'พลาสติก'ความจำเป็นที่เลี่ยงไม่ได้ในสถานการณ์โควิด


เพิ่มเพื่อน    

สถานการณ์ขยะพลาสติกในช่วงโควิด

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปี 2563 ถือว่าเป็นปรากฎการณ์ ของขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้นพุ่งพรวด และเมื่อโควิดกลับมาระบาดในระลอกใหม่อีกครั้งตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน จนถึงขณะนี้  ยิ่งเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ปัญหาขยะพลาสติกให้หนักหน่วงมากขึ้น  จึงเป็นเหตุให้ โครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน (Public Private Partnership for Sustainable Plastic and Waste Management:(PPP Plastics))  ได้จัดกิจกรรมเสวนาออนไลน์ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก และวันทะเลโลก  หัวข้อ “ขยะพลาสติก : การจัดการและโอกาส Post COVID-19” เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนผู้ที่สนใจ ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การ จัดการขยะพลาสติกของไทยและประโยชน์ของพลาสติกช่วงโควิด-19 ในมิติต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาขยะและขยะพลาสติก สู่เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน

สัมนาออนไลน์ ถกปัญหาขยะพลาสติก



อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ได้ให้ภาพรวมสถานการณ์ของขยะพลาสติกไทยว่า ในช่วงก่อนโควิด-19 ไทยมีขยะพลาสติกเฉลี่ย 2 ล้านตัน/ปี หรือเฉลี่ยประมาณ 90 กรัม/คน/วัน(ม.ค.-ธ.ค. 2562) โดยคิดเป็น 0.5 ล้านตัน/ปี นำกลับไปใช้ประโยชน์ และ 1.5 ล้านตัน/ปี นำไปกำจัด โดยวิธีฝังกลบหรือเตาเผา และในช่วงต้นปี 2563 การรณรงค์ลดใช้พลาสติก ประชาชนก็ได้ให้ความสนใจและหันมาใช้ถุงผ้ากันมากขึ้น  แต่หลังจากที่มีสถานการณ์โควิด -19 ขยะพลาสติกลดลงไม่ถึง 10%  ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลปี 2563-2564 พบว่าปริมาณของคนที่ผลิตขยะพลาสติกในประเทศไทย ใช้ขยะพลาสติกมากขึ้น ในปี 2563 มีปริมาณขยะพลาสติกเพิ่มขึ้น 40% โดยเฉลี่ยประมาณ 134 กรัม/คน/วัน(ม.ค.-ธ.ค. 2563) และในสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ เพิ่มขึ้นเป็น 45% เฉลี่ยประมาณ 139 กรัม/คน/วัน (เม.ย.2564) และคาดว่าอาจจะมากกว่าเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต รวมไปถึงความจำเป็นในการใช้พลาสติก ดังนั้นหลังจากสถานการณ์โควิด-19 จะต้องมีการวางแผนเพิ่มเติมถึงแนวทางในการจัดการขยะพลาสติก

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวอีกว่า ในปี 2565 จะเริ่มดำเนินการลดการนำเข้าเศษพลาสติกประมาณ 20% หรือประมาณ 2 แสนตัน  และคาดว่าจะห้ามนำเข้าเศษพลาสติก 100% ในวันที่ 1 ม.ค. 2569 เป็นต้นไป ซึ่งจะต้องทำการหารือกับผู้ประกอบการที่นำเข้าเศษพลาสติกด้วย

ปริมาณขยะพลาสติกในช่วงโควิด-19


ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับโรดแมปการจัดการขยะพลาสติกในปี 2561-2573 โดยมีเป้าหมายแรก คือ เลิกใช้ขยะพลาสติก 4 ชนิดในปี 2565 คือ ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบบาง กล่องโฟม แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายว่าจะทำได้ตามเป้าหมายหรือไม่  สวนทางกับขยะกล่องโฟมที่ลดลงไปมากถึง 70-80% ในเป้าหมายที่ 2 คือในปี 2565 ต้องการนำขยะพลาสติก 7 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติก ถาด/กล่องอาหาร ฝาขวด ช้อน/ส้อม/มีดพลาสติก บรรจุภัณฑ์ฟิล์ม ขวดพลาสติก แก้วพลาสติกแบบหนา กลับมาใช้ใหม่ให้ได้50% หรือประมาณเกือบ 7 แสนตัน และคาดว่าจะนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% ในปี 2573


