อจ.นิติศาสตร์ชี้ใบขับขี่ดิจิทัลใช้ได้ตามกฎหมาย ตร.ไม่ยึดก็ไม่มีความผิด


เพิ่มเพื่อน    

 

16ม.ค.62 - รศ.ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีกรมการขนส่งทางบกได้ประกาศใช้ระบบใบขับขี่ดิจิทัล ผ่านแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟน DLT QR Lincence ซึ่งจะเริ่มใช้วันที่ 15 ม.ค.เป็นวันแรกแต่ทางตำรวจระบุว่าต้องใช้คู่กับบัตรใบขับขี่เดิมจนกว่ากฎหมายใหม่จะประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ว่า

ใบอนุญาตขับขี่อัจฉริยะ (ที่คนเขาด่ากันทั่วบ้านทั่วเมือง)

ตำรวจใช้กฎหมายผิด หรือว่าขนส่งไม่แม่นกฎหมายกันแน่??? (แค่สงสัย)

จากประเด็นที่ขนส่งทำแอพพลิเคชั่น สร้างใบอนุญาตขับขี่อัจฉริยะ(ตามที่เขาตั้งชื่อ) ซึ่งอยู่ในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(ดูคำนิยาม พรบ ว่าด้วยธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ เอานะว่าคืออะไร) เพื่อให้ประชาชนไม่ต้องพกใบขับขี่ที่อยู่ในรูปบัตรพลาสติก หรือวัสดุอื่นๆ

ซึ่งตำรวจก็ออกมาตั้งโต๊ะแถลงว่าไม่เอาด้วยเพราะตำรวจต้อง "เรียกเก็บใบอนุญาต" ในกรณีที่ตำรวจออกใบสั่งให้ชำระค่าปรับตามมาตรา 140 วรรค 3  ที่ว่า

".ในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานจราจรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราวก็ได้.."

การทำออกมาในรูปของใบขับขี่ที่เป็นข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์จึง "เรียกเก็บ" ไม่ได้ และทางตำรวจเห็นว่าผลจากการมีใบอนุญาตขับขี่ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถเรียกเก็บใบอนุญาตได้

แต่ท่านคงลืมอ่านถ้อยคำในมาตรา 140 วรรค 3 ที่เขียนต่อไปซึ่งมีข้อความว่า "ก็ได้" !!!

หมายความว่าในการออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่ชำระค่าปรับตำรวจจะเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ไว้เป็นการชั่วคราว หรือจะไม่เรียกเก็บ "ก็ได้" กฎหมายกำหนดให้เป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจอยู่แล้ว

เช่นนี้เมื่อสภาพของใบขับขี่อีเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถเรียกเก็บได้ตามสภาพ ก็ไม่ทำให้เจ้าพนักงานตำรวจทำผิดกฎหมายแต่อย่างใด

ส่วนที่ว่า พรบ รถยนต์ มาตรา 42 ผู้ขับขี่ต้องพกพาใบอนุญาตและสามารถแสดงได้เมื่อเจ้าหน้าที่เรียกตรวจ ข้อความนี้อาจทำให้สับสนว่าใบอนุญาตขับขี่จะต้องอยู่ในรูปบัตรพลาสติกหรือกระดาษเท่านั้นหรือไม่

จะเห็นได้ว่ามาตรา 42 ไม่มีข้อความส่วนใดเลยที่ระบุว่าใบอนุญาตจะต้องกระทำลงในวัตถุใด เพียงแต่กำหนดว่าเมื่อเจ้าพนักงานเรียกตรวจจะต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานให้เรียกตรวจได้ ซึ่งข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ก็สามารถเรียกตรวจได้อยู่แล้วโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลงจากบัตรในรูปแบบเดิม

อีกทั้งเมื่อดูจาก พรบ. ธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ มาตรา ๘ ที่กำหนดว่า
"ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว"

เมื่อพิจารณา พรบ. รถยนต์ ประกอบกับ พรบ ธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ จึงเห็นได้ชัดว่าการจัดทำใบอนุญาตขับขี่ในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์สามารถใช้แสดงหลักฐานได้โดยมี พรบ ธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ "รับรองสถานะทางกฎหมาย"

แต่ผู้ขับขี่อาจพึงระวังอย่าให้โทรศัพท์แบตหมด เพราะ พรบ รถยนต์ มาตร 42 มีคำว่า "ผู้ขับขี่ต้องพกพา" ใบอนุญาต ซึ่งอาจจะพกในรูปอีเล็กทรอนิกส์ก็ได้ การพกจึงต้องหมายถึงการมีข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์ที่พร้อมจะแสดงต่อเจ้าพนักงาน

....ยังไงก็ซื้อพาวเวอร์แบ็งค์ติดตัวเอาไว้ด้วยละกันครับผู้ขับขี่ทั้งหลาย

มาถึงตรงนี้กรมการขนส่งซึ่งจัดทำใบอนุญาตขับขี่แบบอีเล็กทรอนิกส์มาแล้วก็ควรให้มีการบังคับใช้ สำหรับตำรวจกฎหมายก็ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องยึดใบขับขี่ และอ่านมาตรา ๗ พรบ ธุรกรรมทางอีเล็กทรอนิกส์ด้วย เพราะเขาห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

4.0 ช่วยลุงตุ่กันหน่อยครับ...

....และอย่าทำให้คนเขารู้สึกว่ามีนัยยะอื่นซ่อนเร้นเลยครับ....

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"