ 11 กันยายน มาเป็น 362 รายในวันที่ 19 กันยายน และเดือนตุลาคมก็เพิ่มขึ้นอีก จนกระทั่งเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมามีรายงาน 1,468 ราย ทำให้ ทางกรมควบคุมโรค(คร.)ต้องประเมินสถานการณ์เป็นระยะ ประกอบกับสัปดาห์ที่ผ่านมาทาง ศูนย์ป้องกันควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา ( US CDC) ก็ยกระดับการเตือนประชาชนของประเทศสหรัฐอเมริกาจากระดับที่ 1    เป็นระดับ 2 หลังจากมีการติดตามมาอย่างใกล้ชิด โดยมีคำแนะนำให้ผู้ที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน และแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเดินทางไปญี่ปุ่น
 

นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา  กล่าวว่า ในหญิงตั้งครรภ์ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากหากติดเชื้อหัดเยอรมัน จะส่งผลต่อทารกในครรภ์ เสี่ยงพิการ  เกิดภาวะหัวใจรั่ว อวัยวะภายในไม่สมบูรณ์ ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงเดินทางไป โดยพื้นที่ต้องระมัดระวัง คือ พื้นที่ตัวเมืองอย่างเมืองหลวงโตเกียว และรอบๆ เมืองโตเกียว โดยความเสี่ยงหากนับเป็นเปอร์เซ็นต์ว่ามีความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์พิการมากน้อยแค่ไหนนั้นก็พูดยาก เพราะขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ แม้ความเสี่ยงไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าสูงมากกว่าคนทั่วไป แต่ที่ต้องระมัดระวังคือ หญิงท้องที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 20 สัปดาห์จะเสี่ยงมาก ซึ่งไม่ได้หมายความว่าอายุครรภ์อื่นจะไม่เสี่ยง ดังนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ทุกคนขอให้หลีกเลี่ยงดีที่สุด แต่หากจำเป็นขอให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ ทั้งนี้หัดเยอรมันสามารถติดต่อจากทางเดินหายใจ ด้วยการไอ จาม และจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง ซึ่งติดต่อง่ายกว่าไข้หวัดทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่โรคร้ายแรงจนต้องหวาดวิตก เนื่องจากมีวัคซีนป้องกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่เดินทางกลับมาจากญี่ปุ่นให้เฝ้าสังเกตอาการ 21 วันว่ามี ไข้ ออกผื่นหรือไม่ หากมีให้ไปพบแพทย์ 
 

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีเด็กเล็กหากไปญี่ปุ่นแล้วเกิดติดเชื้อ จะมีความพิการหรือไม่ นพ.นคร กล่าวว่า ไม่พิการ แต่เด็กเล็ก อาการจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ จะเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อน และมีไข้ออกผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน ทั้งนี้สำหรับคนทั่วไปที่จะเดินทางไปญี่ปุ่นขอให้ไปปรึกษาแพทย์ และรับวัคซีนป้องกันอย่างน้อยก่อน 2 สัปดาห์ที่จะเดินทางไป อย่างไรก็ตามขอย้ำว่า แม้ขณะนี้จะมีการระบาดของโรคหัดเยอรมันในญี่ปุ่น แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต 
 

นพ.ชนินันท์ สนธิไชย หัวหน้ากลุ่มพัฒนางานวัคซีนพื้นฐาน กรมควบคุมโรค กล่าวว่า  จากการติดตามสถานการณ์ในไทยพบว่า  5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับรายงานผู้ป่วยปีละ 200 ราย โดยปี 2560 มีรายงานผู้ป่วย 261 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต  และข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 25 ตุลาคม มีรายงานผู้ป่วย  269 ราย  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในไทยจะเป็นอายุ 24-54 ปี เกิดในผู้หญิงและผู้ชายใกล้เคียงกัน  โดยประเทศไทยได้ให้วัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันมาตั้งแต่ปี 2529 โดยให้ในนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งกลุ่มนี้จะมีภูมิต้านทาน ซึ่งปัจจุบันคือ ผู้หญิงที่อายุประมาณ 44 ปีลงมา หลังจากนั้นในปี 2536  ประเทศไทยก็ขยายการให้วัคซีนโรคหัดเยอรมันแก่นักเรียนทั้งชายและหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  โดยกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มคนไทยต่ำกว่า 32 ปีลงมา ซึ่งภาพรวมการได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันครอบคลุมสูงกว่าร้อยละ 95 และหากใครฉีดวัคซีนไปแล้ว 1 ครั้งจะมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 97 อยู่ได้ตลอดชีวิต โดยปัจจุบันประเทศไทยได้ให้วัคซีนกับทารกทุกคน 2 เข็ม โดยเข็มแรกให้เมื่ออายุ 9 เดือน และเข็มที่สองให้อายุ 2 ขวบครึ่ง ดังนั้น ผู้ปกครองพาบุตรหลานมารับวัคซีนตามที่นัดหมายด้วย ขณะนี้จากการติดตามการแจ้งเตือนของสถานทูตญี่ปุ่นในไทย ณ วันที่ 4 กันยายน 2561 ระบุว่าคนไทยสามารถเดินทางไปญี่ปุ่นได้ แต่ขอให้มีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งยังไม่เห็นคำแนะนำเพิ่มเติม ขออย่าวิตก แต่หากจะเดินทางไปให้เช็กประวัติว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันหรือไม่ และหากไม่เคยก็สามารถพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์อาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ” นพ.ชนินันท์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"