"ไทย"เก็บPM2.5ส่งไปวิเคราะห์ที่ญี่ปุ่น หาต้นกำเนิดที่มาว่ามาจากไหน


เพิ่มเพื่อน    


 

31 ม.ค.62 -สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดการประชุมหัวข้อ"ทบทวนสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพฯ "ภายใต้การจัดทารายงานสถานการณ์คณุภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562
ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ให้ข้อมูลว่า ในตอนนี้จุดยืนของรัฐบาลในการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นPM 2.5 คือ ทันเวลา จึงเป็นเรื่องที่จําเป็น สิ่งที่จะต้องทําหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย คือ การนําเรื่องนี้มาเป็นบทเรียน คุยกันบนพื้น ฐานข้อมูลและงานวิชาการ ซึ่งสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเตรียมระดมนักวิชาการเพื่อเตรียมทางเลือกแบบต่างๆ ซึ่งขณะนี้ได้มีการทำงานร่วมกับญี่ปุ่น โดยได้เก็บตัวอย่างฝุ่น PM2.5 เมื่อปีที่แล้ว เพื่อส่งไปทำการวิเคราะห์องค์ประกอบ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงแหล่งที่ทำให้เกิดฝุ่นขึ้นมา และต่อไปก็อาจจะมีการทบทวนในทุกๆ 5 ปี เพราะแหล่งกำเนิดฝุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอยู่เรื่อยๆ 

พันศักดิ์ ถิรมงคล ผู้อํานวยการกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ได้กล่าวถึงแนวทางในการแก้ปัญหาว่า ได้แบ่งออกเป็น 3 ระยะโดยมีระยะเร่งด่วน ระยะกลาง(พ.ศ.2562-2564) และระยะยาว(พ.ศ.2565-2570) ซึ่งในตอนนี้ต้องมาเน้นกันที่ระยะเร่งด่วน โดยในช่วงวิกฤตก็จะถูกแบ่งเป็น 3 ระยะเช่นกัน คือ 1.ระยะตั้งแต่เตรียมการ ซึ่งได้มีการประชุมเตรียมการมาตั้ง ตุลาคม-พฤศจิกายน  2561 ในส่วน2.ระยะปฏิบัติการ ในช่วงเดือนธันวาคม 2561-เมษายน 2562 ก็จะแบ่งออกเป็น 4 ระยะตามความรุนแรง โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นเตรียมการคือการสร้างความเข้าใจให้แก่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผู้อํานวยการฯกล่าวต่อว่า การเข้าสู่ 4 ระยะนี้ ระยะเริ่มต้น คือ เป็นระดับที่ PM2.5 ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม เฉลี่ย 24 ชั่วโมง  แม้ว่าสถานการณ์จะอยู่ในมาตรฐาน ก็มีการเฝ้าระวังส่วนในระยะที่ 2 PM2.5 มีค่าระหว่าง 51-75 มคก./ลบ.ม ซึ่งเริ่มเกินมาตรฐาน มี AQI เป็นสีส้ม อาจจะต้องยกระดับเพิ่มจุดตรวจรถความดำจาก 12-14 จุด ซึ่งจะเพิ่ม 20 จุด ปิดรอบกรุงเทพฯ  และต้องเพิ่มมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้น  ในระยะที่ 3 PM2.5 มีค่าระหว่าง 76-100 มคก./ลบ.ม ซึ่งอาจจะต้องใช้กฎหมายเข้าควบคุมพื้นที่แหล่งกำเนิด ซึ่งเป็นอำนาจของทางจังหวัดที่จะประกาศใช้กฎหมายและดำเนินมาตรการอื่นๆ อย่างในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  ก็ได้มีมาตรการปิดโรงเรียน เพื่อสุขภาพนักเรียน ในส่วนของมาตรการลดฝุ่น มีมาตรเข้มงวด ในการลดควันดำจากดีเซล การเผาในที่โล่ง การก่อสร้าง เพื่อลดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถ้ายังควบคุมไม่ได้ เข้าสู่ในระยะที่ 4 PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 100 มคก./ลบ.ม  ก็อาจจะต้องถึงนายกรัฐมนตรีในการใช้อำนาจผ่านทางกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
“ในส่วนของระยะกลางปี.2562-2564  เราจำเป็นต้องยกระดับมาตรฐานเครื่องยนตร์ไปสู่ EURO 5  ที่จะเร่งให้เร็วขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการอื่นๆต่อไปได้ และมาตรฐานรถ  และหลังปี 2563 รถไฟฟ้าดำเนินการสร้างเสร็จ ก็อาจจะเห็นผลของอากาศดีขึ้น และในส่วนระยะยาว.ปี2565-2570 ก็จะดำเนินการต่อจากระยะกลางในการปรับให้มาตรฐานน้ำเป็น EURO 6 ซึ่งก็อาจจะทำค่ามาตรฐานของฝุ่นลดลงมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” พันศักดิ์ กล่าว 
------------------------


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"