ฝุ่นสู่โซนอันตรายกทม.ขอฝนหลวง พบค่าเพิ่มสูงทุกพื้นที่ อัศวินตั้งกก.แก้ปัญหา


เพิ่มเพื่อน    

 อากาศเมืองกรุงและปริมณฑลย่ำแย่หนัก ริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน อยู่ในโซนอันตรายสีแดง-มีผลกระทบต่อสุขภาพ ขณะที่โซนสีส้ม-เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ก็คลุมพื้นที่หลายเขต ผู้ว่าฯ กทม.สั่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ 50 เขตระดมล้างถนน ตรวจสอบการก่อสร้างรถไฟฟ้าแหล่งก่อมลพิษ พร้อมประสานทำฝนหลวงสลายฝุ่น

    สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ตรวจวัดสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 13 มกราคม 2562 ภาพรวมคุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจพบค่าระหว่าง 57-99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มค.ก./บม.ม.) ปริมาณฝุ่นละอองเพิ่มสูงขึ้นทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเกินค่ามาตรฐานจนมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) บริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน อยู่ที่ 91 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และ ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม อยู่ที่ 99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เนื่องจากอากาศยังคงลอยตัวไม่ดี สภาพอากาศปิด มีเมฆเป็นส่วนมาก มีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาหลายพื้นที่
    โดยฝุ่นละอองเกินมาตรฐานจนเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพบริเวณแขวงบางนา เขตบางนา, แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ, แขวงดินแดง เขตดินแดง, ริมถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน, ริมถนนอินทรพิทักษ์ เขตธนบุรี, ริมถนนลาดพร้าว เขตวังทองหลาง, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง, แขวงพญาไท เขตพญาไท, แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง, ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี, ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี, ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ, ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ, ต.บางเสาธง อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ, ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร และริมถนนคู่ขนานพระราม 2 อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
    ขณะที่ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM 10) ตรวจพบค่าระหว่าง 78-157 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เกินมาตรฐานบริเวณริมถนนกาญจนาภิเษก เขตบางขุนเทียน สูงสุดอยู่ที่ 157 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร, ริมถนนดินแดง เขตดินแดง, ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี, ต.ทรง
คนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ และ ต.อ้อมน้อย อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร
    ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าคุณภาพอากาศในวันที่ 14 มกราคม 2562 จะอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพต่อเนื่อง และจากโมเดลพยากรณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาช่วงวันที่ 13-14 มกราคม สภาพอากาศยังคงลอยตัวไม่ดี และอากาศค่อนข้างปิด ซึ่ง คพ.ได้ประสานกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัดปริมณฑล ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ปัญหา PM 2.5 ต่อเนื่อง โดยกรุงเทพมหานครได้เร่งคืนพื้นที่ผิวจราจรจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าเพื่อแก้ปัญหาการจราจรติดขัด สาเหตุหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของฝุ่นละออง รวมทั้งกรุงเทพมหานครยังได้มีคำสั่งให้ทุกเขตกวาดล้างถนนอย่างเข้มงวดทุกวัน พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์ฉีดพ่นละอองน้ำเพื่อลดปัญหาฝุ่นละออง ตรวจวัดควันดำและรณรงค์ลดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างที่สำคัญ ประสานกรมฝนหลวงและการบินเกษตรที่ตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อพร้อมปฏิติการในวันที่มีสภาพอากาศเอื้ออำนวยด้วยการทำฝนเทียม 
    สำหรับประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศแบบ Realtime ได้ทางแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ air4thaihttps://m.facebook.com/story.phpstory_fbid=2008951235854920&id=174094709340591
    นายชาตรี วัฒนเขจร ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในพื้นที่ กทม.ว่า ผู้ว่าฯ กทม.ได้สั่งการตั้งคณะทำงานติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด โดยกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น สั่งการทั้ง 50 เขตดำเนินการหาแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง พร้อมลงพื้นที่ล้างทำความสะอาดถนน ห้ามประชาชนเผาขยะหรือหญ้าแห้งในพื้นที่โล่งแจ้ง ตลอดจนส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ควบคุมการก่อสร้างต่างๆ ทั่วกรุง ทั้งระบบสาธารณูปโภค โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสาย ซึ่งผู้รับเหมาต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 พร้อมประสานกองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก ตรวจจับรถยนต์ควันดำ และห้ามติดเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ซึ่งทุกหน่วยงานควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด
    สำหรับมาตรการระยะยาว กทม.ประชุมร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ ในการปรับปรุงคุณภาพรถยนต์ที่สามารถรองรับน้ำมันเชื้อเพลิงเผาไหม้ด้วยประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่ง ขสมก.ผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ ควรปรับเปลี่ยนระบบเครื่องยนต์ด้วยเช่นกัน พร้อมกับพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยง เพื่อให้ประชาชนหันมาใช้บริการรถโดยสารสาธารณะแทนรถยนต์ส่วนบุคคล 
    ขณะที่นายสุรพงษ์ สารปะ โฆษกกรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า จากการตรวจสอบสภาพหมอกควันในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีส่วนประกอบทั้งจากค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานและหมอก ซึ่งต้องยอมรับว่าพื้นที่กรุงเทพฯ ในปัจจุบันมีโครงการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก มีการเผาขยะ ประกอบกับสภาพอากาศในฤดูหนาวที่ค่อนข้างแห้ง ทำให้อากาศด้านบนกดไม่ให้อากาศด้านล่างลอยตัวขึ้นไป ส่งผลให้เกิดการสะสม และเมื่ออากาศอ่อนตัวลง ในช่วงเช้าจะทำให้เกิดหมอก โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชานเมืองที่มีความชื้นมาก ทำให้เกิดการจับตัวกับฝุ่นละอองที่เป็นควันแขวนลอย ส่งผลให้มีสภาพอากาศขมุกขมัว แต่ในช่วงสาย หมอกจะหายไปเอง
    ทวิตเตอร์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศไทย) องค์กรรณรงค์อิสระระดับโลก เปิดเผยสถิติการจัดอันดับเมืองหลวงที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ระบุว่า กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ติดอันดับ 9 ในจำนวน 10 อันดับเมืองหลวงที่คุณภาพอากาศเลวร้าย
    สำหรับอันดับ 1 ได้แก่ นิวเดลี ประเทศอินเดีย อันดับ 2 ธากา ประเทศบังกลาเทศ อันดับ 3 โกกาตา ประเทศอินเดีย อันดับ 4 เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน อันดับ 5 กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล อันดับ 6 อูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย อันดับ 8 หูอัน ประเทศจีน อันดับ 9 กรุงเทพฯ ประเทศไทย และอันดับ 10 ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์.
 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"