งานจักสานวัสดุในท้องถิ่น ทรงคุณค่าจากฝีมือตายาย


เพิ่มเพื่อน    

      ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าแต่ละชุมชนล้วนแล้วแต่มีของดีอยู่ โดยเฉพาะพืชประจำท้องถิ่นที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นงานหัตถศิลป์ อาทิ ต้นกก ไม้ไผ่ กระทั่งทางมะพร้าวที่ช่วยให้ผู้สูงอายุใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ที่สำคัญยังสุขผลดีต่อสุขภาพ หากว่างานฝีมือชิ้นนั้นๆ ผู้สูงวัยได้เป็นผู้ถ่ายทอดให้กับคนในท้องถิ่น จากการสอบถามไปยัง ผศ.สาวิตรี สิงห์หาด อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ม.อุบลราชธานี มีคำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพท้องถิ่นที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นต้นแบบให้กับคนวัยเก๋าในพื้นที่อื่นๆ ได้หันมาหยิบจับทำงานฝีมือโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ ว่า

(ผศ.สาวิตรี สิงห์หาด)

      “อันที่จริงแล้วสูงอายุถือเป็นปูชนียบุคคล และเป็นผู้ที่มีคุณค่าทางสังคม อีกทั้งมีความเพียบพร้อมในความรู้ที่สามารถเป็นต้นแบบในการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่สั่งสมมาจากอดีตสู่ปัจจุบันให้กับลูกหลานและคนในชุมชน โดยเฉพาะงานหัตถศิลป์ที่สร้างทั้งรายได้และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นจากการหากิจกรรมทำ เพื่อป้องกันโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ ตลอดจนโรคเรื้อรังอื่นๆ เฉกเช่นผู้สูงวัยที่อยู่ใน ต.บัววัด อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่รอบๆ ม.อุบลราชธานี ที่ผู้สูงอายุสามารใช้เวลาว่าง ในการสร้างงานหัตถศิลป์ โดยใช้ไม้ไผ่ที่ปลูกไว้ในชุมชน โดยทำเครื่องจักสานอย่าง “การสานพัดไม้ไผ่” ที่ถือได้ว่าเป็นงานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นและใช้วัสดุรอบตัวอย่างต้นไผ่ที่นำมาแปรรูป หรือจักตอกให้เป็นเส้น และนำไปย้อมสี ประกอบกับเมื่อชิ้นงานสำเร็จออกมา ก็จะมีความสวยงามและทรงคุณค่า

      โดยเอกลักษณ์ของพัดไม้ไผ่จากชุมชนบ้านบัววัดทำขึ้นจะมีความคงทน อีกทั้งประณีต เนื่องจากตัวพัดจะใช้ไม้ไผ่อ่อนในการสาน ส่วนด้ามก็จะเลือกใช้ไม้ที่มีลักษณะแข็งขึ้นมานิดหน่อย เพื่อให้ถือได้สะดวกเวลาที่ใช้งาน เรียกได้ว่างานฝีมือดังกล่าวสร้างความภูมิใจ ให้กับผู้สูงวัยในชุมชนบ้านบัววัดเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหากคนสูงวัยได้ถ่ายทอดงานภูมิปัญญาดังกล่าวในรูปแบบของปราชญ์ชาวบ้านไปให้ลูกหลานและคนในชุมชน รวมถึงนักศึกษาได้เรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมที่สามารถเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ เช่นกัน

(“กระติบข้าวเหนียว” จากฝีมือปู่ย่ายาตาย ที่สามารถดีไซน์ให้มีรูปทรงสวยงาม และก่อให้เกิดความภูมิใจกับคนวัยเก๋า อีกทั้งยังสามารถจำหน่ายเป็นอาชีพได้)

      รองลงมาเป็นงานจักสานภาชนะใส่อาหารของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างการ “สานกระติบข้าวเหนียวจากต้นกก” ที่ขึ้นอยู่ในท้องถิ่นและสามารถหาได้ง่าย อีกทั้งยังเป็นพืชที่ไม่ต้องใช้สารเคมีในการปลูก นั่นจึงทำให้ชิ้นงานดังกล่าวปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้ใช้ ที่สำคัญงานฝีมือดังกล่าวยังถือเป็นกิจกรรมสันทนาการอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะการที่ผู้สูงวัยได้มาเจอกัน และงานจักสานยังกระตุ้นการใช้สมองจากการนับแถวในการสานกระติบข้าวเหนียว หรือออกแบบลวดลายของภาชนะดังกล่าวให้สวยงาม ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งโรคอัลไซเมอร์และโรคซึมเศร้าในคราวเดียวกัน

(“ไม้กวาดทางมะพร้าว” งานฝีมือประโยชน์เยอะ)

 

      ปิดท้ายกันที่งานภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ทำใช้เองก็ได้หรือจะทำขายกันในชุมชนก็มีประโยชน์ทั้งสิ้น อย่างการ “สานไม้กวาดทางมะพร้าว” ที่ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เพราะในแต่ละชุมชนก็มักจะปลูกต้นมะพร้าวจำนวนมากอยู่แล้ว เพียงแค่ตัดทางมะพร้าวมารีดใบออกให้เหลือแต่ก้าน นำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมามัดให้เป็นแพ ต่อด้วยการทำด้ามไม้ไผ่เสียบเข้าไป และใช้ตะปูตอกเพื่อยึดด้ามและปลายไม้กวาดให้ติดกัน เพื่อป้องกันหลุดขณะใช้งาน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงทำให้ผู้สูงวัยมีกิจกรรมทำ แต่ท่านยังได้เคลื่อนไหวร่างกาย และจะมีประโยชน์ทางใจอย่างมาก หากว่าได้ทำงานฝีมือที่กล่าวมาทั้ง 3 ประเภท เพื่อมอบให้ลูกหลานและเพื่อนบ้านเป็นของขวัญปีใหม่ ที่มาจากฝีมือและความตั้งใจของคนรุ่นปู่ย่าตายาย

      ชุมชนไหนที่มีวัสดุใกล้เคียงกับที่กล่าวมา คุณตาคุณยายก็สามารถนำดัดแปลงให้เป็นงานฝีมือที่ทรงคุณค่าและสวยงามน่าใช้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่เท่านั้น แต่หากพัฒนาให้มีความสวยงาม และมีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย ก็จะถือได้ว่าจะสร้างประโยชน์นานัปการให้คุณตาคุณยายที่เป็นเจ้าของไอเดีย รวมถึงลูกหลานในชุมชนก็มีกิจกรรมยามว่างที่ช่วยให้ห่างไกลยาเสพติดและสิ่งเมามัว เพราะทุกมิติที่กล่าวมาล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน...งานนี้เชื่อว่าคุณลุงคุณป้าคงมีงานฝีมือในดวงใจเมื่อครั้งในอดีต ที่รอการนำมาปัดฝุ่นให้สวยงามและน่าใช้...จริงไหมค่ะ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"