สับเละการศึกษา ปิดกั้น-เหลื่อมลํ้า ชงดัน'วาระชาติ'


เพิ่มเพื่อน    

     ทุกพรรคการเมืองเห็นพ้อง การศึกษาคือวาระแห่งชาติ "กัญจนา" สับกระทรวงศึกษาฯ 20 ปีมี เสมา 1 ไปแล้ว 21 คน ส่งผลนโยบาย-งานไม่ต่อเนื่อง "หญิงหน่อย" ชูธงกระจายอำนาจการศึกษา ทีดีอาร์ไอกะเทาะปมเหลื่อมล้ำสูง นักเรียนเมือง-ชนบท 
    เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีการจัดงานเสวนา “ชวนพรรคร่วมคิด พลิกห้องเรียน เปลี่ยนโลก” จัดโดยภาคีเพื่อการศึกษาไทย(TEP) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) โดยมีตัวแทนจากหลายพรรคการเมืองเข้าร่วมเสวนา 
    นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ตัวแทนภาคีเพื่อการศึกษาไทยและนักวิชาการจากทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ประเทศไทยประสบปัญาการศึกษาหลายข้อ ได้แก่ 1.คุณภาพการศึกษาต่ำ และตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง โดยดูจากดัชนี นักเรียนไทยสอบวัดความสามารถ ทักษะในการคิด ในส่วนของการใช้ทักษะคิดวิเคราะห์ของ OPCD เราพบว่าครึ่งหนึ่งของเด็กไทยยังไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ 2.ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีอยู่มาก จากความแตกต่างระหว่างนักเรียนชนบทและนักเรียนในเมือง ในส่วนของวิชาการคิดวิเคราะห์และการอ่าน บางแห่งพบว่า หลักสูตรการศึกษามีระยะห่างกันถึง 3 เทอม ในช่วงการศึกษาเดียวกัน 3.สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ เนื่องจากงบการศึกษาพุ่งขึ้นถึง 2 เท่าครึ่ง ในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา แต่เกิดความไม่มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางความท้าทายของโลก อย่างเรื่องปัญญาประดิษฐ์ ที่จะเข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ย่อมผลกระทบต่ออัตราว่างงานของนักศึกษาจบใหม่ เช่นเดียวกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ที่คนทุกวัยต้องปรับตัวให้เหมาะสม
    ด้านนางกัญจนา ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การศึกษาเป็นการผสมกันระหว่างเรื่องทฤษฎีคู่ไปกับการปฏิบัติ และควรเชื่อมโยงกับธรรมชาติแวดล้อมและท้องถิ่น พร้อมเสริมสร้างให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองได้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม 20 ปีที่ผ่านมา เรามี รมว.ศึกษาธิการถึง 21 คน ทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในการบริหาร แต่ละคนต่างเร่งทำผลงาน เพราะไม่รู้ว่าจะต้องโยกย้ายเมื่อไร ประเด็นดังกล่าวส่งผลต่อการทำงานของข้าราชการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเสนอให้พรรคการเมืองใหญ่พิจารณา ทำให้กระทรวงศึกษาธิการปลอดจากการเมืองได้หรือไม่ โดยให้มี รมว.ที่เป็นคนกลาง เพื่อนโยบายการศึกษาต่อเนื่อง
    นางสาวกุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่รับผิดชอบเรื่องการศึกษา กล่าวว่า สถานการณ์การศึกษาในระบบตอนนี้ เรามีครูที่กำลังจะเกษียณอายุถึง 270,000 คน ขณะที่เรามีครูใหม่อีก 160,000 คน หมายความว่าโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอนครั้งใหญ่ของประเทศไทยคือช่วงเวลานี้ ในประเด็นหลักสูตรการศึกษา เราจะทำอย่างไรให้บางลง โดยเพิ่มทักษาะการใช้งานที่จำเป็นของเด็กเป็นตัวตั้ง โรงเรียนสามารถออกแบบหลักสูตรของตัวเองได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม การออกแบบหลักสูตรต้องประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครอง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย เช่นเดียวกับระบบการประเมินเด็ก ซึ่งปัจจุบันการประเมินของเราเป็นการประเมินเพื่อหาความผิดพลาด แต่ไม่ใช่การประเมินเพื่อพัฒนา ขณะที่ผู้ที่ทำหน้าที่ไม่มีสิทธิ์ออกแบบแนวทางการประเมินดังกล่าวแต่อย่างใด
    นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ให้ความเห็นว่า การปฏิรูปการศึกษาอย่างเดียวไม่พอ ต้องเอาวาระพัฒนาคนมาเป็นวาระแห่งชาติด้วย วันนี้เราไปปิดกั้นเด็กเกินไป การศึกษาที่ไม่เอื้ออำนวยเป็นการปิดกั้นเด็ก วันนี้เร่งแก้ปัญหาในอดีต เป็นเรื่องที่ทุกพรรคต้องแก้ ต้องเตรียมเด็กให้เป็นทรัพยากรของโลกได้ ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจ ถือเป็นการกระจายการศึกษาได้ เราจะใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนของเขาได้ถือเป็นการกระจายอำนาจลงไปนั้น ส่วนตรงนั้น เห็นแบบนี้แล้วมันมีความสุขมาก ฉะนั้นเราไม่ต้องเอาหลักสูตรมาเป็นการตัดเสื้อโหลให้เด็กใส่
    “หัวใจของการกระจายอำนาจการศึกษาคือการเอาเด็กเป็นศูนย์กลาง และการให้พ่อแม่มีส่วนร่วมในการกำหนดการศึกษาของลูก แต่เมื่อระบบที่มีกระทรวงศึกษาธิการเป็นศูนย์กลาง คงไม่สามารถทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นจริงได้ ขณะเดียวกันเราต้องพิจารณาความสอดคล้องของความต้องการของคนในแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยกระทรวงศึกษาธิการและท้องถิ่นทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการดำเนินการเหล่านี้ พร้อมเปลี่ยนตัวชี้วัดใหม่ทั้งหมด” นางสุดารัตน์กล่าว
    นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่รับผิดชอบการเขียนนโยบายพรรค ให้ทัศนะว่า การเปลี่ยนตัว รมว.บ่อย ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน ได้ถามไปยังนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ อดีต รมว.ศึกษาธิการ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนายชินวรณ์กล่าวว่า ปัญหาเดียวคือเรื่องเวลาในการทำงานของผู้บริหารในกระทรวงเท่านั้น อย่างไรก็ดี การสร้างความเข้มแข็งนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ผ่านการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายโดยผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ  จากด้านล่างขึ้นบน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ที่ต้องเน้นให้เด็กสามารถสื่อสารได้ ไม่ใช่เพียงแค่สอบ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย กำหนดเวลาเรียนให้เพียงพอ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนใหม่ เช่นเดียวกับการลดขนาดของกระทรวงศึกษาธิการ ก่อนจะมองถึงการกระจายอำนาจด้านการศึกษา ตอนนี้ยังมีเด็กไทยอีก 15% ที่ไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แต่ไม่มีใครตอบได้ว่าทั้ง 15% นั้นเป็นใคร และอยู่ที่ไหน อีกทั้งกระทรวงศึกษาธิการเองยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างครบถ้วนและรอบด้าน ซึ่งในส่วนนี้เป็นเรื่องแรกที่ต้องทำก่อน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"