บอร์ดกัญชาเพิ่มอีก2กลุ่มโรคใช้การแพทย์ /แฉไทยแอบตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจแปซิฟิกกับญี่ปุ่นมีผลกระทบกัญขาด้วย


เพิ่มเพื่อน    


8 ม.ค.62- ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.โสภณ เมฆธน ที่ปรึกษารมว.สาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการฯ ว่า เดิมที่ประชุมมีมติให้มีการใช้กัญชาทางการแพทย์ 4 กลุ่มโรคเท่านั้นคือ ลมชักในเด็ก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับยาเคมีบำบัด และปวดเรื้อรัง โดยจะศึกษาปริมาณความต้องการใช้เพื่อกำหนดการปลูกและผลิต อีกทั้งล่าสุดที่ประชุมให้มีการดำเนินการศึกษาอีก 2 กลุ่มโรคคือ กลุ่มที่น่าจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ เครียด และการใช้ในระยะสุดท้ายเพื่อคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็ง และกลุ่มที่อาจจะมีประโยชน์ เช่นการใช้นำมันกัญชาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งจะต้องเริ่มวิจัยตั้งแต่หลอดทดลอง และคลินิกต่อไป โดยรอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาไปจัดทำกรอบการดำเนินการต่อไป

ด้านนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ อย. กล่าวว่า การใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่ระหว่างพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษประกาศใช้อย่างเป็นทางการ แต่ระหว่างนี้อย.ก็ได้เร่งทำกฎหมายลูก 8 ฉบับตามออกมาซึ่งในจำนวนนี้มีกฎกระทรวง 2 ฉบับที่ต้องรอให้กฎหมายแม่ประกาศใช้ก่อนถึงจะประกาศตามได้ แต่ในส่วนของร่างประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 3 ฉบับ และประกาศคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ 3 ฉบับ ทั้ง 6 ฉบับนี้ ถ้าเสร็จก็ประกาศใช้ได้เลย ซึ่งคาดว่าเร็วๆ นี้ เพราะขณะนี้คืบหน้าไปมาก ทั้งนี้ ในกฎหมายลูกมีการพูดถึงเรื่องการใช้กัญชาในกลุ่มที่ 2 ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ทางการแพทย์นั้น ซึ่งเป็นยาที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิจัยทางคลินิกก็จะให้เป็นการใช้ผ่านช่องทางพิเศษ โดยทำหลักเกณฑ์ วิธีการ ในคนไข้บางคนที่มีความต้องการใช้นั้นต้องเป็นความเห็นร่วมกันระหว่างแพทย์และคนไข้ ซึ่งเรื่องนี้จะมีการรับฟังความเห็นจากวิชาชีพที่เกียวข้องต่อไป

ด้านนพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แพทย์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการคณะกรรมการฯ กล่าวว่า ขณะนี้ข้อบ่งใช้ทางการแพทย์ขยายกว้างมากขึ้น ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มโรคมีหลักฐาน เป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว ส่วนกลุ่มที่ 2 จะต้องมีการทำความเข้าใจกับคนไข้ และแพทย์ในการใช้ว่าไม่สามารถรักษาให้หายได้ เช่น โรคทางสมอง พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ หรือการเจ็บปวด แต่ก็อยากให้ขยายใช้ในกลุ่มคนที่มีความจำเป็น แต่รักษาทางอื่นไม่ได้แล้ว เช่นคนสูงอายุ 80-90 ปี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราพยายามทำกันมาทั้งหมด จะเป็นความสูญเปล่าทันที เพราะจากการตรวจสอบข้อมูล นอกจากปัญหาคำขอสิทธิบัตรกัญชาที่กรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ดำเนินการยกเลิกแล้ว ยังพบว่ารัฐบาลไทยไปรับปากรัฐบาลญี่ปุ่นว่าจะแสดงความจำนงเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืชกัญชาด้วย ซึ่งจะหมายความว่าประเทศไทยไม่สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่ไทยผลิตได้ หรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์กัญชาจากประเทศอื่นที่นอกเหนือจากญี่ปุ่น หากใช้ต้องจ่ายค่าสิทธิบัตร ดังนั้นในวันที่ 11 ม.ค.ภาคประชาสังคม 3 คน มหาวิทยาลัยรังสิต 3 คน และสภาการแพทย์แผนไทยจะมีการเดินทางไปพบนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เพื่อทวงถามความชัดเจนเรื่องนี้

“จากสิ่งที่รัฐบาลชุดนี้ทำมาตั้งแต่การไม่แบนสารเคมี 3 สารในภาคเกษตร จนถึงเรื่องของการใช้กัญชาทางการแพทย์ ทำให้ผมตัดสินใจได้อย่างชัดเจนมากว่าจะไม่เลือกพรรคพลังประชารัฐเป็นรัฐบาลต่อแน่นอน” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"