ตั้งแต่โควิด19  ระบาดเมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ ทำให้คนต้องทำงานที่บ้านเป็นหลัก จนกระทั่งมาถึงปี2564 ที่มีการระบาดเป็นระลอก และหนักสุดในระลอก 3 ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ถึงแม้จะไม่มีการประกาศล็อกดาวน์ แต่รัฐบาลก็ขอร้องให้มีการทำงานที่บ้านทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน   จึงทำให้กรุงเทพฯ ที่เป็นศูนย์กลางของประเทศ มีขยะพลาสติกพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง  จากการที่คนหันมานิยมสั่งอาหารเดลิเวอร์รี่  

แนวโน้มปริมาณขยะในกทม.


ดร.ภาณุวัฒน์ อ่อนเทศ ผู้อํานวยการส่วนบริการจัดการมูลฝอย สํานักงานจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล สํานักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร กล่าวว่าสัดส่วนของขยะพลาสติกในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 เพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ  25%  มีสัดส่วนขยะพลาสติกในเดือน เม.ย. 2564 เพิ่มขึ้นจากเดือนมี.ค. 2564 ร้อยละ 7.61 ทั้งนี้ได้มีการคิดสัดส่วนของขยะในการนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเมื่อเทียบกับช่วงปี 2562 ขยะพลาสติกสภาพดีประมาณ 5% และขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ประมาณ  15%  ในทางกลับกันช่วงโควิด-19 ขยะสภาพดีเพิ่มขึ้นปี 2563 เดือนเม.ย.2564 ขยะพลาสติกสภาพดีเพิ่มขึ้น 7% และขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้เพิ่มขึ้น 29% หรือเฉลี่ย 3,500 ตัน/วัน จากเดิม 2,000 ตัน/วัน ซึ่งคาดว่าหากโควิด-19 สถานการณ์ดีขึ้นปริมาณขยะพลาสติกก็อาจจะลดลงไปด้วย 


ด้านแผนจัดการขยะ ผอ.ส่วนบริการจัดการมูลฝอย กทม. กล่าวว่า  ยืนอยู่บนแนวคิดทำให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) โดยส่งเสริมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมนําขยะหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ลดปริมาณขยะที่ต้องกําจัดให้เหลือน้อยที่สุด และกําจัดขยะที่เหลือด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยภายในปี 2570 คาดว่าจะสามารถกําจัดขยะด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีการเผาผลิต ไฟฟ้า (Incinerator) เทคโนโลยีเชิงกล-ชีวภาพ (MBT) และเทคโนโลยีการหมัก (Composting) แทนการฝังกลบจากปัจจุบันร้อยละ 29 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และในปี 2575 มีเป้าหมายลดปริมาณขยะให้ได้ร้อยละ 20 และเพิ่มการนําขยะไปใช้ประโยชน์ร้อยละ 50 จากปีฐาน 2556  ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการลดและคัดแยกขยะ เพื่อใช้ประโยชน์ที่แหล่งกําเนิด โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม

ปริมาณขยะปลายทางที่กำจัด



ในความจริงสถานการณ์โควิด-19 พลาสติกกลายเป็นสิ่งที่คนต้องการ วีระขวัญ เลิศจิตต์ ผู้อํานวยการสถาบันพลาสติก ได้ให้มุมมองว่า ในภาวะการณ์ปัจจุบันของการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งหลายภาคส่วนได้รับผลกระทบค่อนข้างมากและส่วนที่มีการเติบโตขึ้น แบ่งเป็น 4 ด้านหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ อย่าง ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(E-Commerce) ในอดีตมีการเติบโตเพียง 11% ต่อมาในช่วงปี 2560-2562 มีการเติบโตเพิ่มประมาณ 20% และการคาดการณ์ในปี 2563 โตขึ้นกว่าปี 2562 ถึง 35% ขณะเดียวกันการทำงานที่บ้านหรืออยู่เพื่อความปลอดภัย ทำให้ธุรกิจ Food Delivery เติบโตขึ้นถึง 70-80% อีกธุรกิจที่มีเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ E-Commerce ก็คือ ธุรกิจด้านบรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกปกติเติบโตในแต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5% แต่ช่วงปี 2563 เพิ่มสูงขึ้นเกือบ 9% สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการพลาสติกเกิดขึ้นขณะนี้ ส่วนด้านสังคม ทุกคนต้องใช้ชีวิตแบบ New N ormol ทำให้พลาสติกมีความจำเป็นสำหรับ 4 ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นถุงมือ ขวดใส่เจลล้างมือ เป็นต้น 


ผอ.สถาบันพลาสติก กล่าวต่อว่า ด้านสาธารณสุข พลาสติกถูกนำมาผลิตเป็นอุปกรณ์การแพทย์ ด้วยคุณสมบัติที่มีน้ำหนักเบา สะอาดปลอดภัย ใช้งานได้หลาสภาวะ และสามารถผลิตได้จำนวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็ว เช่น ชุด PPE หน้ากาก N-95, Face Shield, PVC Boot และเข็มฉีดยา ที่ประเทศไทยมีการวางแผนในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับประชากร 50 ล้านคน คนละ 2 ล้านโดส เท่ากับว่าต้องมีเข็มฉีดยา 100 ล้านเข็ม นั้นก็หมายถึงปริมาณขยะพลาสติกจะเพิ่มปริมาณขึ้นด้วย ด้านสิ่งแวดล้อม จากการประเมิน Life Cycle Assessment(LCA) คือการประเมินวัฏจักรของผลิตภัณฑ์โดยดูจากการใช้ทรัพยากร การก่อให้เกิดมลพิษและการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากผลการเปรียบเทียบผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการใช้ถุงแต่ละชนิดคิกเป็นสัดส่วนที่น้อยกว่าวัสดุที่ทำมาจากธรรมชาติ

 
“ทั้งนี้ในการจัดการขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตครอบคลุมทั้งวงจรของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่เริ่มผลิตไปจนถึงหลังบริโภค การยกระดับและประสิทธิภาพของการรีไซเคิล โดยเฉพาะในประเทศ ขณะนี้การสร้างมาตรฐานการรับรองวัตถุดิบหรือผลิตภัณพลาสติก Post Consumer Recycled(PCR) อยู่ในระหว่างการสร้างมาตรฐาน ที่กล่าวมาทั้งหมดสิ่งสำคัญคือ การสื่อสารออกไปให้สังคมได้รับรู้ และตระหนักถึงการรีไซเคิล การจัดการ จนเป็นผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง” ผอ.ได้บอกถึงแนวทางจัดการขยะพลาสติก  

แผนการลดปริมาณนำเข้าเศษพลาสติก


  ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ประธานโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติก และขยะอย่างยั่งยืน (PPP Plastics) กล่าวว่า มีการคาดการณ์ได้ว่าทั่วโลกภายในอีก 20 ปีข้างหน้านี้ จะส่งผลทําให้มีขยะหลุดรอดออกสู่สิ่งแวดล้อมมากถึง 700 ล้านตัน โดยวิธีการ แก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คือ การลดขยะตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมบูรณาการความร่วมมือกันในการลดการใช้งานพลาสติก ที่ไม่จําเป็น โดยเฉพาะการลด ละ เลิก การใช้พลาสติกแบบใช้คร้ังเดียวท้ิง (Single-Used Plastic) และการนําหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามวาระแห่งชาติขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG มาปรับใช้ในการจัดการขยะพลาสติกอย่างเป็นระบบและครบวงจร

 

ขยะคัดแยก การนำรีไซเคิล การใช้ซ้ำ เพื่อสร้างรายได้


-----------------

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"