คาดคนกรุงต้องอยู่กับPM2.5ยาวก.พ.-มี.ค.นายกแพทยสภา จี้หน่วยงานที่มีอำนาจจะต้องลงมาแก้ไขจริงจัง


เพิ่มเพื่อน    


17 ม.ค.62-ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แพทยสภาและกระทรวงสาธารณสุขเปิดเวทีเสวนา เรื่อง ฝุ่นละออง PM 2.5 ปัญหาสุขภาพและแนวทางการแก้ไข นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา นายกแพทยสภา  กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นวันนี้ข้อดีคือทำให้เกิดการตื่นตัวของประชาชน ที่สำคัญคือหน่วยงานที่มีอำนาจจะต้องลงมาแก้ไขอย่างจริงจัง โดยไม่อยากให้คนคิดว่าเดี๋ยวเรื่องนี้ก็ผ่านไป อย่าลืมว่าฝุ่นพีเอ็ม 2.5 นั้นส่งผลกระทบระยะยาว ดังนั้นทางแพทยสภาจะมีการรวบรวมข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลผลกระทบจากราชวิทยาลัยต่างๆ ส่งถึงผู้มีอำนาจตัดสินใจในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ คาดว่าน่าจะภายในสัปดาห์หน้า ส่วนมาตรการระยะยาวอย่างเรื่องการปลูกต้นไม้ เช่น ต้นตะขบ ซึ่งใบจะมีขนจึงดูดซับฝุ่นได้ดี

นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ข้อมูลจากทั่วโลกพบว่า 9 ใน 10 ของประชากรที่สัมผัสฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน เป็นสาเหตุอันดับ 2 ของการเกิดโรคไม่คิดต่อรองจากการสูบบุหรี่  เป็นสาเหตุการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 24 % ปอดอุดกั้นเรื้อรัง 43% โรคหัวใจขาดเลือด 25% และ มะเร็งปอด 29 % ทุกปีประชากรจำนวน 7 ล้านคนจะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรจากมลพิษทางอากาศ และพบว่าเด็ก 0-5 ปี เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ 5.7 แสนคนต่อปี และกระทบต่อพัฒนาการและความสามารถในการรับรู้ ทั้งนี้ในปี 2561 พบว่ามีการเสียชีวิตจากมะเร็งปอด 1.8 ล้านคน และพบผู้ป่วยรายใหม่ 2.1 ล้านคน คิดเป็น 11.6% ของผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมด

นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้แทนราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า คาดว่าเราต้องอยู่กับฝุ่นพีเอ็ม 2.5 อย่างน้อยอาจจะปลายเดือนก.พ. ถึงมี.ค. สิ่งสำคัญคือประชาชนต้องระวัง 1.ประเมินตัวเองว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ เช่นคนมีโรคประจำตัว 2. ประเมินพื้นที่เสี่ยง อย่างไรก็ตามไม่อยากให้กังวลพื้นที่สีแดง สีส้มมากเนื่องจากอยู่ไม่กี่เดือน แต่ในพื้นที่สีแดง หากอยู่ในพื้นที่นี้ประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป เป็นเวลา 1 ปี สีปอดจะเท่ากับคนสูบบุหรี่ 1 ซองในระยะเวลา 30 ปี ส่วนพื้นที่ส้มจะเท่ากับการสูบบุหรี่ครึ่งซองในระยะเวลา 30 ปี ทั้งนี้มีงานวิจัยในญี่ปุ่นพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบเมื่อได้รับมลพิษเยอะทำให้เป็นโรคปอดบวมมากขึ้น ดังนั้นโรงเรียนในพื้นที่เสี่ยงควรมีการประเมิน ให้เด็กอนุบาลและประถมต้นเลื่อนเวลาการเข้าเรียน อาจจะเป็นช่วง 10 โมง ส่วนมาตรการการแจกหน้ากากควรแจกคนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น ตำรวจจราจร แม่ค้า คนขับรถรับจ้างประเภทต่างๆ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าหน่วยวิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ขอให้ประชาชนประเมิน และปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดในช่วงที่ค่าฝุ่นละอองสูง เพราะการรับฝุ่นละอองขนาดเล็กระยะยาทำให้เกิดโรคมะเร็ง และโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เด็กมีพัฒนาการล่าช้า  เป็นต้น

นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อุปนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่มีการส่งต่อข้อมูลการใช้ยา หรือสูตรอาหารต่างๆ ที่จะสามารถกำจัดฝุ่นละอองได้ เช่น หญ้าดอกขาว มีงานวิจัยว่าช่วยในการเลิกบุหรี่ อาจจะมีกลไกช่วยได้ซึ่งตนไม่ทราบ แต่ในทางการแพทย์ยังไม่มีการยืนยันว่ายาตัวไหนสามารถขับฝุ่นละออง หรือต่อต้านได้ 

น.ส.ช่อผกา วิริยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายต้นไม้ในเมือง กล่าวว่า ต้นไม่เป็นเครื่องฟอกอากาศที่ดีของคนเมืองดังนั้นขอเรียกร้องให้มีการเพิ่มปริมาณต้นไม่ใหญ่ในเมืองโดย 1.ต้นไม้เดิมต้องมีใบเพื่อดูดซับสารพิษ ไม่ตัดจนเหลือแต่ตอ 2.อบรมรุกขกรในการตัดแต่งต้นไม่ให้ถูกต้อง ไม่ตัดกุด หลังอบรม 2-3 เดือนแล้วต้องดูว่าตัดต้นไม่ถูกต้องหรือไม่ หากยังตัดจนเหลือแต่ตอถือว่าทำลายเครื่องฟอกอากาศต้องลงโทษ 3.จัดทำแผนปลูกต้นไม้ใหญ่ให้อยู่ร่วมในสังคมเมืองได้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"