บอร์ดบีโอไอขยายขอบเขตส่งเสริมลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยวและระบบราง


เพิ่มเพื่อน    

 

บอร์ดบีโอไอเคาะขยายขอบเขตการส่งเสริมการลงทุน เปิดกว้างธุรกิจท่องเที่ยว อาทิ พิพิธภัณฑ์ ท่าเรือท่องเที่ยว สนามแข่งรถ และระบบราง

12 ม.ค. 2562  นางสาวดวงใจ  อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า บอร์ดได้เห็นชอบปรับปรุงแก้ไขหรือขยายขอบเขตประเภทกิจการ อาทิ จากเดิมกำหนดเพียง "กิจการพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ" ปรับเป็น "กิจการพิพิธภัณฑ์" และลดวงเงินลงทุนขึ้นต่ำเป็น 30 ล้านบาท จาก 100 ล้านบาท เพื่อเปิดกว้างให้พิพิธภัณฑ์ทุกประเภทอย่างพิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เป็นต้น กิจการสนามแข่งขันยานยนต์ ที่กำหนดวงเงินลงทุนขึ้นต่ำ 1,000 ล้านบาท เนื่องจากต้องการโครงการที่ดีมีมาตรฐาน ซึ่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์โดยเฉพาะในเมืองรอง ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5ปี 

ขณะเดียวกันได้เพิ่มประเภทกิจการ ได้แก่ 1.กิจการท่าเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ (CRUISE TERMINAL) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำ วงเงินลงทุนขึ้นต่ำเป็น 100 ล้านบาท  2.กิจการสร้างแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ เพื่อสนับสนุนให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่มีขนาดใหญ่และได้มาตรฐาน สำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้บอร์ดบีโอไอยังอนุมัติมาตรการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากในอนาคตจะมีการพัฒนาระบบรางระยะทางรวมมากกว่า 6,000 กิโลเมตร ทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และพบว่าในอนาคตอีก 20 ปีจะมีต้องการตู้รถไฟถึง 10,000 ตู้ รวมถึงลดการพึ่งพาการนำเข้า 

โดยการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์สำหรับระบบรางที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญ และการผลิตชิ้นส่วนและ/หรือระบบสนับสนุนที่จำเป็น อาทิ การผลิตโครงสร้างหลัก ตู้โดยสาร ห้องควบคุมรถและอุปกรณ์ โบกี้ ระบบห้ามล้อและ/หรือชิ้นส่วนสำคัญ ระบบไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบควบคุมและระบบอาณัติสัญญาน รางและชิ้นส่วนราง เป็นต้น รวมทั้งการออกแบบทางวิศวกรรมจะได้รับการยกเว้นภาษีรายได้นิติบุคคล 8ปี 

และหากยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนภายในวันที่ 30 ธ.ค. 2564 จะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 3 (กรณีลงทุนทุกจังหวัดยกเว้น กทม.) และจะได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี (กรณีลงทุนใน จ.ขอนแก่นและนครราชสีมา) ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากเกณฑ์ปกตินับเป็นมาตรการเร่งการลงทุน

สำหรับการขอรับส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปี2561 พบว่า มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมจำนวน 422 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 683,910 ล้านบาท เป็นคำขอลงทุนในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมากที่สุดจำนวน193 โครงการ เงินลงทุนรวม 576,910 ล้านบาท ตามด้วยจังหวัดระยอง 156 โครงการ เงินลงทุนรวม 58,700 ล้านบาท และจังหวัดฉะเชิงเทราจำนวน 73 โครงการ เงินลงทุนรวม 48,300 ล้านบาท และปี 2562 คาดว่าการลงทุนจะไม่น้อยกว่า 300,000 ล้านบาทเทียบกับเป้าปีที่แล้ว

ส่วนแผนชักจูงการลงทุนหรือโรดโชว์ปลายเดือน ม.ค. เตรียมร่วมคณะเดินทางไปกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรียังประเทศญี่ปุ่น เมืองคันไซ คือเป้าหมายหลัก จากนั้นยังมีประเทศเป้าหมาย เช่น  จีน เกาหลี  สหรัฐอเมริกา และกลุ่มยุโรป 

นอกจากนี้ที่ประชุมได้อนุมัติส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ในการขยายกิจการผลิตผลิตพาราไซลีน (PARAXYLENE) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นหลักสำหรับการผลิตโพลีเอสเตอร์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เช่น เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เม็ดพลาสติกที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำดื่ม เป็นต้น  และสารเบนซีน (BENZENE) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตปิโตรเคมีขั้นปลายชนิดพิเศษอื่นๆ เงินลงทุนทั้งสิ้น 35,960 ล้านบาท ตั้งกิจการอยู่ที่เขตอุตสาหกรรมของบริษัท ไออาร์พีซี จังหวัดระยอง โครงการนี้จะใช้เทคโนโลยีการผลิตใหม่ล่าสุด และเป็นการผลิตเพื่อรองรับตลาดในประเทศและส่งออกซึ่งกำลังขยายตัว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"