บันทึกหน้า4


เพิ่มเพื่อน    

      storage.thaipost.net จับกระแสการเลือกตั้ง ที่เข้าสู่ช่วงพรรคการเมืองนอกจากกำลังคัดตัวคนลงเลือกตั้งกันแล้ว อีกเรื่องที่สำคัญก็คือ การสู้กันที่นโยบายพรรคที่ต้องประกาศตอนหาเสียงเลือกตั้ง แม้การเมืองไทยเรื่องนโยบายพรรคการเมืองจะพบหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาเข้าไปมีอำนาจเป็นรัฐบาลก็ทำกันไม่ได้ทุกเรื่อง แล้วอ้างเหตุผลต่างๆ เช่น มีปัญหาเรื่องงบประมาณ หรือเวลาไม่พอ มีปัญหาในทางปฏิบัติ ยิ่งหากสังคมไม่ตรวจสอบทวงถาม ส่วนใหญ่ก็จะลืมๆ กันไป..อย่างตอนนี้ แนวทางสร้างมูลค่าเพิ่มให้ ส.ป.ก. ที่พรรคพลังประชารัฐชูแนวคิด "เปลี่ยน สปก.4-01 ให้เป็นที่ดินทองคำ" หรือ “สปก.4.0” หลัง สุชาติ ตันเจริญ แกนนำพรรคพลังประชารัฐชูแนวทางดังกล่าว โดยให้เหตุผลสำทับตามมาหลังมีข้อคิดเห็นแย้งแนวคิดดังกล่าวโดยเฉพาะจากคนประชาธิปัตย์ด้วยการระบุว่า "วัตถุประสงค์ของ ส.ป.ก.ต้องการช่วยเหลือคนจน แต่ไม่ใช่ต้องให้จนดักดาน การช่วยเหลือคนจน โดยรัฐสนับสนุนให้ประชาชนมีที่ดินทำกิน ก็ควรจะหาทางทำให้ประชาชนลืมตาอ้าปากได้ และสามารถอยู่ดีมีสุขเพิ่มขึ้น หรือเป็นคนรวยไปเลยก็ได้ ทำไมจะต้องตีกรอบว่า คนที่จะได้รับที่ดิน ส.ป.ก.ต้องจนดักดานอยู่อย่างนั้น เราไม่ใจดำกับประชาชนเกินไปหรือ ต้องกดหัวให้เขาต้องเหนื่อยทุกข์ยาก ทำไร่ไถนาเลือดตาแทบกระเด็น แล้วก็เป็นหนี้อยู่อย่างนั้น ชั่วนาตาปี พอจะมีเงินเดี๋ยวคุณสมบัติก็ขาดจะถูกยึด ส.ป.ก.คืนอย่างนั้นน่ะหรือ”

      แนวคิดดังกล่าว แกนนำพรรคพลังประชารัฐ อย่าง "สมศักดิ์ เทพสุทิน อดีต รมว.เกษตรและสหกรณ์” ก็ออกมาการันตีระหว่างนำทัพพรรคพลังประชารัฐลงหาเสียงที่จังหวัดนครราชสีมาเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “พปชร.ต้องการแก้ปัญหาให้กับประชาชนทั้งประเทศ ที่ถือครองที่ดิน สปก.4-01 โดยเฉพาะไม่สามารถโอนให้ลูกหลานได้ พปชร.ได้พูดคุยประเด็นนี้มานาน รวมถึงได้พูดคุยกับประชาชนที่มีที่ดิน ส.ป.ก. พปชร.ยืนยันส.ป.ก.ต้องถูกเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การเปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก.เป็นโฉนด จะไม่ไปสู่มือคนรวยหรือนายทุน เพราะไม่ใช่วัตถุประสงค์” เมื่อแกนนำพลังประชารัฐประสานเสียงกันแบบนี้ ก็เชื่อว่านโยบายเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ให้กับ ส.ป.ก. จะเป็นหนึ่งในนโยบายหลักในการหาเสียงของพลังประชารัฐแน่ๆ

