'ดร.อาทิตย์'นำ 114 นักวิชาการเรียกร้องทบทวน EEC เพื่อคุ้มครองพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียง


เพิ่มเพื่อน    

23 พ.ย.61 - ที่ศาลากลาจังหวัดฉะเชิงเทรา ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และ ประธานเครือข่ายวิชาการและประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม (วสส.) มอบหมายให้ตัวแทนจากมหาวิยาลัยรังสิต นายธัชพงษ์ แกดำ และ นายสมภพ ดอนดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เข้ายื่นหนังสือต่อ นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ ประธานคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่ (อกขร.พื้นที่) เพื่อให้รัฐบาลทบทวนนโยบาย EECธัชพงษ์ แกดำ และ นาย สมภพ ดอนดี ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยรังสิต ได้นำหนังสือจากดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีฯ และ ประธาน วสส. เข้ายื่นต่อ นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ ประธานอกขร.พื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัด ฉะเชิงเทรา ก่อนการประชุมรับฟังข้อเท็จจริงกรณีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจEEC ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี

โดยมีสาะระสำคัญ คือ ให้คณะอนุกรรมการฯ อกขร.พื้นที่ นำเสนอข้อมูลความจริงต่อรัฐบาลเพื่อให้ปฏิบัติตามเป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ภายใต้ประกาศเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก - EEC อย่างเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ และวิถีชีวิตประชาชน ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs หลักกฎหมาย และหลักเศรษฐกิจพอเพียง บริเวณลุ่มน้ำบางปะกง เนื่องจากมีการประกาศเขต EEC ทับพื้นที่สีเขียวในเขตอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ซึ่งรวมถึงโครงการท่าเรือบก โครงการสร้างสถานีซ่อมรถไฟ ในเขตฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกการดำเนินโครงการเป็นการทำผิดกฎหมายผังเมือง พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนครแห่งที่ ๒ ของนายวิกรม กรมดิษฐ์ ที่ได้รับการประกาศเป็นเขต EEC โดยเฉพาะพื้นที่โครงการบลูเทค ซิตี้ ซึ่งเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อเกษตรกรรมตามประกาศผังเมือง ห้ามมิให้มีการก่อสร้างคลังสินค้า แต่ อบต.ตำบลเขาดิน ได้ออกใบอนุญาตขุดดินและถมดินระบุว่าเพื่อทำคลังสินค้า อันเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ส่วนการขายที่ดินของเจ้าของที่ดินที่จะสร้างโครงการ บลูเทค ซิตี้ กระทำผิดกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพราะเป็นการขายที่ดินนาโดยไม่แจ้งผู้ให้เช่าตัดสินใจก่อน 

ประการสำคัญคือพื้นที่โครงการดังกล่าว ขณะนี้ยังไม่ผ่าน EIAแต่ผู้ลงทุนกำลังถมบ่อปลาและที่นา พร้อมกับมีการขนเครื่องมือก่อสร้างมาไว้ในโครงการเป็นจำนวนมากแล้ว

ในหนังสือของ ดร.อาทิตย์ ยังระบุอีกว่า การดำเนินโครงการในพื้นที่ดังกล่าว จะสร้างความเสียหายต่อวิถีชีวิตที่ดำเนินตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างรุนแรง เพราะล้วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำคัญยิ่งของประเทศ เป็นแบบอย่างที่ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้ครบทุกขั้นตอน ผลผลิตบางชนิดได้ส่งไปขายในต่างประเทศ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนการปัจจุบันเป็นการสร้างความเสียหายอย่างชัดเจน ทำให้ภาคเกษตรกรรมเป็นฝ่ายสูญเสียแต่ภาคอุตสาหกรรมเป็นฝ่ายได้ประโยชน์ เป็นการขยายช่องว่างในสังคมให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น ผิดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน - SDGs ซึ่งมีความพยายามที่จะเปลี่ยนสีผังเมืองจากพื้นที่เกษตรกรรมเป็นโรงงานอุตสาหกรรมทั้งนี้ เป็นการเลือกปฎิบัติและทำผิดกฎหมาย EEC เพราะเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ตามที่ระบุไว้ อุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น เช่น โรงงานแบตเตอรี่ที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายเป็นต้น 

หนังสือยังระบุอีกว่าพื้นที่บางปะกง บ้านโพธิ์ และพานทองมีภูมิประเทศที่ลุ่มต่ำ เป็นที่รองรับน้ำหลากธรรมชาติ เหมาะกับเกษตรกรรม ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นเมืองสองน้ำคือฤดูน้ำจืดทำนา ฤดูน้ำเค็มเลี้ยงปลากุ้งปู มีป่าชายเลนที่สำคัญ มีนกและสัตว์ธรรมชาติหลายชนิดอยู่อย่างสมดุลย์กับระบบนิเวศ จึงควรส่งเสริมเกษตรกรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและชุมชน ซึ่งอยู่ในเป้าหมายของ พรบ.EECเขต EEC ส่วนมากประกาศทับนิคมอุตสาหกรรมเดิม มีโรงงานจำนวนมากที่เปิดมานาน บางโรงงานในเขต EEC ทำกิจการรับซื้อเศษเหล็ก อันขัดกฎหมาย EEC ที่ว่า “..ส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม..”

