ทส.-สธ.เอาจริงปัญหาฝุ่นจิ๋วPM 2.5 ถ้าเกินค่ามาตรฐาน3วัน ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมทันที 


เพิ่มเพื่อน    

19 พ.ย.61- พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กPM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีนายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงฯ พร้อมด้วยนายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เข้าร่วมประชุมเพื่อนำเสนอการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองและรับนโยบายเพื่อไปสู่การปฏิบัติ


พลเอก สุรศักดิ์ กล่าวว่า การป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้กำชับให้จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากสถานการณ์ปี 2560 แม้มีการแจ้งเตือนฝุ่น PM 2.5 ประชาชนรู้ภัย แต่มาตรการปฏิบัติและแก้ไขยังขาดความชัดเจน ปีนี้จึงเชิญทุกหน่วยงานประชุมและสรุปแนวทางรับมือ โดย ทส.ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลขึ้น ณ อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรฯ  เพื่อบัญชาการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องป้องกันและแก้ไขปัญหาให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานในช่วงเกิดสถานการณ์ระหว่างเดือนธ.ค.-เม.ย.นี้ เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศนิ่ง ฝุ่นละอองจึงสะสม ไม่กระจายตัว ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน


พลเอกสุรศักดิ์ กล่าวว่า ในปีนี้มาตรการระยะสั้นป้องกันฝุ่นPM 2.5 ช่วง ม.ค.ถึง มี.ค.2562 กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จะรายงานข้อมูลฝุ่น PM 2.5 และแจ้งเตือนเป็นลำดับตามระดับสี ตั้งแต่สีเหลือง สีส้ม และสีแดง ผ่านช่องทางทั้งเว็บไซด์ของภาครัฐและแอพพลิเคชั่นเพื่อให้หน่วยงานดำเนินงานตามมาตรการ ซึ่งจะเข้มข้นขึ้นตามระดับสี หากเป็นสีเหลืองจะแจ้งเตือนวันละ 1 ครั้ง ขอความร่วมมือควบคุม กำกับดูแล บังคับใช้กฎหมายกับแหล่งกำเนิด เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ระดับสีส้มเป็นต้นไป จะเพิ่มการแจ้งเตือนเป็นวันละ 3 ครั้ง พร้อมแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงและลดการออกกำลังกายภายนอกอาคาร ชะลอหรือลดกิจกรรมการเกิดฝุ่นของแหล่งกำเนิด และให้จังหวัดจัดหน่วยลาดตระเวนเฝ้าระวังการเผาในที่โล่ง และเมื่อสถานการณ์อยู่ในระดับสีแดงจะแนะนำให้ประชาชนงดการออกกำลังกายภายนอกอาคาร จนถึงการพิจารณาปิดโรงเรียนและงดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง รวมถึงเพิ่มความเข้มงวดมาตรการ ตรวจจับรถควันดำ ห้ามจอดริมถนน การควบคุมมลพิษจากโรงงาน การก่อสร้าง การเผาวัสดุการเกษตร ขยะชุมชน ควบคุมการระบายควันจากเตาเผาศพ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในวันที่ฝุ่นสูง รวมถึงการปฏิบัติการทำฝนหลวงหากสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ยังไม่คลี่คลาย ที่สำคัญคือ ขอความร่วมมือประชาชนลดการใช้ยานพาหนะ ส่วนมาตรการระยะยาวจะเดินหน้าการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อลดปัญหามลพิษอากาศ มีกำหนดปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้เทียบเท่ามาตรฐานยูโร 5 ในปี 2566 


" การป้องกันฝุ่น PM 2.5 ปีนี้เป็นปีแรกที่มีมาตรการดูแลสุขภาพคนไทยอย่างจริงจัง ถ้าตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กพบเกิน 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรที่บริเวณใดติดต่อกันถึง 3 วัน ซึ่งอยู่ในระดับวิกฤตมาก ประชาชนดำรงชีวิตด้วยความลำบาก เพราะค่ามาตรฐานต้องไม่เกิน 50 ไมโครกรัม จะใช้ พ.ร.บ.การสาธารณสุขปี 2535 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2561 ประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญเพื่อหยุดมลพิษทั้งหมด สามารถระงับการก่อสร้างที่เป็นต้นกำเนิดฝุ่นชั่วขณะ " รมว.ทส. กล่าว


ด้าน นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า การประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญจะใช้กำกับดูแลพื้นที่ที่ปรากฎเหตุรำคาญขึ้นและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนหรือเสี่ยงกระทบสุขภาพ ให้ป้องกันและระงับมลพิษนั้น ถ้าผู้ประกอบการฝ่าฝืนมีโทษทั้งปรับและจำคุก สำหรับแนวโน้มตัวเลขผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจขณะนี้ยังทรงๆ แต่ที่น่ากังวลคือผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด และมะเร็งชนิดอื่นๆ รวมถึงโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุเกิดโรคดังกล่าว 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"