      ...เรื่องการถกเถียงกันว่านโยบายไหนทำได้-ไม่ได้ โดยเฉพาะหากพรรคการเมืองต่างๆ งัดสู้กันอย่างมีเหตุมีผล ถือว่าเป็นเรื่องดีอย่างยิ่งที่คนให้ความสำคัญกับเรื่องเชิงนโยบาย ไม่ใช่มามัวแต่ทะเลาะกันไปมาในประเด็นการเมืองรายวัน เพราะเมื่อแต่ละฝ่ายก็งัดข้อมูล เหตุผลมาสู้กันทางความคิด สุดท้ายจะเป็นประชาชนเองที่จะตัดสินว่าจะซื้อนโยบายที่พรรคการเมืองนั้นๆ เสนอมาหรือไม่ ซึ่งเมื่อไปสำรวจแนวทางของพรรคประชาธิปัตย์ในเรื่องนโยบายเศรษฐกิจ ก็พบว่าก่อนหน้านี้พรรคก็ชูนโยบายเกี่ยวกับเรื่องที่ดินทำเกษตรออกมาเหมือนกัน และพูดก่อนพรรคพลังประชารัฐนานร่วมเดือนเสียด้วยซ้ำ อันเป็นแนวทางที่จับประเด็นได้ว่า ปชป.บอกว่า ต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง ที่ดินทำกิน การเข้าถึงปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตร เช่นเรื่องของน้ำ ผ่านโครงการอย่างเช่น "โฉนดสีฟ้า” เช่น เรื่อง  โฉนดชุมชนจัดการตนเอง เพื่อที่อยู่ ที่ทำกิน โดยออก พ.ร.บ.โฉนดชุมชน เพื่อให้สิทธิ์ในการจัดการตนเองไปยังชุมชน ที่สำคัญ ปชป.ยังมีแนวทางยกระดับ ส.ป.ก.ให้สามารถนำมาขอกู้เงินจากธนาคารของรัฐได้ รวมถึงนำมาเป็นหลักทรัพย์ประกันตัวในศาลได้ และสามารถสืบทอดตกถึงลูกหลานได้ พ่วงไปกับนโยบายอื่นๆ เช่น การเดินหน้า ธนาคารที่ดิน เพิ่มที่ทำกินให้คนไทย ตลอดจนนโยบาย “โฉนดทันใจ” สะสางโฉนดที่ดินที่ค้างท่อมานาน เร่งรัดทำให้โฉนดให้ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ สค.1 นส.3 และเอกสิทธิต่างๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายให้เสร็จตลอดจนแนวคิดจัดตั้ง “กองทุนน้ำชุมชน” เพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้ตลอดปี มีเงินทำแหล่งน้ำทุกหมู่บ้าน โดยภาครัฐจะจัดสรรงบและผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำให้ชาวบ้านสามารถจัดการแหล่งน้ำด้วยตนเอง ..เอ้า เห็นการแข่งขัน ขับเคี่ยวกันของพรรคการเมืองผ่านการสู้กันที่นโยบายแบบนี้ พลางมองไปที่บางพรรคอย่างเพื่อไทย พรรคใหญ่ที่คาดจะชนะเลือกตั้ง กลับไม่พบเห็นว่า เพื่อไทย จะเริ่มออกมาพูดนโยบายพรรคอะไรแบบพรรคอื่นเสียที หรือต้องรอให้ ทักษิณ ชินวัตร ส่งพิมพ์เขียวมาให้ก่อน ตามคอนเซ็ปต์ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ กันหรือเปล่า?

      ...นอกเหนือจากเรื่องการเตรียมเข็นนโยบายพรรคเพื่อหาเสียงแล้ว เรื่องรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของแต่ละพรรคการเมืองก็น่าจับตาเช่นกัน โดยเฉพาะพรรคใหญ่ที่มีโอกาสตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง อย่าง “ประชาธิปัตย์” ทางเลขาธิการพรรค จุติ ไกรฤกษ์ ยืนยันเสียงแข็ง ให้ความเห็นว่า หาก ปชป.คุยเรื่องนี้เมื่อใด ก็จะบอกกับที่ประชุมพรรคว่า ปชป.ต้องเสนอชื่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนเดียวพอ ไม่ต้องมีชื่อสำรอง โดยให้เหตุผลว่า เพราะมั่นใจในความสามารถของหัวหน้าพรรคและทีมงานของพรรค ปชป. แต่ก็ต้องฟังมติพรรคที่จะออกมา ขณะที่พรรคคู่แข่งอย่างเพื่อไทย แม้สุดท้ายอาจมีชื่อทั้ง สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แต่จุดสำคัญอยู่ที่ว่าหากฝ่ายเพื่อไทยชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาล ใครกันแน่ที่จะถูกเสนอชื่อให้เป็นนายกฯ เพราะไม่แน่เสมอไปที่จะเป็น "เจ๊หน่อย” หลังเริ่มมีข่าวพรรคเครือข่ายอย่างไทยรักษาชาติก็ตั้งป้อมไม่เอาเช่นกัน ...


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"