แก้วิฤตฝุ่น !!!นักวิชาการจุฬาฯเสนอปิดโรงเรียนชั่วคราว -รถเมล์ควันดำหยุดวิ่ง


เพิ่มเพื่อน    

 

15 ม.ค. 62-ที่หอประชุมจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเวทีหัวข้อ"จุฬาฯ ฝ่าวิกฤตรับมือฝุ่น PM 2.5 " โดยคณาจารย์ นักวิชาการจุฬาฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ เสนอแนะการแก้ปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว 
รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในภาวะอากาศปิด คำว่า วิกฤตในตอนนี้ เป็นวิกฤตในช่วงที่อากาศปิด ไม่ใช่วิกฤตด้านสุขภาพ  ซึ่งฝุ่นละออง PM 2.5 หรือฝุ่นละอองจิ๋ว เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.แหล่งการกำเนิดการเผาไหม้ทุกชนิดที่ไม่สมบูรณ์ เช่น การขนส่ง อุตสาหกรรมต่างๆ และ 2.ปัจจัยจากธรรมชาติ คือ อากาศปิด  ทำให้ไม่สามารถระบายทางแนวดิ่งได้ อีกทั้งกรุงเทพฯ เป็นตึกเมืองใหญ่  ทำให้ฝุ่นละอองไม่สามารถไปไหนได้ นอกจากประชาชนสูดเข้าปอด 


"ความเข้มข้น PM 2.5 มีค่าเฉลี่ยที่มีมานานแล้ว แต่ที่มารู้จักเพราะเห็นหลักฐานเชิงประจักษ์คือเห็นหมอก ซึ่งในหมอกดังกล่าว มี PM2.5  จากข้อมูล พบว่า ช่วงปลายฝนต้นหนาวของทุกปี หรือช่วงเดือน พ.ย.-ม.ค. เป็นช่วงอากาศปิด ทำให้มีค่าฝุ่นละออง PM2.5 การป้องกันต้องมีมาตรการต่างๆ และต้องใช้เวลาถึงจะทำให้หมดไปได้ อีกทั้งควรลดแหล่งกำเนิดต่างๆ ขนส่ง อุตสาหกรรม " รศ.ดร.ศิริมา กล่าว 


รศ.ดร.ศิริมา กล่าวต่อว่า      สำหรับการติดตามเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ แต่ละเว็บ แต่ละแอปพลิเคชั่น มีวัตถุประสงค์ใช้งานต่างกัน การใช้งานอยากให้ดูค่าความเข้มข้น และการเก็บข้อมูล ฝากให้ประชาชนติดตามข่าวสารต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ เช่น กรมควบคุมมลพิษ หรือผ่านแอปพลิเคชั่น Air4Thai http:/air4thai.pcd.go.th/webv2/(กรมควบคุมมลพิษ) http://www.bangkokairquality.com/bma/index.php(กรุงเทพมหานคร) เป็นหลัก 

ด้าน รศ.ดร.มาโนช  โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันขนส่ง จุฬาฯ กล่าวว่า จากสภาวะอากาศที่ปิดในช่วงเปลี่ยนฤดู ประกอบกับการพัฒนาเมืองกรุงเทพฯ ที่มีตึกสูง และการจราจรติดขัด ทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กเมืองกรุงสะสม ไม่สามารถระบายออกไปได้ จนมีความเข้มข้นของ PM 2.5 สูง  มาตรการเร่งด่วนในการแก้ปัญหาอยู่ที่ภาคขนส่ง ต้องลดปริมาณการเดินทางสู่ท้องถนนช่วงอากาศวิกฤต ลดจำนวนเที่ยว  ซึ่งสามารถทำได้ทันที โรงเรียนต้องพิจารณาหยุดการเรียนการสอนชั่วคราว โดยอ้างอิงจากข้อมูลพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพนักเรียน โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก  การหยุดเรียนยังช่วยลดจำนวนเที่ยวเดินทาง ลดฝุ่นได้ชัดเจน  นอกจากนี้ ต้องสนับสนุนเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ เช่น ใช้รถไฟฟ้า รถใต้ดิน จนถึงจักรยาน หรือเดินให้มากขึ้น ซึ่งต้องมีอุปกรณ์ป้องกันด้วย  ขณะที่การใช้รถเชิงพาณิชย์ รถเมล์ควันดำต้องหยุดวิ่งหรือลดจำนวนวิ่ง ตลอดจนลดการขนส่งกระจายสินค้าที่ไม่จำเป็น   


รศ.ดร.มาโนช กล่าวต่อว่า ส่วนระยะกลาง ต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับควันดำและการแก้ปัญหารถที่ไม่ได้มาตรฐานอย่างจริงจัง ภาครัฐต้องมีการตรวจจับและเปิดเผยข้อมูลรถที่ไม่ผ่านตรวจสภาพ รวมถึงส่งเสริมการใช้รถขนส่งสาธารณะ ทั้งรถเมล์และระบบราง เพื่อลด PM2.5 และแก้รถติดได้พร้อมกัน เพราะการส่งเสริมการใช้รถขนส่งสาธารณะ ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ทำให้การเผาผลาญเชื้อเพลิงลดลง โดยต้องใช้เทคโนโลยี แอปพลิเคชั่นช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้มากขึ้น สำหรับระยะยาวพยายามยกมาตรฐานรถยนต์ให้มีเครื่องยนต์และเชื้อเพลิงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมขั้นสูงสุด 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"