5G: เมื่อหุ่นยนต์ใกล้ ความเป็นมนุษย์มากขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

     สัปดาห์ก่อนผมขึ้นเวทีกับผู้เชี่ยวชาญหลายๆ ด้านเพื่อวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่จะเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยใช้เทคโนโลยี 5G ในปี 2563 ตามกำหนดของ กสทช. ภาพที่เห็นจะมีความน่าตื่นเต้นสำหรับทุกวงการ และความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะตามมาจะพลิกโฉมของธุรกิจเกือบทุกประเภท
    ที่สำคัญคือมันจะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    วันก่อน พันเอก ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ กรรมการ กสทช.ที่เพิ่งกระโดดเข้าสู่การเมืองส่งข้อความนี้มาให้ผม เป็นการอธิบายถึงผลจาก 5G ที่คนไทยจะต้องรับรู้ 
    ผมขอนำมาเล่าต่อให้อ่านเพื่อเป็นการปูพื้นเรื่องราวที่ผมจะเขียนในหัวข้อนี้ในวันข้างหน้า ดร.เศรษฐพงค์เขียนไว้อย่างนี้
    ในยุค 5G หุ่นยนต์และมนุษย์จะทำงานร่วมกันในโรงงาน ซึ่งในโรงงานจะทำหน้าที่เหมือนวงออเครสตรา มากกว่าจะเป็นเพียงกลุ่มของสายการผลิตที่มีเครื่องจักร มนุษย์ และหุ่นยนต์ที่ต่างก็มีบทบาทแตกต่างกัน แต่กลับมาทำงานร่วมกัน พื้นโรงงานจะเป็นแบบไดนามิก และปรับแต่งใหม่ได้ เพื่อให้เหมาะกับผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตขึ้น
    หุ่นยนต์ที่มีเซนเซอร์นำทางจะสามารถเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งได้ โดยไม่มีการชนกันด้วยความเร็วในการส่งข้อมูลของ 5G ที่เร็วกว่า 4G ถึง 100 เท่า และมีความหน่วงเวลา  (delay) ต่ำกว่า 1 มิลลิวินาที
    หุ่นยนต์จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบคลาวด์ได้แบบเรียลไทม์ เพื่อความปลอดภัยและสั่งการ ซึ่ง 5G ไม่ได้สำคัญแค่เรื่องความเร็ว แต่จะมีการเพิ่มจำนวนเครือข่ายที่สามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น และสามารถรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Internet of Things ได้ถึงล้านล้านอุปกรณ์ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน 5G Infrastructure Public Private Partnership ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มร่วมกันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในยุโรปและ EU
    5G จะทำงานได้ดีสำหรับทั้งการสื่อสารในระยะสั้นและระยะไกล สนับสนุนคุณสมบัติด้านความปลอดภัย และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทางเทคนิคแล้ว 5G จะสามารถใช้งานได้โดยใช้พลังงานเพียงแค่หนึ่งในพันของพลังงานที่ใช้โดย 4G และแบตเตอรี่มีอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในเรื่องการบำรุงรักษาและเหมาะกับการใช้ในโรงงานที่มีเครื่องจักรอัตโนมัติที่ซับซ้อน
    ถึงแม้ว่าโรงงานแห่งอนาคตในยุค 5G ยังไม่ได้เริ่มเป็นรูปเป็นร่าง ณ วันนี้ก็ตาม แต่หุ่นยนต์ที่มีการใช้งานอยู่แล้วจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ประมวลผลที่มีราคาไม่แพง เซ็นเซอร์ที่สามารถจับภาพและเก็บข้อมูลจำนวนมากและอัลกอริธึมการประมวลผลข้อมูลที่ซับซ้อน และเทคโนโลยีเหล่านี้กำลังมารวมกันเพื่อสร้างเครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ (Machine Learning) ภายใน 2 ปีนี้
    ตามรายงานของ PricewaterhouseCoopers ในอนาคตหุ่นยนต์จะได้รับการฝึกและเรียนรู้ โดยใช้ทรัพยากรสำหรับการเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning) ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)  ขั้นสูงบนระบบคลาวด์ โดยในอนาคตโรงงานจะมีหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับมนุษย์ด้วยการสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์
    เครื่องจักรบางชิ้นจะประมวลผลข้อมูลของตัวเอง ที่หนึ่งรอบเวลาที่ใช้ในการทำงานสำเร็จหนึ่งงานจะใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งมิลลิวินาที เครื่องจักรจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลสตรีมมิง ในขั้นตอนนี้เรียกว่า  Edge computing ที่จะสามารถทำการวินิจฉัยด้วยตนเองและตัดสินใจกำหนดค่าใหม่ได้เองภายใต้กรอบนโยบายและกฎในการผลิต
    ในยุค 5G เทคโนโลยี Augmented Reality (AR) จะช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาด โดยการสวมเลนส์ AR ทำให้คนในไลน์การผลิตที่ยังคงมีอยู่สามารถเข้าถึงข้อกำหนดและคำแนะนำต่างๆ โดยละเอียด ช่วยลดเวลาในการฝึกอบรมและช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานอย่างอื่นได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
    ขณะที่บริษัท Lockheed Martin คนงานก็กำลังใช้ AR เพื่อสร้างเครื่องบินเจ็ต F-35 ด้วยการแสดงผลบนกระจกแว่นตาที่พวกเขาสวมใส่ ทำให้เห็นได้ว่าแต่ละชิ้นส่วนควรวางตำแหน่งใด ทำให้เพิ่มผลผลิตได้ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และเพิ่มความแม่นยำขึ้นถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในโรงงานแห่งอนาคต ทีมงานฝ่ายสนับสนุนจะมีการใช้ AR เพื่อตรวจสอบกระบวนการแบบเรียลไทม์ ที่จะสามารถมองเห็นได้เช่นเดียวกับที่คนงานมองเห็นผ่านแว่นตา AR และจะได้ให้คำแนะนำในการแก้ไขหรือสั่งงานได้ทันที
    ในยุคระบบสื่อสารบรอดแบนด์เคลื่อนที่ 5G จะเป็นการเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของรูปแบบธุรกิจในอนาคต ซึ่งซัพพลายเออร์จำนวนมากกำลังสร้างอุปกรณ์ 5G ซึ่งจะช่วยผลักดันการแข่งขันและสร้างประสิทธิภาพด้านต้นทุน โดยจะมีมาตรฐานออกมาและใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายใน 2020
    บริษัทด้านโทรคมนาคมทุกวันนี้ให้บริการโดยตรงกับลูกค้าที่เป็นผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่ในการทำงานกับโรงงาน พวกเขาอาจจะต้องทำข้อตกลงกับบุคคลที่สามที่เป็นบริษัทผู้ติดตั้งระบบ อย่างเช่น  Huawai, Cisco, Sigfox, NEC เป็นต้น จึงทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า Mobile operators จะต้องเปลี่ยน business model ในยุค 5G ในอนาคตอันใกล้
    ดังนั้นในยุค 5G ระบบสื่อสารเคลื่อนที่จะมีบทบาทที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะเข้าไปมีบทบาทในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมาก โดยจะทำให้เกิดการปฏิวัติการผลิตสินค้าให้เป็นแบบ M2M และ M2H  อย่างแน่นอน และมันจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดแพลตฟอร์ม IoT และ robotics ที่เติบโตขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เห็นภาพอย่างนี้แล้วหากคนไทยไม่รีบปรับตัวให้ทันก็จะตกอยู่ในสภาพ "ซอมบี" แห่งโลกดิจิทัลได้เลย!


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"