ตอนท้ายของหนังสือได้เสนอให้ตรวจสอบความโปร่งใสเพราะพบหลักฐานว่าอาจมีประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากพบว่า นายวิษณุ เครืองาม ประธานกรรมาธิการพิจารณาร่าง พรบ.EEC แต่ขอลาออกจาก ประธานบริษัท อมตะฯ เพียง 1 วัน ก่อนดำรงตำแหน่งรองนายกฯ ต่อมา นิคมอุตสาหกรรมอมตะฯ 3 แห่ง ได้รับการประกาศเป็นเขต EEC โดยมีพื้นที่มากที่สุดถึงร้อยละ 42 หรือ 41,834ไร่ ของพื้นที่ประกาศทั้งหมดรวม 98,714 - 3 -4.05  ไร่ จึงเสนอให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างละเอียด

ดร.อาทิตย์และเครือข่ายฯ เห็นว่าจะเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน หากขาดมาตรการคุ้มครองอาชีพเกษตรกรรมให้มีความมั่นคง จึงมีข้อเสนอ ดังนี้(1) ขอให้เปิดเวทีสาธารณะรับฟังเสียงประชาชน โดยให้หน่วยงานต่างๆชี้แจงแสดงภาพรวมแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนการพัฒนาอุตสาหกรรม การขนส่ง ฯลฯ กล่าวคือ แสดงแผนที่และแผนผังการพัฒนาของทุกหน่วยงานบนแผ่นเดียวกันเพื่อให้ประชาขนเข้าใจภาพสุดท้ายของการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในเขตอำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ และอำเภอพานทอง เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความต้องการของตนอย่างทั่วถึง มีสัดส่วนประชาชนเข้าร่วมเวทีที่อาศัยในพื้นที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และให้มีเวทีวิชาการ โดยมีนักวิชาการอิสระ ประกอบด้วยผู้มีประสบการณ์ทุกแขนงที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะนักวิชาการและผู้รู้ในพื้นที่ นักวิชาการด้านน้ำ ระบบนิเวศ เกษตร ท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สุขภาพชุมชน ฯลฯ ซึ่งต้องเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการของรัฐ หรือบริษัทที่ปรึกษา เพื่อนำเสนอแนวคิด โดยให้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของ คณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่ (อกขร.พื้นที่) ที่มีนายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ เป็นประธาน

(2) นำผลการรายงานจากข้อ (1) ปรับปรุงหรือทบทวนนโยบาย คำสั่ง หรือประกาศที่ออกไปแล้วให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ สอดคล้องกับศักยภาพ และสภาพภูมิประเทศอย่างแท้จริงตามแนวทางภูมิสังคม ซึ่งเป็นหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9

(3) เมื่อมีประชาชนที่แสดงความต้องการที่จะดำรงชีพตามแนวพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอพียงไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใด หรืออยู่ในพื้นที่ใด ขอให้รัฐบาลออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อคุ้มครองประชาชนเหล่านั้น โดยศักดิ์ของกฎหมายต้องอยู่ในระดับเดียวกับกฎหมายคุ้มครองภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งให้ประชาชนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐเมื่อเทียบคุณค่าหรืองบประมาณแล้วต้องไม่น้อยไปกว่าที่ให้กับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งระยะเวลาออกกฎหมายต้องไม่ช้านานกว่าการออกกฎหมาย EEC หรือต้องประกาศกฎหมายเขตเศรษฐกิจพอเพียงโดยไม่ชักช้า หรือไม่เกิน ๑ ปี หลังจากวันที่ประชาชนแสดงความต้องการของตนตามข้อ (1)

(4) สำหรับเกษตรกรรายย่อยผู้เคยเช่าที่ทำนา บ่อปลา หรือทำเกษตรกรรมและอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งเจ้าของที่ดิน ได้ขายที่ดินที่เกษตรกรเคยเช่าทำกินไปแล้วนั้น หากเกษตรกรรายใดประสงค์ที่จะทำอาชีพเกษตรกรรมต่อไป ให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อที่ดินเดิม ตามขนาดและจำนวนที่เกษตรกรรายเดิมประสงค์จะทำเกษตรกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยทำเป็นโฉนดร่วมกันของชุมชน ไม่สามารถซื้อขายหรือนำไปใช้ประโยชน์ในการอื่นที่นอกเหนือจากเกษตรกรรมและอยู่อาศัยเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอของ ดร.อาทิตย์ มีนักวิชาการจำนวน 114 คน ร่วมลงชื่อสนับสนุน


นายธัชพงษ์ แกดำ และ นายสมภพ ดอนดี อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เข้ายื่นหนังสือต่อ นายแพทย์ อำพล จินดาวัฒนะ ประธานคณะอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายเชิงพื้นที่

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"