บีโอไอหนุนเอกชนลงทุน 3 จังหวัดภาคใต้


เพิ่มเพื่อน    

บีโอไอหนุนเอกชนลงทุน 3 จังหวัดภาคใต้รับโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ย้ำจุดยืนดึงการลงทุนของภาคเอกชน สร้างรายได้ เผยไฟเขียวโรงแรม หนุนการท่องเที่ยว ขณะที่บริษัทหนองจิกพัฒนา ลงทุนผลิตผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว คาดดันยอดใช้วัตถุดิบจากเกษตรกรในพื้นที่ กว่า 500 ล้านบาทต่อปี

นายเศกสรรค์ เรืองโวหาร ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บีโอไอได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการโรงแรม และกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว โดยทั้ง 2 กิจการตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายตามนโยบายส่งเสริมการลงทุนภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ของรัฐบาลที่มุ่งสร้างงานสร้างรายได้ รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

“รัฐบาลมีนโยบายโครงการเมืองต้นแบบในพื้นที่ 3 อำเภอ ใน 3 จังหวัด คือ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส บีโอไอจีงให้สิทธิประโยชน์เป็นพิเศษมากกว่าการลงทุนชายแดนใต้ปกติ การลงทุนของทั้ง 2 กิจการครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่านักลงทุนเห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ ช่วยสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนรายอื่นให้ตัดสินใจเข้ามาลงทุนต่อไป” นายเศกสรรค์ กล่าว

ทั้งนี้ กิจการโรงแรมเป็นของกลุ่มนักลงทุนจากมาเลเซีย เงินลงทุน 120 ล้านบาท เป็นโรงแรมแบบทันสมัยสำหรับกลุ่มลูกค้าที่เป็นครอบครัว หรือกลุ่มที่เข้าพักเพื่อประชุม สัมมนา ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่แล้ว ยังก่อให้เกิดรายได้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ของที่ระลึก ขนส่ง รวมถึงก่อให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ด้วย

สำหรับกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เป็นโครงการลงทุนของบริษัท หนองจิกพัฒนา จำกัด โดยจะผลิตน้ำกะทิ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ผลิตภัณฑ์น้ำมะพร้าว รวมถึงใช้ประโยชน์จากกะลามะพร้าว ผิวมะพร้าว กากมะพร้าว และใยมะพร้าว เป็นต้น เงินลงทุนรวม 500 ล้านบาท โครงการนี้จะผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปต่างประเทศ เช่น จีน อเมริกา และยุโรป ซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่มผู้แพ้นมวัว หรือกลุ่มผู้บริโภคนมจากพืชที่เป็นออร์แกนิค หันมาให้ความสนใจบริโภคน้ำกะทิกันมากขึ้น โดยวัตถุดิบที่ เป็นมะพร้าวผล และเนื้อมะพร้าว โครงการจะรับซื้อจากชุมชนในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คาดว่าจะช่วยให้เกิดการกระจายรายได้แก่เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวได้ไม่น้อยกว่าปีละ 500 ล้านบาท

นายเศกสรรค์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งภายใต้นโยบายของบีโอไอ ประกอบด้วย 2 มาตรการ คือ1.มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ คลอบคลุม 4 จังหวัดชายแดนใต้ และ 4 อำเภอใน จ.สงขลา และ 2.มาตรการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” คลอบคลุมพื้นที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส

ทั้ง 2 มาตรการจะได้รับสิทธิและประโยชน์ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน และลดหย่อน 50% เพิ่มเติมอีก 5 ปี ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เป็นต้น แต่หากลงทุนในพื้นที่เมืองต้นแบบจะได้รับสิทธิประโยชน์มากกว่าการลงทุนตามมาตรการชายแดนใต้ เช่น ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบที่ผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 10 ปี จากปกติ 5 ปี เป็นต้น ทั้งนี้นักลงทุนสามารถยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้ง 2 มาตรการได้ภายในวันที่ 30 ธ.ค. 2563

นอกจากนี้ การส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ชายแดนใต้ ยังมีความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ทั้งระบบ อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ซึ่งล่าสุดได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิต และพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครอบคลุมทั้ง 3 พื้นที่โครงการเมืองต้นแบบ เพื่อทำหน้าที่ให้บริการเบ็ดเสร็จด้านกำลังคนโดยมี 2 กลุ่ม เป้าหมาย คือ กลุ่มนักลงทุนที่ต้องการแรงงานในพื้นที่ และกลุ่มแรงงานที่ต้องการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิต


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"