อภ.เตรียมนำวัคซีนไช้หวัดใหญ่ทดลองในคนปีนี้ พร้อมโชว์ผลกำไรปี61จำนวน1.5พันล.ประหยัดงบชาติกว่า 7.5พันล. 


เพิ่มเพื่อน    


 

22 ม.ค.62-  ที่องค์การเภสัชกรรม นพ.วิฑูรย์  ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม(อภ)เป็นประธานการแถลงข่าว “ผลการดำเนินงาน ปี 2561 ความคืบหน้าโครงการสำคัญ ทิศทางในอนาคตองค์การเภสัชกรรม” โดยมีคณะผู้บริหารองค์การเภสัชกรรมร่วมแถลงข่าว 


 นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานขององค์การฯ ในปี 2561 องค์การฯ มีผลประกอบการ 16,651 ล้านบาท       ทำให้ช่วยรัฐประหยัดได้มากกว่า 7,500 ล้านบาท หรือมีกำไร 1,500 ล้านบาท  ขณะเดียวกันโครงการต่างๆได้ดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย   ที่ประสบผลสำเร็จล่าสุดคือการได้รับการรับรองมาตรฐาน WHO PQ จากการผลิตของยาต้านไวรัสเอดส์เอฟฟาไว-เรนท์ที่โรงงานผลิตยารังสิต 1  การได้รับรางวัล FOYA Award จากสมาคม ISPE ( International Society for Pharmaceutical Engineering) ที่มีสมาชิกกว่า 18,000 ราย  ใน 90 ประเทศ ในฐานะโรงงานผลิตยารังสิต 1      มีการออกแบบด้านคุณภาพ และมีมาตรฐานระดับสากล มุ่งหวังผลิตยาที่มีคุณภาพให้ผู้ป่วยเอดส์ได้เข้าถึงยาดีมีคุณภาพ ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาว 
นอกจากนั้นได้กระจายผลิตภัณฑ์ยาต้านไวรัสเอดส์ใหม่ 2 รายการ ที่มุ่งเน้นลดปัญหาการดื้อยาและรัฐประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยา ประกอบด้วย ยาเม็ด Abacavir 300 mg. เป็นยาต้านไวรัสเอดส์ สูตรทางเลือกร่วมกับยาต้านไวรัสฯกลุ่มอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยา ลดผลข้างเคียงที่เกิดจากยาจำเป็นพื้นฐาน (first line regimen) ตามแนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของประเทศไทย และยาเม็ด Ritonavir 100 mg. เป็นยาต้านไวรัสฯในกลุ่ม Protease Inhibitors (PIs) ถูกนำมาใช้คู่กับยาในกลุ่ม PIs อื่นๆ    เพื่อเพิ่มระดับยา PIs ตัวอื่นในกระแสเลือด  พร้อมกันนั้นได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มในส่วนของการผลิตระดับกึ่งอุตสาหกรรม (Pilot Plant) ในอาคารโรงงานผลิตยารังสิต 1 ที่ได้เปิดทำการผลิตไปแล้วจำนวน 4 สายการผลิต  เมื่อปี 2559 เพื่อใช้สำหรับผลิตยาที่ยกระดับจากงานวิจัยที่ผลิตในระดับห้องปฏิบัติการ เป็นผลิตในระดับกึ่งอุตสาหกรรมและยังสามารถนำมาใช้สำหรับการผลิตยาจำเป็นอื่นๆได้อีก ซึ่งทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีกปีละ 38 ล้านเม็ด  

นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า สำหรับในปี 2562 ตั้งเป้าผลประกอบการไว้ที่ 16,720 ล้านบาท  เร่งดำเนินการในปีนี้ คือ 1.กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งการปลูกในระยะเร่งด่วนจำนวน 100 ตารางเมตร ภายใต้งบประมาณ 10 ล้านบาท อยู่ระหว่างการปรับปรุงพื้นที่และให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ตรวจสอบ คาดว่า จะสามารถปลูกได้ในช่วงกลางเดือน ก.พ. 2562 และสามารถทำสารสกัดออกมาได้ภายใน พ.ค. 2562 ในการทดลองวิจัยในผู้ป่วย  ส่วนระยะกึ่งอุตสาหกรรม ที่จะใช้พื้นที่ปลูก 1,000 ตารางเมตร งบประมาณ 120 ล้านบาท อยู่ระหว่างเตรียมการด้านทีโออาร์ คาดว่าจะสามารถปลูกได้ในต้นปี 2563  2.การพัฒนาสมุนไพร จะดำเนินการให้ครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ยกระดับเทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา การผลิตสารสกัด และรูปแบบผลิตภัณฑ์ไปสู่สากลมากขึ้น โดยเฉพาะ "ขมิ้นชัน" ที่ตั้งเป้าจะนำร่องตลาดสากลก่อน ตามด้วยสมุนไพรอื่น คือ เถาวัลย์เปรียง ไพล และขิง 

นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า 3.โรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ จะได้วัคซีนใช้ทำการทดสอบอาสาสมัครใน พ.ค.2562 และใช้เวลาติดตามผล 1 ปี เพื่อนำข้อมูลไปยื่นขอทะเบียนวัคซีนต่อไป  4.โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยารังสิตระยะที่ 2 จะผลิตยาน้ำ ยาครีม ยาขี้ผึ้ง ยาปราศจากเชื้อ ยาน้ำใช้ทาภายนอก ยาฉีด และยาเม็ด งบประมาณ 5,607 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเลือกบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้าง คาดว่าสามารถลดการผลิตในส่วนของโรงงานพระราม 6 ได้กว่า 80%  และ 5.เพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็น ได้แก่ ยาละลายลิ่มเลือดโคลพิโดเกล ซึ่ง อภ.สามารถผลิตได้โดยไม่ต้องนำเข้าแล้ว  ยาต้านไวรัสเอดส์ชนิดเม็ดสูตรผสม 3 ชนิด เอฟฟาไวเรนซ์/เอมทริซิตาบีน/ทีโนโฟเวียร์ ขนาด 600/200/300 มิลลิกรัม  ยาเม็ดดารุนาเวียร์ 3 ขนาด คือ 150 400 และ 600 มิลลิกรัม สำหรับผู้ป่วยดื้อยา รวมถึงการแสวงหาพันธมิตร โดยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงยาผ่านร้ายเพรียวในห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีกว่า 140 สาขาทั่วประเทศ 
"ในส่วนโรงงานวัคซีนที่จะปรับเปลี่ยนเป็นโรงงานชีววัตถุ  จะเริ่มต้นจากการทำโรงงานผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แต่จาก พ.ร.บ. ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ที่ต้องคำนึงถึงความมั่นคงด้านวัคซีนจำเป็นที่จะต้องรองรับการผลิตวัคซีนและชีววัตถุอื่นๆ ได้ด้วย การจะสร้างไลน์ผลิตเพิ่มเติมก็อาจต้องรายงานไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป ซึ่งจะทำให้ อภ.สามารถรับผลิตวัคซีนได้ โดยเฉพาะส่วนของการผสมและการบรรจุ "ผอ.อภ.กล่าว

ส่วนการปลูกและการผลิตกัญชาทางการแพทย์  นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า ระยะเร่งด่วน จะนำเข้าสายพันธุ์กัญชาจากแคนาดา โดยตลอดปีจะปลูกได้ 4 รอบ คาดว่าจะได้กัญชาแห้งปริมาณ 100 กิโลกรัมต่อปี นำมาผลิตเป็นน้ำมันกัญชา ขนาด 5 มิลลิลิตร ได้จำนวน 1-2 หมื่นขวด  ผลิตล็อตแรกปี 62  ขณะที่ระยะกึ่งอุตสาหกรรม คาดว่าจะได้กัญชาแห้งประมาณ 800 กิโลกรัมต่อปี โดยจะพัฒนาสายพันธุ์เองด้วย สำหรับประเด็นเรื่องคำขอสิทธิบัตรกัญชา ขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับคำตอบจากทางกรมทรัพย์สินทางปัญญา แต่ อภ.จะดำเนินการอย่างรอบคอบ และพยายามทำอยู่ภายใต้กรอบกติกามากที่สุด 

ผู้สื่อข่าวถามถึงความคืบหน้าการทำโรงงานผลิตยามะเร็งร่วมกับ ปตท.  นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า โครงการนี้ยังคงเดินหน้าต่อ อยู่ระหว่างการว่าจ้างบริษัทเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ คาดว่าผลน่าจะออกมาในช่วง พ.ค. 2562 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการออกแบบ 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"