ว่าด้วยเรื่องเลือกตั้ง


เพิ่มเพื่อน    

18n0701คอลัมน์ดร.เสรีหน้า7 ออกวันอาทิตย์ที่18 พฤศจิกายน 2561

ว่าด้วยเรื่องเลือกตั้ง
    ตลอดระยะเวลาที่เรามีรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ฝ่ายตรงกันข้ามก็มองว่ารัฐบาลที่มาจากรัฐประหารเป็นรัฐบาลเผด็จการ ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย โดยมองจากที่มาของรัฐบาล ไม่ได้มองการบริหารบ้านเมือง บางครั้งรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารอาจจะมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งด้วยซ้ำไป เพราะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นอาจจะเป็นเผด็จการทางรัฐสภา บริหารประเทศแบบไม่มีธรรมาภิบาลก็ได้ แล้วก็อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งจากเสียงข้างมาก ใครคัดค้านก็จะถูกกล่าวหาว่าไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่เคารพคะแนนเสียงของคนหมู่มากที่เลือกพวกเขามา ทั้งหมดนี้เป็นความจริงเชิงประจักษ์ที่พวกเราก็ได้เห็นมาแล้วในการกระทำของรัฐบาลที่เป็นเหตุให้มีการทำรัฐประหารถึง 2 ครั้ง ในปี 2549 และปี 2557
    เสียงเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งนั้น ไม่ได้มาจากฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาลเท่านั้น แต่มาจากกลุ่มที่เข้าข้างรัฐบาลด้วย ส่วนหนึ่งก็คือกลุ่มคนที่เห็นความจำเป็นในการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาของประชาคมโลก พวกนี้อาจจะมองว่าถ้าหากเรายังมีรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ไม่มีการเลือกตั้งผู้นำบางประเทศ สื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศอาจจะนำเสนอมุมมองแก่สาธารณชนในด้านความไม่เป็นประชาธิปไตยของประเทศ ดังนั้นจึงเห็นว่าสมควรให้มีการเลือกตั้ง (ทั้งๆ ที่ในความรู้สึกที่แท้จริงไม่อยากให้มีการเลือกตั้ง เพราะอยากเห็นการปฏิรูปและการจัดการกับคนผิดทั้งหลายให้จบสิ้นกระบวนการยุติธรรมก่อน) ในขณะเดียวกันก็มีคนที่อยู่ข้างรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารมาก่อน เริ่มมีความรู้สึกผิดหวังว่ารัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหารที่มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์เต็มตัว ไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศได้ตามความคาดหวังของพวกเขา เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ให้มีเลือกตั้งเพื่อภาพลักษณ์ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศจะดีกว่า
    บัดนี้มีการกำหนดวันเลือกตั้งไว้ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าจะเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ และมีการเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองประชุมได้ เลือกกรรมการพรรคได้ และหาสามาชิกให้ครบตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้ เราก็ได้เห็นบรรยากาศของความขัดแย้ง (ทางวาจา) รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่ใช่ความขัดแย้งที่มีประชาชนลุกขึ้นมาทำร้ายกัน (ตามการตีความของนักกฎหมายบางคนที่เขาบอกว่าถ้าหากยังไม่มีใครมาทำร้ายร่างกายกันก็ถือว่ายังไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ความขัดแย้งทางวาจาพวกเขาบอกว่ายังไม่มีความขัดแย้ง