"ไบโพลาร์"ในไทย แนวโน้มอายุน้อยลงเรื่อยๆ คาดป่วย7แสน


เพิ่มเพื่อน    

6พ.ย.61-แพทย์ชี ไบโพลาร์ในไทย แนวโน้มสูงขึ้นเฉลี่ยอายุน้อยลง  พบใน 1-3 % ของประชากร หรือประมาณ 7 แสนคน แต่เข้ารับการรักษาเพียง 7 หมื่นคน  เผยงานวิจัยพบวินิจฉัยช้า 11ปีเศษๆกว่าจะเข้ารับการรักษา

 ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  เปิดตัวโครงการ “อุ่นรัก อุ่นใจ ไบโพลาร์ Healthy mind, Happy lify”  เรียนรู้และเข้าใจโรคทางจิตเวช พร้อมมอบโอกาสให้ผู้ป่วยได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยมี ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย รศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ดีเจเคนโด้ เกรียงไกรมาศ พจนสุนทร และคุณหมวย สุภาภรณ์ คำนวณศิลป์ อดีตดารานักแสดง ผู้เผชิญกับประสบการณ์โรคไบโพล่าร์  ร่วมกันพูดคุยแลลกเปลี่ยน ในหัวข้อ “การดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรงและรู้จักโรคไบโพลาร์” 


ศ.นพ.รณชัย กล่าวว่า ทางแพทยฯ มีความตั้งใจดำเนินโครงการ “อุ่นใจใกล้แพทยสมาคมฯ”   ซึ่งปัญหาทางด้านสุขภาพจิต อยู่อันดับต้นๆของไทย แต่คนทั่วไปมักไม่เข้าใจไม่เปิดเผยยอมรับที่จะทำไปสู่การแก้ไข  จนนำไปสู่โรคทางจิตเวชซึ่งเป็นโรคที่มีปัญหาแก้ไขยาก และการเปิดตัวว่ามีความเจ็บป่วยก็เป็นเรื่องยาก เมื่อจะเข้าสู่การรักษาผู้ป่วยจะระมัดระวังมารักษาทั้งทีต้อง แอบมาโดยเมื่อเจ็บป่วยทางจิตเวช จะก่อให้เปิดปัญหาทั้งหมด 4 ทั้งต่อตัวเอง สัมพันธภาพต่อคนรอบข้าง การใช้ยาเสพติด ร่วมทั้ง ความมั่นคงของประเทศ เพราะมีค่ารักษาสูงขึ้น โดยในปีนี้ ไบโพลาร์หรือโรคอารมณ์แปรปรวน โดยมีอาการ คือ บางช่วงมีความสุขคึกคัก มีความสุข อีกอารมณ์คือรู้สึกเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นกระแสในสังคม ทำให้เป็นที่รู้จักกันมากยิ่งขึ้น แพทยฯ จึงได้ถือโอกาสเปิดตัว โครงการ “อุ่นรัก อุ่นใจ ไบโพล่า Healthy mind, Happy lify”   สำหรับจำนวนการระบาดนั้น พบใน 1-3 % ของประชากร หรือประมาณ 7 แสนคน แต่เข้ารับการรักษาเพียง 7 หมื่นคน  โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสังคมไทยมีโอกาสเกิดการกระตุ้น เช่น ความเครียด จุดพลิกผันในชีวิต เป็นต้น ที่ทำให้การเกิดโรคสูงขึ้น ซึ่งคนที่เป็นโรคดังกล่าวมักเริ่มเกิดอาการในวัยรุ่น แต่คนรอบข้างมักไม่รู้ มักคิดว่าเป็นอารมณ์วัยรุ่น ทำให้ไม่ได้เข้าสู่กระบวนการการรักษาแต่ต้น ทั้งนี้การวินิจฉัยเป็นเรื่องยาก โดยจากงานวิจัยพบว่าโรคนี้มีการวินิจฉัยโรคล่าช้า 11 ปีเศษๆ กว่าจะรู้ เข้าสู่การรักษา 

ศ.นพ.รณชัย กล่าวว่า ทั้งนี้โรคนี้สามารถรักษาได้หากได้รับการติดตามและติดตามอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ถึงร้อยละ 80-90 %จากหลายปัจจัยเป็นตัวกระตุ้น เช่น เหตุการณ์ที่สะเทือนใจ จุกพลิกผันในชีวิต ภาวะเครียดรุมเร้า การใช้ยาเสพติด  ดังนั้นการกินยาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งญาติ คนใกล้ชิดและสังคมจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษา รวมทั้งให้โอกาสและลดอคติ มองผู้ป่วยไบโพลาร์ ไม่ต่างจากผู้ป่วยโรคอื่นๆที่รักษาให้หายขาดได้ ซึ่งผู้ป่วยเองก็ต้องปฏิบัติตามแผนการรักษาอย่างเคร่งครัด


รศ.นพ.ชวนันท์  กล่าวว่า ทิศทางของการเกิดโรค คือ เรื่องของชีวเคมี โดยเรื่องของสารเคมี และพันธุกรรมมีผล และมีความเครียดเป็นส่วนประกอบ โดยเมื่อก่อนมักจะเกิดในผู้ใหญ่ แต่ในปัจจุบันแนวโน้มอายุลดน้อยลงเรื่อยๆ แต่เมื่อเป็นในอายุน้อยๆ หรืออายุน้อยกว่า 10 ปี การวินิจฉัยยิ่งยาก เพราะเด็กโดยธรรมชาติอารมณ์เปลี่ยนง่าย อาการค่อยเป็นค่อยไป ทำให้อาการไม่ชัดเจน แต่ในวัยผู้ใหญ่ จะเปลี่ยนชัดเจน ทำให้ปัญหาคือการตัดสินใจหาหมอ ซึ่งระยะของโรค คือ ระยะเฉียบพลัน และระยะที่ต้องดูแลระยะยาว ทั้งนี้ในเรื่องที่มีการส่งผ่านทางพันธุกรรม ถ้าพ่อแม่เป็น ทำให้ลูกมีโอกาสเป็นไบโพลาร์มากกว่าคนอื่นนั้น แปลว่าเพิ่มความเสี่ยง แต่ไม่ได้หมายความว่าห้ามมีลูก เพราะโอกาสที่จะไม่เป็นสูงกว่ามาก โดยในวิธีการรักษา ในปัจจุบัน คือการใช้ยา แต่ต้องควบคู่กับอย่างอื่น การรักษาทางจิตใจ รวมถึงความร่วมมือกับคนใกล้ชิดในการให้การดูแล.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"