กพย.เผยต้องหาสารพันธุกรรมเชื้อดื้อยาใน"ส้ม" ที่ฉีดยาปฎิชีวนะ


เพิ่มเพื่อน    

cr:youtube.com

19พ.ย.61-กพย.เผยหน่วยวิจัย  การใช้ยาปฎิชีวนะในส้ม ดูแค่ผลส้มไม่พอ ต้องสำรวจการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ทั้งดินและน้ำอีกด้วย เพื่อให้ทราบข้อมูลการตกค้างของยาปฏิชีวนะ เชื้อดื้อยา และการตกค้างของสารพันธุกรรมดื้อยาอีกด้วย เผยจีนเคยมีประสบการณ์ พบเชื้อดื้อยาในหมู ข้ามสายพันธุ์ครั้งแรกของโลก
  
    จากกรณีพบสวนส้มในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลางมีการนำยาปฏิชีวนะอะม็อกซีซิลลินฉีดเข้าต้นส้มเพื่อรักษาโรคกรีนนิ่งในต้นส้ม โดยกลุ่มติดตามปัญหาชายแดน และศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.)มีความกังวลว่าผู้บริโภคผลส้มจะได้รับยามือสองและเกิดการตกค้างในสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาเกิดขึ้น และล่าสุดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ได้มอบหมายให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) ดำเนินการตรวจสอบโดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายยาปฏิชีวนะที่จัดเป็นยาอันตรายที่ต้องควบคุม ให้กับเกษตรกร
    ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) กล่าวว่า  เรื่องนี้ประเทศไทยมีนโยบายที่ดีว่าจะต้องการควบคุม ป้องกันการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมเป็นสุขภาพหนึ่งเดียว(One Health) ทางฝั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็มีความเข้มงวดขึ้น อย่างน้อยประกาศเรื่องการห้ามใช้ยาปฏิชีวนะในการเร่งการเจริญเติบโตที่จากเดิมมีการใช้กันมาก แต่ประเด็นคือเมื่อพูดถึงเกษตรไม่ใช่แค่ปศุสัตว์อย่างเดียว ยังมีประมงและพืชด้วย ฝั่งประมงมีการหารือกันว่าจริงๆมีข้อห้ามในการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริงยังไม่ชัดว่าระบบการเฝ้าระวังเป็นอย่างไร จึงจะต้องวางระบบการเฝ้าระวังการใช้อย่างเข้มงวดมากขึ้น หนึ่งในกลไกที่จะใช้ได้ผล คือ การให้ประชาชนเข้ามาร่วมเป็นกลไกในการเฝ้าระวังด้วย เพื่อสะท้อนกลับมาว่าผลกระทบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างไร  
          
         ผศ.ภญ.ดร.นิยดากล่าวว่า   สำหรับข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะในพืชนั้นมีหน่วยวิจัยอีกจำนวนหนึ่งที่เข้าไปสำรวจไม่เฉพาะแค่ผลส้ม แต่รวมถึงผลกระทบในน้ำและดินของพื้นที่โดยรอบสวนด้วย  เพราะฉะนั้นจึงเร่งกระตุ้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ต้องมีบทบาทสำคัญในการเฝ้าระวังในเรื่องนี้ ซึ่งก็มีการตื่นตัวและเริ่มวางแผนที่จะมีการสำรวจ  โดยการสำรวจจะทำให้ทราบข้อมูลการตกค้างของยาปฏิชีวนะ การตกค้างของเชื้อดื้อยา การตกค้างของสารพันธุกรรมดื้อยา  ซึ่งมีงานวิจัยจำนวนมากในประเทศจีนพบว่าการนำเลี้ยงในฟาร์มหมู นำไปสู่สารพันธุกรรมดื้อยาที่รุนแรง และเป็นชนิดข้ามสายพันธุ์ได้เป็นครั้งแรกของโลก  จึงมีการทุ่มให้ความสำคัญกับการป้องกันในสิ่งแวดล้อมค่อนข้างมาก  
    "เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะในภาคเกษตรนั้น มีการถกเถียงกันเยอะมากว่าถ้าไม่ใช้เลยจะดีที่สุด  แต่ในภาคเกษตรก็บอกว่ามันยากและจะเสียหาย สิ่งที่ยุโรปสรุปแล้ว คือ จะลดการใช้ให้มากที่สุด และบางแห่งจะเริ่มนำไปสู่การไม่ใช้ ขณะที่สหรัฐอเมริกายังผ่อนแรนเรื่องนี้อยู่มาก   มีเพียงแคลิฟอร์เนียที่จะเข้มในเรื่องนี้ โดยประกาศว่าจะไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ แต่ก็ยังเป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้น  อีกทั้ง เท่าที่ทราบภาคเกษตร เช่น แอปเปิ้ลในสหรัฐฯก็มีการใช้ยาปฏิชีวนะค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้น ในประเทศไทยมีมาตรการตรวจสอบเรื่องนี้ก่อนนำเข้ามาขายในประเทศหรือไม่ เหมือนกับที่สหภาพยุโรปมีการตรวจสอบสินค้าส่งออกจากไทยว่าจะต้องไม่เจอสิ่งต้องห้ามตามข้อกำหนด นี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องดำเนินการ รวมกับการสุ่มตรวจพืชผักที่ปลูกในประเทศเองก็จะต้องเพิ่มการตรวจการตกค้างยาปฏิชีวนะด้วยไม่เฉพาะเพียงแค่การตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือสารพิษอื่นๆที่ทำอยู่แล้วเท่านั้น และต้องเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงด้วย"

    นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า  ปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่สมเหตุสมผลในภาคเกษตร ปศุสัตว์ หรือประมงนั้น กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับทราบปัญหาและเข้าใจผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น  โดยเฉพาะอาจจะส่งผลให้เกิดเชื้อดื้อยาตั้งแต่ปี 2560  ซึ่งทราบว่าอยู่ระหว่างการดำเนินการพยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้และหาวิธีการ แนวทางที่จะแนะนำให้เกษตรกร เพื่อควบคุมการกระจายยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในส่วนของภาคประมงที่กรมประมงระบุ  โดยหลักการแล้วจะไม่ได้มีการแนะนำให้ผู้เลี้ยงใช้ แต่แอบมีการลักลอบใช้  ซึ่งอาจเกิดจากการเข้าใจที่ไม่ถูกต้องจึงจะมีหการเข้าไปหาข้อมูลและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ภายใต้แผนปฏิบัติการเรื่องการจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในภาคเกษตร
            นพ.สุรโชค กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาเชื้อดื้อยาของประเทศไทยมีการตั้งคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งมีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ รวมถึงกระทรวงเกษตรฯด้วย โดยมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดจาการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564 ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์  ในยุทธศาสตร์ที่ 4 เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯเป็นผู้รับผิดชอบหลักในยุทธศาสตร์นี้ 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"