"อย."ยันสารสกัดกัญชา จดสิทธิบัตรไม่ได้"หมอโสภณ "เผยอธิบดีกรมทรัพย์สินฯก็เคยยืนยันด้วยเช่นกัน


เพิ่มเพื่อน    

 14 พ.ย.61ที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)จัดโครงการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ โดยในช่วงอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “ผ่อนปรนกัญชา เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์”
นพ.โสภณ เมฆธน ประธานบอร์ด อภ. กล่าวว่า กรอบการหารือและระดมความคิดเห็นนี้ เน้น เรื่องประโยชน์ทางการแพทย์ และการคลายล็อกกัญชา ขอย้ำว่ากัญชา ไม่ใช่ยาวิเศษ   แต่จะนำสารสำคัญในกัญชา ทั้ง THC และ CBD มาใช้ประโยชน์ และยังไม่ได้มีการอนุญาตให้ใช้เพื่อสันทนาการ  ประชาชน หรือคนทั่วไป ยังไม่สามารถปลูกได้ กัญชายังคงเป็นยาเสพติดอยู่ ทั้งนี้ ในการปลดล็อคต้องทำเป็นขั้นตอนแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งทางครม. ได้เห็นชอบในหลักการให้นำกัญชา ซึ่งเป็นยาเสพติดประเภท 5 มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  ส่วนเรื่องของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ให้ 11 บริษัท จดสิทธิ์บัตรสารสกัดกัญชา นั้น ได้ให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาและศึกษาข้อกฎหมายอยู่  เพราะสารสกัดจากพืชไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ โดยเมื่อวันที่ 15 เคยสอบถามอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ระบุเองว่า ไม่สามารถจดได้  ใจจริงไม่ได้อยากฟ้องหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน  

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมียื่นฟ้องกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือไม่ นพ.โสภกล่าวว่า เรื่องของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่ให้ 11 บริษัท จดสิทธิ์บัตรสารสกัดกัญชา นั้น ได้ให้ฝ่ายกฎหมายพิจารณาและศึกษาข้อกฎหมายอยู่ เพราะสารสกัดจากพืชไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ โดยเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.เคยสอบถามอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ก็ระบุเองว่า ไม่สามารถจดได้ ใจจริงไม่ได้อยากฟ้องหน่วยงานภาครัฐด้วยกัน คิดว่าคงไม่ฟ้อง คงมีการนัดคุยกัน แต่ยังไม่มีการระบุวัน

นพ.ธเรศ กรัษนัยรววิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)  กล่าวว่า เมื่อวานนี้ (13 พ.ย.) ครม. ได้รับหลักการ ร่าง พ.ร.บยาเสพติด ของสนช. แนวทางการปลดล็อกกัญชาก็จะนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ซึ่งกัญชายังคงอยู่ในบัญชียาเสพติดประเภท 5 เหมือนเดิม  แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  ผู้ดำเนินการ ต้องเป็นหน่วยงานรัฐ และมีกำหนดระยะเวลาในการใช้ 5 ปี แต่ต้องมีกฎหมายลูกรองรับ ซึ่งจะเร่งดำเนินการต่อไป 

นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวว่า  การควบคุมกัญชาใช้ในทางการแพทย์ ตามกรอบวางไว้ ว่า ผู้ดำเนินการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ครอบคลุมตั้งแต่การปลูก สายพันธุ์ พื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้ได้กัญชาคุณภาพ นำสารสำคัญมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ และผู้ขออนุญาตปลูก ต้องเป็นนิติบุคคล หน่วยงานของรัฐ  มีโรงเรือนปิด ปลอดภัย  และมีการกำหนดปริมาณในการปลูก เพื่อให้พอกับความต้องการ แต่บุคคลทั่วไปไม่สามารถปลูกได้ เพราะกัญชายังถือเป็นยาเสพติด การขออนุมัติปลูกยังต้องผ่านคณะกรรมการยาเสพติดด้วย  ซึ่งขณะนี้ผู้ขออนุญาต และใช้ประโยชน์จากกัญชา ของกลางยาเสพติดคือมหาวิทยาลัยรังสิต และองค์การเภสัชกรรม
ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิณ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องของการชายังเป็นการต่อสู้ทางความคิดของแต่ละกลุ่มยังไม่มีใครพูดถึงภาพรวมของกัญชาทั้งหมด ยังคงพูดแต่เรื่องการใช้ การเข้าถึงว่าจะเป็นวิถีพื้นบ้านหรือใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ภายใต้การกำกับของแพทย์ หรือการใช้เพื่อรักษาตัวเอง ซึ่งประโยชน์ของกัญชาจะใช้เพื่อเป็นยาเสริม หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตเราต้องเป็นคนตัดสินใจร่วมกัน โดยประมวลกฎหมายยาเสพติด ของป.ป.ส. และร่างพ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับสนช. มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือลดความผิดของผู้เสพ ให้เป็นผู้ป่วย แต่จะต้องควบคุมแค่ไหนต้องดูกรอบกฎหมาย ส่วนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่มาจากสารสกัดต้องดูเรื่องการรับรองกำกับว่าจะทำอย่างไร เป็นแบบแพทย์แผนไทย หรือแผนปัจจุบัน การวิจัย ตำรับยาที่ไม่ได้วิจัยแต่ใช้เป็นทางเลือก ทุกอย่างต้องใช้ให้สมดลและปลอดภัย

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิณ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ขณะนี้เรื่องของการชายยังเป็นการต่อสู้ทางความคิดของแต่ละกลุ่มยังไม่มีใครพูดถึงภาพรวมของกัญชาทั้งหมด ยังคงพูดแต่เรื่องการใช้ การเข้าถึงว่าจะเป็นวิถีพื้นบ้านหรือใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ภายใต้การกำกับของแพทย์ หรือการใช้เพื่อรักษาตัวเอง ซึ่งประโยชน์ของกัญชาจะใช้เพื่อเป็นยาเสริม หรือเพิ่มคุณภาพชีวิตเราต้องเป็นคนตัดสินใจร่วมกัน โดยประมวลกฎหมายยาเสพติด ของป.ป.ส. และร่างพ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับสนช. มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือลดความผิดของผู้เสพ ให้เป็นผู้ป่วย แต่จะต้องควบคุมแค่ไหนต้องดูกรอบกฎหมาย ส่วนในเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่มาจากสารสกัดต้องดูเรื่องการรับรองกำกับว่าจะทำอย่างไร เป็นแบบแพทย์แผนไทย หรือแผนปัจจุบัน การวิจัย ตำรับยาที่ไม่ได้วิจัยแต่ใช้เป็นทางเลือก ทุกอย่างต้องใช้ให้สมดลและปลอดภัย

นายวิชัย ไชยมงคล รองเลขาธิการป.ป.ส. กล่าวว่า แนวคิดผ่อนปรนเรื่องกัญชาออกจากยาเสพติดของไทยมีมาตั้งแต่ปี 2557 แต่ในปี 2559 อันก๊าส (Ungass) กำหนดให้ประเภทภาคีสมาชิกกำหนดบทลงโทษผุ้กระทำผิดด้านสาเสพติดที่เหมาะสม ซึ่งไทยองก็เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ที่ผ่านมาบางคนมีการครอบครองเพื่อเสพ แต่เมื่อนำเข้ามาที่สนามบินกลับโดนโทษถึงประหารชีวิต ซึ่งเรื่องนี้ต้องผ่อนปรนอย่างเหมาะสม โดยประมวลกฎหมายยาเสพติด ได้รวบรวมกฎหมายยาเสพติด 17 ฉบับ 184 มาตรา มาพิจารณาให้เหมาะสม ขณะนี้อยู่ในชั้นกรรมาธิการ คาดว่าในเดือน ธ.ค.จะผ่านการพิจารณาวาระ 1 ซึ่งจะให้อำนาจรมว.สาธารณสุขในการผ่อนปรน ยาเสพติดเพื่อใช้ในการศึกษาหรืออุตสาหกรรมได้ หลักของประมวลกฎหมายยาเสพติด ไม่อนุญาตให้เสพเสรีหรือเพื่อความบันเทิง ครอบคลุมเรื่องของการเพาะปลูกหรือการทดลองเพาะปลูก และการครอบครองต้องเป็นปริมาณที่เหมาะสม อนาคตจะครอบคลุมกระท่อมให้เสพแบบวิถีพื้นบ้านแบบไม่มีความผิด


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"