อาชีพยามว่างของคนวัยเกษียณ เลือกงานที่ถนัดและต่อยอดสู่สังคม


เพิ่มเพื่อน    

(คนวัยเกษียณที่มีพื้นฐานด้านการเกษตรสามารถปลูกมะพร้าวน้ำหอม ที่ถือว่าเป็นพืชระยะยาวที่ดูแลน้อย แต่ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายจากการดูแลพืชผักผลไม้ด้วยตัวเอง)

    “การมีอาชีพ” หรือ “หากิจกรรมทำ” เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่จำเป็นต้องสื่อสารและติดต่อกับคนอื่น เพื่อป้องกันโรคเรื้อรังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอัลไซเมอร์ หรือโรคซึมเศร้าที่มีสาเหตุมาจากการอยู่โดดเดี่ยวลำพัง แต่ทว่าหลายคนอาจจะมองอีกมุมว่า เมื่อเข้าสู่วัยหลัก 6 แล้วก็อาจจำเป็นต้องหยุดพักเพื่อท่องเที่ยวหรือไม่!! เพราะการโฟกัสเรื่องการหารายได้ของคนวัยเก๋า ก็อาจยิ่งเพิ่มความเครียดให้กับคนสูงวัยหรือไม่?? 
    อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม บางครั้งการมองหาอาชีพหลังวัยเกษียณ หลายคนอาจจะไม่ได้มองเรื่องรายได้เป็นหลัก แต่นั่นเพียงเพราะว่าต้องการมีปฏิสัมพันธ์และได้เคลื่อนไหวร่างกาย หรือมีประโยชน์ในเชิงสุขภาพ ที่สำคัญหากงานที่ทำเป็นสิ่งสร้างความภูมิใจ ในฐานะกูรูหรือผู้มีประสบการณ์ ย่อมทำให้คนวัยเก๋าไม่อยากหยุดนิ่งอยู่กับบ้าน วีรวัฒน์ กังวานนวกุล ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เล่นได้ มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพของคนวัยเกษียณไว้น่าสนใจ

 

(วีรวัฒน์ กังวานนวกุล)

    วีรวัฒน์ ผู้จัดการพิพิธภัณฑ์เล่นได้ ให้ข้อมูลว่า “ผมมองว่าอาชีพของคนวัยเกษียณนั้นอาจจะไม่ได้โฟกัสไปถึงเรื่องรายได้มากนัก แต่การที่คนสูงอายุยังทำงาน นั่นย่อมทำให้อายุของท่านยืนยาว ซึ่งบางคนอาจจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ตรงนี้ก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ แต่การที่จะระบุว่าคนวัยเกษียณต้องทำงานอะไร เป็นเรื่องที่บอกยาก แต่มีหลักการที่สำคัญคือ ควรจะเป็นอาชีพที่ท่านมีประสบการณ์อยู่ก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น 20-30 ปี ที่สำคัญอาชีพนั้นสามารถต่อยอดได้ เช่น หากผู้สูงอายุที่อยู่ในชนบท มีทรัพยากรที่ดีอย่าง “ต้นไผ่” ตรงนี้ถ้าทำเป็น “อาชีพงานจักสานเครื่องใช้ ของเล่นไม้ไผ่” ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสม ที่สำคัญถ้าผู้สูงอายุสามารถปลูกต้นไผ่ ซึ่งเป็นพืชโตได้ในระยะเวลา 3-5 ปี ตรงนี้ก็จะทำให้ผู้สูงวัยที่เป็นรุ่นต่อไปสามารถสร้างอาชีพได้จากต้นไผ่ ที่ปลูกโดยคนรุ่นใหญ่ก่อนหน้านี้ เรียกได้ว่าเป็นงานที่ท่านถนัดและคุ้นเคย อีกทั้งยังสามารถนำไปสอนลูกหลานได้อีกด้วย

(“ผักสวนครัวปลอดสารเคมี” ที่ผู้สูงอายุปลูกรับประทาน เมื่อเหลือจากบริโภคก็สามารถนำมาจำหน่ายให้กับคนในท้องถิ่นได้บริโภคผักปลอดสารพิษ)

