กอบศักดิ์. ลุยเสนอSEC. เข้าครม ธ.ค.นี้


เพิ่มเพื่อน    

 

"กอบศักดิ์"ลุยเสนอ SEC เข้า ครม.ภายในต้นธ.ค.นี้ ด้าน อาคม' ชูEEC เป็นเกทเวย์สินค้า CLMV เชื่อดึงสัดส่วนสินค้าเพื่อนบ้าน-EWEC กระตุ้นส่งออกไทยโต ปักหมุดฉะเชิงเทรา-โคราชฮับขนส่งEEC-อีสาน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "จากอีอีซีสู่เศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ" ในงานสัมมนาเน็กซ์สเต็ปไทยแลนด์ EEC ยุทธศาสตร์ไทยเชื่อมโลก ว่า คาดว่าภายในเดือน พ.ย.หรือไม่เกินต้นเดือน ธ.ค.จะขยายโครงการพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ลงไปยังพื้นที่ภาคใต้ (SEC) ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดระนอง คาดว่าจะเสนอเข้า คณะรัฐมนตรี(ครม.)ต้นเดือนธันวาคมนี้

สำหรับแผนพัฒนาของโครงการ SEC ประกอบด้วย การฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าชายเลน, การพัฒนาประมงชายฝั่ง, การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราและปาล์มน้ำมัน, การพัฒนาท่าเรือระนอง, การสร้างรถไฟรางคู่ ชุมพร- ระนอง โดยโครงการนี้จะรองรับการส่งออกสินค้าไปทางฝั่งอันดามัน โดยใช้งบประมาณราวหนึ่งหมื่นล้านบาทพัฒนาท่าเรือระนองที่มีอยู่เดิม และลงทุนโครงการรถไฟรางคู่อีกหนึ่งหมื่นล้านบาทเชื่อมจากจังหวัดชุมพร-ระนอง

"โครงการนี้จะเริ่มได้คงราวกลางปีหน้าเพราะต้องรอผลศึกษา แต่รัฐบาลนี้จะวางกรอบเอาไว้ และคิดว่าจะมีการสานต่อถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะเป็นโครงการที่มาจากความต้องการของประชาชน ใช้งบไม่มากเพราะเป็นการลงทุนเพื่อปรับปรุงของที่มีอยู่เดิม" นายกอบศักดิ์ กล่าว

สำหรับโครงการ EEC เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาลที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และถือเป็นการพัฒนานำร่องก่อนที่จะขยายไปยังภูมิภาคอื่น ซึ่งตามแผนพัฒนา EEC จะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานใหญ่ 5 โครงการ ได้แก่ สนามบิน, ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3, ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, รถไฟฟ้าความเร็วสูง และศูนย์ซ่อมอากาศยาน

"เราตื่นมาแล้วพบว่ารอบตัวเปลี่ยนแปลงไปมาก ยักษ์สองตัว (จีน/อินเดีย) กำลังตื่น ขณะที่เราใกล้หมดบุญเก่า แล้วเราจะทำอย่างไรจากเดิมที่เศรษฐกิจเคยโตเกิน 10% แต่วันนี้ลงมาอยู่ที่ปีละ 2-3%โครงการนี้จะเป็นบุญใหม่ช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวต่อไปได้อีก 30-40 ปี" นายกอบศักดิ์ กล่าว

นายคณิศ แสงสุพรรณเลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า หากประเทศไทยไม่มีโครงการนี้ อีก 5 ปีการพัฒนาประเทศจะล้าหลังกว่าประเทศอินโดนีเซีย ดังนั้นการลงทุนใน EEC จึงไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินลงทุนเป็นสำคัญ แต่จะเน้นเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีมากกว่าอย่างเช่นโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ที่จะจัดตั้งในโครงการ EEC นั้นเป็น 1 ใน 9 แห่งที่เป็นเป้าหมายการลงทุนของแอร์บัส

อย่างไรก็ตาม ศูนย์ซ่อมดังกล่าวจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดใหญ่ที่มีความทันสมัยล่าสุดเพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  เนื่องจากปัจจุบันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเครื่องบินของแอร์บัสทำการบินอยู่ราว 7 พันลำ ซึ่งถือเป็นโอกาสดีสำหรับประเทศไทย

ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่าพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC)นั้นเป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเทคโนโลยีระดับภูมิภาคของประเทศในระยะยาว ปัจจุบันรัฐบาลได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งถนนมอเตอร์เวย์ รถไฟความเร็วสูงและสนามบินเพื่อส่งเสริมให้EECเป็นเกทเวย์การขนส่งสินค้าของซีแอลเอ็มวี คาดว่าจะมีปริมาณสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาท่าเรือแหลมฉบังจำนวนมากเพื่อรอส่งต่อไปทั่วโลก ทำให้ปริมาณส่งออกสินค้าทางน้ำของไทยเพิ่มขึ้น 

อย่างไรก็ตามดังนั้นในอนาคตเมื่อโครงการลงทุนต่างๆแล้วเสร็จจะส่งผลให้ปริมาณสินค้าตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก(EWEC)จากปลายทางในเมืองดานัง ประเทศเวียดนามจะถูกขนถ่ายมายังท่าเรือแหลมฉบัง เช่นเดียวกับสินค้าที่มาจากประเทศจีนในอนาคตจะสามารถเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่ง(Shift Mode) จากรถบรรทุกเข้าสู่รางพร้อมขนส่งตรงไปยังแหลมฉบังด้วยเส้นทสงรถไฟทางคู่เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ขณะที่สินค้าจากสปป.ลาวและจีนตอนใต้จะเดินทางมาด้วยรถไฟไฮสปีดจากจีนก่อนเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ระบบรถไฟทางคู่ที่จ.หนองคายเพื่อไปสู่ท่าเรือในพื้นที่ EEC เช่นเดียวกับฝั่งกัมพูชาที่จำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานของEECเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้า ดังนั้นรัฐบาลจะเร่งลงทุนพัฒนาจุดส่งเสริมโลจิสติกส์ทั้งท่าเรือบกตามพื้นที่ภาคอีสาน ศูนย์เทกองสินค้าและตู้คอนเทนเนอร์ตามแนวรถไฟ(Container Yard) เพื่อรับรองรวมถึงผ่านขั้นตอนศุลกากรพร้อมลงเรือส่งออกไปประเทศที่สามได้เลย

นายอาคมกล่าวต่อว่าสำหรับจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งที่ต้องให้ความสำคัญเพื่อส่งเสริมโลจิสติกส์เข้าสู่EEC เข้ากับพื้นที้ตอนในอย่าง จ.นครราชามาและจ.ปราจีนบุรี เพราะถือเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมดั้งเดิมและมีศักยภาพเป็นฮับของเส้นทางEEC-อีสาน ซึ่งไทยได้เปรียบเรื่องวัตถุดิบและสินค้า ดังนั้นจึงต้องเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานระหว่างกันเพิ่มเติมอีก ในอนาคตจะพัฒนาถนนเลียบชายแดนและถนนสายหลักตาามเส้นทาง348 เชื่อมสินค้ามุกดาหารมายังอีอีซีและแผนต่อขยายเส้นทางมอเตอร์เวย์สาย 7 นอกจากนี้ยังมีแผนต่อรถไฟทางคู่จากEECไปยังกัมพูชาอีกด้วย

นายอาคมกล่าวอีกว่าสำหรับแผนไทม์ไลน์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้นเริ่มจากปี 2564 จะเปิดให้บริการศูนย์ซ่อมอากาศยานและศูนย์ฝึกทางการบิน (MRO) ในพื้นที่อู่ตะเภา ต่อมาในปี 2565 จะเปิดใช้ดิจิทัลพาร์ค รองรับอุตสาหกรรมไฮเทคและนิวเอสเคิร์ฟในพื้นที่ ในปี 2566 จะเปิดให้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินอีอีซีและขยายสนามบินอู่ตะเภาแล้วเสร็จ ส่วนปี 2567 จะเปิดใช้โครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 และการขยายท่าเรือมาบตาพุดแล้วเสร็จ อย่างไรก็ตามนอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้วการเดินทางที่สะดวกสบายยังเป็นสิ่งที่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"