หรือการที่คนเกลียดชังกันเขาก็ถือว่าไม่มีความขัดแย้ง) เมื่อเราต้องตกอยู่ในสภาพของความขัดแย้งทางวาจา ด่าทอกันด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย มีนิสิตนักศึกษาออกมาทำกิจกรรมทางการเมือง (ที่ทางการไม่อาจจะเอาผิดอะไรได้ เพราะเป็นเสรีภาพของพวกเขาในการจะแสดงความคิดเห็น ก็ทำให้คนบางคนเริ่มไม่แน่ใจว่าเราจะมีการเลือกตั้งไหม หรือบางคนก็อาจจะเกิดความรู้สึกว่าไม่อยากเลือกตั้ง ยังอยากให้มีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หรือบางคนก็อาจจะบอกว่าจัดการให้คนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมให้จบสิ้นกระแสความก่อนน่าจะดี เพราะเวลานี้เราได้เห็นการกระทำหลายอย่างที่เป็นการกระทำที่ท้าทายกฎหมาย เพราะกฎหมายบ้านเราเป็นกฎหมายที่เปิดโอกาสให้มีการตีความ ทำให้การเอาผิดกับคนที่ทำสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรนั้นยากมาก ยากตั้งแต่จะเรียกพวกเขามารับทราบข้อกล่าวหาแล้ว เพราะทำไปก็จะโดนกล่าวหาว่าเป็นเผด็จการ ลิดรอนเสรีภาพของประชาชน และหากมีการฟ้องร้องกันก็ไม่ได้หมายความว่าจะเอาผิดพวกเขาได้ เพราะพวกเขาก็จะมีทนายความชั้นหนึ่งมาว่าความให้และตีความกฎหมายให้เป็นประโยชน์แก่คนที่ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม บัดนี้จึงเกิดคำถามว่า
เราอยากเลือกตั้งไหม
เราจะได้เลือกตั้งไหม
หลังเลือกตั้งจะเป็นไง
หลังเลือกตั้งจะสงบไหม
หลังเลือกตั้งจะยอมกันไหม
ถ้าหากนายใหญ่แพ้จะเกิดอะไรขึ้น
ถ้านายใหญ่ชนะจะทำเหมือนเดิมไหม
ที่ต้องถามคำถามเหล่านี้ก็เพราะว่า
ตอนนี้ด่ากันรุนแรง ยากที่จะปรองดอง
ตอนนี้หลายพรรคทำสิ่งที่หมิ่นเหม่ผิดกฎหมาย
ตอนนี้มีเสียงเรียกร้องให้จัดการคนทำผิด
ตอนนี้เหมือนยังเกรงใจคนผิด ไม่กล้าจัดการ
ตอนนี้กองเชียร์รัฐบาลเหนื่อยแล้ว
ฟังการตีความกฎหมายแล้วเพลียใจ
ฟังแล้วดูเหมือนจะจัดการคนผิดไม่ได้
คนทำผิดเขามองช่องโหว่กฎหมายมาดี
    ตอนนี้คงมีคนไม่น้อยที่อยากจะชวนให้พวกเราทั้งหลายคิดกันหน่อยว่าถ้าหากสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ เราจะได้เลือกตั้งตามที่กำหนดหรือไม่ หรือบางทีก็อาจจะต้องถามใจตัวเองเหมือนกันว่าอยากเลือกตั้งไหม ตอนนี้คงต้องถามกันว่า เรากลัวเหตุการณ์หลังเลือกตั้งไหมคะ เราคิดว่าทุกอย่างจะสงบเรียบร้อยดีไหม แต่ละฝ่ายจะยอมรับผลการเลือกตั้งโดนดุษณีหรือไม่
    มาถึงตอนนี้ก็อดคิดถึงคำถามที่นายกรัฐมนตรีเคยถามประชาชนนะว่าเราคิดว่าเมื่อมีการเลือกตั้ง เราคิดว่าเราจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ และถ้าหากเลือกตั้งแล้วเราได้รัฐบาลที่ไม่มีธรรมาภิบาล เราจะทำอย่างไรกัน ดูความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเวลานี้ก็อดห่วงไม่ได้ว่าเราอาจจะได้รัฐบาลที่ไม่มีธรรมาภิบาลแบบที่เราเคยเจอมาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วเราจะทำอย่างไรกัน เราจะกลับสู่วังวนเดิมอีกไหม ได้รัฐบาลไม่มีธรรมาภิบาล จนจะต้องมีการทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กำหนดกติกาใหม่ แล้วก็จัดให้มีการเลือกตั้ง และแล้วผลการเลือกตั้งก็จะออกมาแบบเดิม บ้านเมืองเผชิญปัญหาแบบเดิม เราเป็นอย่างนี้มากี่ปีแล้ว และจะต้องเผชิญปัญหาแบบนี้อีกกี่ครั้ง อีกกี่ปี นึกแล้วน่าเป็นห่วงจริงๆ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"