    สำหรับตัวผมที่เป็นชาว จ.เชียงราย และได้ทำงานร่วมกับผู้สูงวัยอายุ 60 ปีอยู่บ่อยๆ นั้น อาชีพที่เหมาะกับคนวัยนี้คือ “อาชีพค้าขายผลผลิตทางการเกษตร” แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้สูงอายุจะต้องปลูกพืชผัก หรือผลผลิตที่เหมือนกันทุกหมู่บ้านและชุมชน หรือต้องไม่ตามตลาด แต่ต้องเป็นผลผลิตที่สามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วย โดยที่ผู้สูงวัยไม่ต้องใช้แรงเยอะ แต่ต้องได้ผลิตมากขึ้น ส่วนตัวผมจะแนะนำให้ผู้สูงอายุที่มีความรู้ด้านการเกษตรอยู่แล้ว ปลูกพืชที่แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ 1.พืชผักที่ผู้สูงอายุกินปลอดภัยจากสารเคมี และเมื่อเหลือกินก็นำไปจำหน่าย 2.เป็นพืชระยะยาวที่ใช้เวลาปลูกนานหลายเดือน หรือประมาณ 3-6 เดือน จนกว่าจะได้ผลผลิต อย่าง ฟักทอง, ข้าว, มะม่วง, มะพร้าว ทั้งนี้เมื่อได้ผลผลิต ผู้สูงอายุสามารถใช้ระบบของการนำผลผลิตที่ได้ไปแลกกับคนในชุมชนใกล้เคียง หรือแลกกันบริโภคในระดับตำบลและอำเภอ หรือจำหน่ายกันในชุมชนก็ได้เช่นกัน 

(ผู้สูงอายุที่มีความรู้เกี่ยวกับงานจักสาน หรือในพื้นที่มีทรัพยากรอย่าง “ต้นไผ่” สามารถทำอาชีพจักสานในช่วงวัยเกษียณได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสอนลูกหลานได้)

    ในส่วนของผู้สูงวัยที่สนใจ “การค้าขายสินค้าแฮนด์เมด” ยกตัวอย่างผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือ ที่มีความสามารถในเรื่องของการทอผ้า ตรงนี้จำเป็นต้องหาเอกลักษณ์ของตัวเองให้เจอ และที่สำคัญหากสังเกตให้ดีจะพบว่า งานแฮนด์เมดที่ทำจากผ้าทอในยุคก่อนนั้น ชาวบ้านจะนิยมทอผ้ากันเอง นั่นจึงทำให้สินค้ามีคุณค่าเยอะ ซึ่งไม่ใช่การซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างมาทำเหมือนในปัจจุบันนี้ และการที่เราจะขายสินค้าซึ่งเป็นงานแฮนด์เมดดังกล่าวได้ ก็ต้องมีการส่งเสริมให้ผู้บริโภคเห็นคุณค่าของสินค้าจากงานแฮนด์เมด ดังนั้นหากผู้สูงวัยต้องการประกอบอาชีพดังกล่าวอาจต้องหาเอกลักษณ์ของสินค้าอย่างที่กล่าวไปให้เจอ คือเป็นชิ้นงานที่ทำจากมือทุกขั้นตอนจริงๆ ตรงนี้จะมีกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติที่ชื่นชอบงานแฮนด์เมดดังกล่าว และเป็นช่องทางการค้าขายที่ดี ที่ลืมไม่ได้อาจต้องใช้ลูกหลาน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยในเรื่องของการคิดและช่วยพัฒนาลวดลาย และทำการตลาด ผ่านเทคโนโลยีและไอที เพื่อให้สินค้าแฮนด์เมดที่ผลิตโดยคนรุ่นย่ายายไปได้ไกลและเป็นที่รู้จักมากขึ้น  
    “สำหรับอาชีพต่างๆ ที่กล่าวมาเหล่านี้ จะทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจในองค์ความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาที่ผู้สูงอายุมีดั้งเดิม ตลอดจนสามารถจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนได้ เพราะอันที่จริงแล้ว การที่คนวัยเกษียณทำงานไม่อยากให้เราโฟกัสให้เป็นเรื่องของอาชีพ แต่อยากให้มองว่า สิ่งที่ท่านทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและช่วยคลายเหงา อีกทั้งเมื่อคนสูงวัยมีอาชีพทำก็จะช่วยให้ท่านอายุยืนยาว เพียงแต่ว่าอาชีพที่เลือกทำต้องเป็นสิ่งที่ท่านถนัด และสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น ก็จะยิ่งทำให้งานของท่านเป็นสิ่งที่ต่อยอดไปสู่ผู้อื่นหรือลูกหลานได้อย่างยั่งยืนครับ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"