รร.เข้าตลาดหุ้นช่องโหว่กม.ได้รับยกเว้นภาษีต่างจากบริษัททั่วไปใน"ตลท."


เพิ่มเพื่อน    

 

“หมอธี.”ตั้งข้อสังเกตุ   กรณีโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์นำหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้โรงเรียนเป็นธุรกิจได้รับสิทธิพิเศษการยกเว้นภาษี แตกต่างจากบริษัททั่วไปที่อยู่ในตลาดหุ้นที่ต้องเสียภาษีตามปกติ  ถือเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ต้องทบทวน   เพราะอาจมีรายอื่นทำตาม ล่าสุดมอบให้ฝ่าย กม.ตรวจสอบ พร้อม หารือ สมาคมโรงเรียนนานาชาติ หาแนวทางแก้ไข  ด้านก.ล.ต.-ตลาดหลักทรัพย์ฯ  ยันไม่ผิด สามารถทำได้ พร้อมเทรดวันที่29 พ.ย.นี้ 

 

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน)  บริษัทเอกชนที่เป็นผู้รับใบอนุญาตในการจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์  กำลังจดทะเบียนและเข้าในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในวันที่ 29 พ.ย..2561 ว่า ตามกฎหมายในพ.ร.บ. โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 นั้น ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย แต่เรื่องดังกล่าวจะพิจารณาเฉพาะกฎหมายไม่ได้ต้องดูเรื่องจริยธรรมว่าถูกต้องหรือไม่  ซึ่งขณะนี้ตนได้มอบฝ่ายกฎหมายให้ตรวจสอบเรื่องนี้อีกครั้ง เพราะใจตนนั้น มองว่าถ้าเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษี และไประดมทุน เพื่อให้ได้กำไรมากขึ้นและไม่ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น เป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ ยิ่งในธุรกิจนั้นมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษา การจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำไปเพื่ออะไรหากไม่ต้องการกำไร อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่สามารถยุติบริษัทดังกล่าวไม่ให้นำโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ทันที แต่จะพยายามทำในส่วนที่ตนมีอำนาจสามารถทำได้ 

ทั้งนี้หากบริษัทนี้ทำสำเร็จ บริษัทอื่นอาจจะทำตามหรือไม่ ตนคิดว่าต้องมาศึกษาข้อกฎหมายให้ดี ต้องดูว่าเป็นช่องว่างทางกฎหมายหรือไม่ อีกทั้งในอดีตมีบริษัทเอกชนที่จะทำแบบนี้หรือไม่ และหากทำไม่สำเร็จก็ต้องมาดูว่าเป็นเพราะอะไร เนื่องจากเรื่องนี้ถ้าเป็นบริษัททั่วไปอยู่หรือไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ต้องเสียภาษี แต่บริษัทที่เป็นเจ้าของโรงเรียนเอกชนจะไม่เสียภาษีตามนโยบายของรัฐ ที่ไม่ต้องเสียภาษี เพราะถือเป็นการจัดการศึกษา ดังนั้น หากบริษัท และโรงเรียนเอกชนได้กำไรมากขึ้น เป็นแบบนี้อาจจะเข้าข่ายธุรกิจการศึกษา

 

“ขณะนี้ได้มีการหารือกับทางสมาคมโรงเรียนนานาชาติเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขอให้ทางสมาคมดำเนินการพูดคุยและหาแนวทางในเรื่องดังกล่าว  เพราะถ้ามองในส่วนรัฐบาล ถ้าเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นถือเป็นการแสดงเจตจำนงว่าต้องการผลกำไร และหากต้องการผลกำไรมากๆ ถ้าทำแบบนี้กระทรวงการคลังต้องเก็บภาษีหรือไม่ และจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง  อีกทั้งต้องทบทวนว่ากฎหมายดังกล่าว ตีความถูกต้องหรือไม่ เพราะต่อให้กฎหมายอาจจะถูก แต่อาจจะไม่ถูกจริยธรรม ตรงตามเจตนารมณ์ในการจัดการศึกษาของประเทศ ดังนั้น จะประสานไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ว่าต้องดำเนินการอย่างไร ใครมีหน้าที่อย่างไร อยากให้มีความชัดเจนก่อนที่จะให้ทางบริษัทดังกล่าวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และถ้าดำเนินการดังกล่าวกลายเป็นธุรกิจการศึกษา ต้องเก็บภาษี ซึ่งจะไปปรึกษากระทรวงการคลังในเรื่องนี้ต่อไป”รมว.ศธซ กล่าว

