วธ.เผยโพลลอยกระทง คนไทยเห็นด้วย'1ครอบครัว 1 กระทง'


เพิ่มเพื่อน    

 

     นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า  ได้รับรายงานว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ร่วมกับสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นเด็ก เยาวชนและประชาชน หัวข้อ “ประเพณีลอยกระทง ปี 2561” จากกลุ่มตัวอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ 6,298 คน ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 97.29 ทราบว่า ประเพณีวันลอยกระทงตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 หรือวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561 รองลงมาร้อยละ 91.34 เห็นด้วยกับนโยบาย “1 ครอบครัว 1 กระทง” เพื่อลดปริมาณขยะและการทำลายธรรมชาติ ร้อยละ 84.54 ทราบว่า เป็นประเพณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมกันจัดงานภายใต้แนวคิด“ลอยกระทงปลอดภัย สืบสานวัฒนธรรมไทย ใส่ใจสายน้ำและสิ่งแวดล้อม”  ร้อยละ 51.55 ทราบว่า ประเทศไทยร่วมกับประเทศอาเซียน จัดงานประเพณีลอยกระทงอาเซียนที่จังหวัดระนอง บุรีรัมย์ สุโขทัย ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชลบุรี นครราชสีมา กระบี่ สงขลา และจังหวัดเชียงใหม่  และร้อยละ 76.70 คิดว่า คุณค่าและประโยชน์ของประเพณีลอยกระทง เพื่อระลึกถึงพระคุณของแม่น้ำลำคลอง และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำ ได้แก่ พระแม่คงคา

    นายวีระ กล่าวอีกว่า ผลสำรวจพบอีกว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางหรือมาตรการให้ใช้กระทงที่ประดิษฐ์ด้วยวัสดุย่อยสลายง่าย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันตั้งใจจะใช้กระทงที่ประดิษฐ์จากต้นกล้วย ใบตอง ดอกบัว ขนมปัง  พืชผัก โดยสถานที่ที่ปลอยระชาชนจะไป “ลอยกระทง” มากที่สุดได้แก่ อันดับ 1 จังหวัดเชียงใหม่ การลอยโคม หรือ “ประเพณียี่เป็ง” อันดับ 2 จังหวัดสุโขทัย “ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ” อันดับ 3 ภูมิลำเนาของตนเอง อันดับ 4 จังหวัดตาก “ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1000 ดวง”และอันดับ 5  จังหวัดนครพนม“ประเพณีไหลเรือไฟ” นอกจากนี้ ประชาชน ร้อยละ 81.02 สนใจเข้าร่วมชมกิจกรรมในงานประเพณีวันลอยกระทงในจังหวัดของตน เพี่อชมการประกวดกระทง  ชมการแสดงทางวัฒนธรรม ร่วมกิจกรรมสาธิตอาหารพื้นบ้าน และการสาธิตประดิษฐ์กระทงตามลำดับ

       นายวีระ กล่าวด้วยว่า ขณะเดียวกันประชาชนส่วนใหญ่คิดว่า จะมีส่วนช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีลอยกระทงได้โดยแต่งกายชุดไทย หรือชุดพื้นถิ่นไปร่วมงานประเพณีลอยกระทง ชักชวนคนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ญาติ และคนรู้จัก ไปร่วมงานประเพณีลอยกระทง  สืบสานวัฒนธรรมประเพณี โดยประดิษฐ์กระทงจากวัสดุธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ นอกจากนี้  ยังต้องการให้ วธ.ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสเข้าร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงในท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น เพื่อให้ประเพณีลอยกระทงคงอยู่ตลอดไป โดยเห็นว่าควรจัดในรูปแบบเรียบง่าย ปลอดภัย รักษาสิ่งแวดล้อม และปลอดอบายมุข เพิ่มกิจกรรมถ่ายทอดวิธีการประดิษฐ์กระทงด้วยตนเองจากวัสดุธรรมชาติ วางแนวทางและมาตรการรณรงค์เพื่อสืบสานคุณค่าทางวัฒนธรรมประเพณีลอยกระทงในแต่ละปีตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และประชาสัมพันธ์ประเพณีลอยกระทงให้ยิ่งใหญ่ในทุกช่องทางสื่อ ครอบคลุมทั่วโลก เพื่อให้คนทั่วโลกหันมาสนใจเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น

 

                                      


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"