ตายายรักการขีดเขียน เทรนด์ป้องกันโรคนิ้วล็อก


เพิ่มเพื่อน    

(ผู้สูงอายุที่ชอบจดบันทึก จะช่วยฝึกความทรงจำระยะสั้นให้ทำงานได้ดีขึ้น หรือความจำที่เราเพิ่งทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ไป ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้)

       บางครั้งอุปกรณ์ขีดๆ เขียนๆ อย่างปากกา ดินสอ หรือแม้แต่พู่กันระบายสี ก็สามารถช่วยป้องกันโรคในผู้สูงวัยได้ โดยเฉพาะโรคทางสมองอย่างอัลไซเมอร์ หรือแม้แต่โรคนิ้วล็อก กระทั่งภาวะฝ่ามือของคุณตาคุณยายที่ฝ่อลง เนื่องจากอายุมากและท่าน ไม่ได้หยิบจับสิ่งของเป็นเวลานานๆ บางครั้งจึงทำให้บังคับมือได้ไม่ดี ในขณะหยิบจับสิ่งของ งานนี้หากผู้สูงอายุที่อยู่บ้านว่างๆ และชอบเรื่องการเขียนการอ่าน กระทั่งการวาดรูป ซึ่งเป็นกิจวัตรประจำวัน ที่ต่างจากผู้สูงอายุยุคใหม่ ซึ่งอยู่กับโซเชียลหรือไอที ซึ่งก็ถือเป็นการคลายเครียดและฝึกสมองในอีกรูปแบบหนึ่ง พี่แอ้-พรวรินทร์ นุตราวงศ์ พยาบาลชำนาญการพิเศษ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มาให้ข้อมูลสุขภาพในผู้สูงวัย ด้วยการ จับปากกาเขียนหนังสือ ไว้น่าสนใจ

(พรวรินทร์ นุตราวงศ์)

      พยาบาลพรวรินทร์ อธิบายว่า ถ้าหากคุณตาคุณยายท่านใดที่ยังสามารถเขียนหนังสือได้ ก็แนะนำให้ท่านจับปากกามาขีดเขียนก็เป็นการดีต่อสุขภาพค่ะ โดยเฉพาะการเขียนไดอารี หรือบันทึกกิจวัตรประจำวัน เช่น ตอนเช้าแม่กินอะไรบ้าง??, ออกกำลังกายอะไรไปบ้าง?? หรือเมื่อเช้าได้สวดมนต์ถึงบทไหนแล้ว หรือจะเขียนเล่าเป็นเรื่องราว ตั้งแต่ตื่นเช้าใส่บาตร กระทั่งถึงตอนเย็น ก่อนที่ลูกๆ จะเลิกงานกลับมา และนำไปให้บุตรหลานอ่าน ตรงนี้จะช่วยเรื่องของ ความทรงจำ และป้องกัน โรคอัลไซเมอร์ ได้ดี เพราะเมื่ออายุมากขึ้น ความทรงจำระยะสั้น หรือความจำชั่วขณะ เช่น เรากินอาหารเช้าอะไรไป ผู้สูงวัยมักจะลืม!!! แต่ก็จะไปจำเรื่องในอดีต หรือสิ่งที่เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 10-20 ปีที่แล้วได้

(กิจกรรมถักโครเชต์ก็ช่วยฝึกสมองผู้สูงวัยได้ แต่อาจต้องเลือกเข็มที่เบอร์ไม่เล็กมาก)

ดังนั้น ถ้าได้จดบันทึกก็จะทำให้ความทรงจำระยะสั้นดีขึ้น หรือจดจำสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ดี ที่สำคัญขณะกำลังเขียนหนังสือหรือจับปากกา ก็จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือไปด้วยในตัว ป้องกันทั้ง โรคนิ้วล็อก และ ฝ่ามือฝ่อลีบ อันเนื่องจากการที่คุณตาคุณยายไม่ค่อยได้หยิบจับสิ่งของ หรือไม่ได้ขยับมือบ่อย เมื่อเกิดภาวะฝ่ามือลีบ ก็จะทำให้หยิบจับสิ่งของได้ไม่ดี ดังนั้น การเขียนหนังสือบ่อยๆ ก็จะช่วยฝึกกำลังแขนและนิ้วมือให้หยิบจับช้อนกินอาหารได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ควรระวังในการเขียนหนังสือของคุณตาคุณยาย ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกใช้ปากกาจะดีกว่า หรือหากเลือกใช้ดินสอก็ต้องเหลาให้แหลมน้อยที่สุด เพื่อป้องกันความแหลมคมไปกระแทกดวงตา และก็ให้หลีกเลี่ยงการนำปากกาไปเหน็บข้างหูขณะที่กำลังคิด เพราะอาจเกิดอันตรายจากการถูกขีดข่วนจากความคมของอุปกรณ์ดังกล่าว

(“รูปที่ผู้สูงอายุวาด” จะสะท้อนแนวคิด อารมณ์ และความต้องการของท่านได้ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกหลานควรหมั่นสังเกต เพื่อกระชับความผูกพันครอบครัวให้อบอุ่น เช่น หากวาดรูปทะเล ภูเขา ซ้ำบ่อยๆ อาจสะท้อนว่าท่านต้องการไปพักผ่อน เป็นต้น)

      ในส่วนของ การจับพู่กันระบายสี ก็ถือเป็นการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็ก หรือฝึกการใช้มือระบายสีลงในภาพ และฝึกความคิดสร้างสรรค์ได้เช่นกัน แต่ก็ควรระวังอยู่เล็กน้อยคือ อย่าให้สีน้ำเปื้อนเสื้อผ้า หรือหากผู้สูงอายุ หยิบดินสอมาวาดรูป ตรงนี้ขอแนะนำว่าให้ลูกหลานแปลความหมายรูปที่ท่านวาด เพราะถ้าหากรู้ใจก็จะช่วยทำให้ครอบครัว อบอุ่นได้อย่างง่ายๆ เช่น หากผู้สูงวัยวาด รูปภูเขา รูปทะเล ซ้ำๆ นั่นแปลว่าท่านอาจต้องการอยากให้บุตรหลานพาไปเที่ยว หรือหาก วาดรูปเด็กตัวเล็กๆ นั่นอาจจะสื่อว่าคุณตาคุณยายกำลังเป็นห่วงหลาน หรือหากท่าน วาดรูปอาหาร อาจสื่อว่าต้องการให้ลูกหลานพาออกไปกินข้าวนอกบ้าน ซึ่งภาพที่ออกมาจะสื่อความหมายในตัวเอง บุตรหลานควรเฝ้าสังเกต นอกจากหากคุณย่าคุณยายชื่นชอบ การถักโครเชต์ และถ้ายังทำได้ก็ให้ท่านทำ เพราะจะกระตุ้นให้สมองได้คิดและใช้งาน แต่ให้ระวังความแหลมคม โดยการเลือกเข็มเบอร์ที่ไม่เล็กจนเกินไป เพราะอย่าลืมว่าการที่ส่งเสริมให้คนวัยเก๋าได้ทำในสิ่งที่ชอบนั้น จะช่วยทำให้ท่านได้ใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างมีความสุข”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"