 

นายชลำ อรรถธรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กล่าวว่า ขณะนี้ สช.ได้ประสานไปยัง กลต.แล้วทราบว่าก่อนหน้านี้บริษัทมีการประกาศขายและมีผู้ติดต่อซื้อแล้ว แต่ในวันที่ 29 พ.ย. จะประกาศขึ้นกระดานเพื่อซื้อขายหุ้นอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ตามพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2560 มาตรา 22 กำหนดว่า บริษัทมหาชน บริษัทในห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถขอจัดตั้งโรงเรียนได้ แต่มีเงื่อนไข 2 ข้อ คือว่า จำนวนหุ้นและจำนวนผู้ถือหุ้นมากกว่ากึ่งหนึ่ง ดังนั้น การที่บริษัทดังกล่าวจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ ถือว่าไม่ผิดกฎหมายของ สช.จึงไม่ใช่อำนาจของ สช.ในการจะเข้าไปบอกให้บริษัทเข้าหรือไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่จะเป็นอำนาจของ กลต.ในการชะลอไม่ให้บริษัทดังกล่าวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งหากทาง กลต.ต้องการให้ สช.จัดทำหนังสือตั้งข้อสังเกต หรือขอข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงเรียนของบริษัทดังกล่าว ทาง สช. ยินดีให้ความร่วมมือในทุกเรื่อง

             

รายงานข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เปิดเผยว่า บมจ.เอสไอเอสบี ผู้ประกอบธุรกิจโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์  จะเริ่มทำการซื้อขายหุ้นในวันที่ 29 พ.ย.61 หลังจากที่ผ่านมาได้มีการเปิดให้จองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (ไอพีโอ) 260 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ราคาหุ้นละ 5.20 บาท ซึ่งจะได้รับเงินระดมทุนครั้งนี้มูลค่ารวม  1,352 ล้านบาท บริษัทจะนำเงินไปชำระคืนเงินกู้ยืมสถาบันการเงิน และส่วนที่เหลือจะนำเงินไปใช้ในการขยายธุรกิจการศึกษา

 

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวถึงกรณีที่มีข้อร้องเรียนให้ทบทวนการอนุมัติ บมจ.เอสไอเอสบี เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ที่ผ่านมา ก.ล.ต.ได้สอบถามไปที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับหลักของโรงเรียนเอกชนแล้ว และได้รับการยืนยันว่าไม่มีกฎข้อห้ามไม่ให้โรงเรียนเอกชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

"กรณีธุรกิจโรงเรียนเตรียมเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯมองว่าไม่ได้ผิดกฎเกณฑ์ เพราะผ่านการอนุญาตจากหน่วยงานหลักแล้ว ซึ่งในอนาคตหากจะมีธุรกิจลักษณะนี้สนใจเข้ามาในตลาดหุ้นอีก และผ่านเกณฑ์ดังกล่าวก็สามารถเข้ามาระดมทุนได้"

 

เลขาก.ล.ต.กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ทุกธุรกิจจะต้องลงทุน เพื่อทำให้ธุรกิจดีขึ้น รวมถึงธุรกิจโรงเรียนเอกชนด้วย ทำให้จะต้องมีการระดมทุนด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และระดมทุนจากประชาชน ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ ส่วนโรงเรียนจะคิดค่าธรรมเนียมแพงหรือไม่ ต้องไปถามหน่วยงานกำกับหลัก 

 

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า ไม่มีข้อห้ามให้ธุรกิจโรงเรียนเอกชนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่ ตลท.ได้สอบถามไปยังหน่วยงานกำกับดูแลว่าติดขัดอะไรหรือไม่ เมื่อทางหน่วยงานกำกับก็บอกว่าไม่ติดขัด ก็สามารถดำเนินการได้ ซึ่งการนำสถาบันการศึกษาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะทำให้มีความโปร่งใสมากขึ้น เพราะทุกคนสามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลและเปรียบเทียบกับสถาบันอื่นได้ง่ายขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"